Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19995
Title: การสืบทอดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของหมอเหยาและอัตลักษณ์ของผู้ไทในพิธีเหยาเลี้ยงผี: กรณีศึกษาตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
Other Titles: Sacred power transmission of the Yao ritual practitioner and Phuthai identity in Yao Liang Phi ritual : a case study of Tambon Nonyang Amphoe Nong Sung Changwat Mukdahan
Authors: สุรชัย ชินบุตร
Advisors: ศิราพร ณ ถลาง
สุกัญญา สุจฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Siraporn.N@Chula.ac.th
Sukanya.Suj@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ไท -- พิธีกรรม
ผู้ไท -- ไทย -- หนองสูง (มุกดาหาร)
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- ไทย -- หนองสูง (มุกดาหาร)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการสืบทอดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของหมอเหยาและอัตลักษณ์ของผู้ไทในพิธีเหยาเลี้ยงผี โดยศึกษาพิธีกรรมเหยาเลี้ยงผีของกลุ่มหมอเหยาชาวผู้ไทของตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามในปี พ.ศ. 2551-2553 โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในพิธีกรรมเหยาเลี้ยงผีและสัมภาษณ์หมอเหยาทุกคนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าวิธีการสืบทอดอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของหมอเหยาชาวผู้ไท มี 2 ประเภท คือ ประเภทแรก สืบทอดโดยผ่านสายตระกูล และประเภทที่สอง สืบทอดโดยผ่านพิธีเหยาคุมผีออก ซึ่งหมอเหยาจะต้องประกอบพิธีเลี้ยงผีไท้ผีแถนเพื่อรับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ติดต่อกัน 3 ครั้ง หมอเหยาจึงจะมีพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์อย่างสมบูรณ์เพื่อไปรักษาโรคให้กับผู้ป่วยต่อไป ผู้ป่วยที่หายจากการเจ็บป่วยอาจจะฝากตัวเป็นลูกศิษย์และตัดสินใจที่จะได้รับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ต่อจากหมอเหยาและเป็นหมอเหยาต่อไป ในกรณีนี้ ผู้ป่วยผู้นั้นก็จะมีสถานภาพเป็น ลูกเมือง และหมอเหยาผู้ที่ทำการรักษาก็จะมีสถานภาพเป็น แม่เมือง แต่ถ้าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาผู้นั้นไม่ต้องการเป็น ลูกเมือง แต่เลือกที่จะเป็นเพียงบริวารของหมอเหยา ผู้ป่วยในกรณีหลังนี้ก็จะมีสถานภาพเป็นเพียง ลูกเลี้ยง ซึ่งทั้งสองวิธีดังกล่าวนี้นับเป็นเป็นการสร้างเครือข่ายของกลุ่มหมอเหยาชาวผู้ไท อันประกอบด้วยทั้ง แม่เมือง ลูกเมือง และ ลูกเลี้ยง ผู้วิจัยได้วิเคราะห์สัญลักษณ์ในพิธีเหยาเลี้ยงผีว่า วัตถุสัญลักษณ์ และพฤติกรรมสัญลักษณ์เปรียบเหมือนภาพจำลองสนามรบระหว่างผีไท้ผีแถนกับวิญญาณผีร้ายที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย วัตถุและพฤติกรรมต่าง ๆ ล้วนแสดงนัยสำคัญในเรื่องของอำนาจและพลังอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถทำลายล้างสิ่งอวมงคล และบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ผู้ป่วยได้ พิธีกรรมเหยาเลี้ยงผีซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ชาวผู้ไทสืบทอดกันมายาวนานนับศตวรรษ จึงเป็นเสมือนการเน้นย้ำให้ชาวผู้ไทได้ตระหนักถึงความเป็นมากลุ่มของตนซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่มีวัฒนธรรมในระดับเมือง ที่เคยมีเจ้าเมืองและมีระเบียบแบบแผนเป็นของตนเอง มีความเชื่อในศาสนาดั้งเดิมของตน จึงกล่าวได้ว่าพิธีเหยาเลี้ยงผีเป็นพิธีกรรมหนึ่งที่สืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท นอกจากนั้น วัตถุสัญลักษณ์และพฤติกรรมสัญลักษณ์ในพิธีเหยาเลี้ยงผียังสะท้อนลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของชาวผู้ไทและสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางศาสนากับการรักษาโรคแบบพื้นบ้านของชาวผู้ไท
Other Abstract: This dissertation aims to study the sacred power transmission of the Mor Yao, folk healers, and the identity of Phu Thai as reflected in Yao Liang Phi ritual, a ritual of worshipping the great sky spirits respected by the Phu Thai people. The ritual is also the venue for an annual gathering of all Phu Thai folk healers. Field research was conducted during 2008-2010 in Nonyang sub-district, Nong Sung district, Mukdahan province, by participant observation in the Yao Liang Phi ritual and in-depth interview with Phu Thai folk healers. The study reveals that there are two kinds of sacred power transmission. The first is the transmission of the sacred power through maternal descent line and the second is the transmission through a certain ritual called, Yao Khum Phi Ok ritual. To obtain and sustain the sacred healing power, the folk healers need to perform the Yao Khum Phi Ok ritual for three consecutive years. The patients who recover from their sicknesses may decide to inherit the sacred power from their healers and become Mor Yao themselves. In that case, the patients will become luk muang, or disciples, and the Mor Yao will become their mae muang, or “mother.” Their relationship will be like children and mother. But if the patients do not want to become luk muang, instead, they will become only followers of the Mor Yao and is called luk liang or “adopted children.’ These two kinds of sacred power transmission, therefore, form the network of Phu Thai Yao ritual practitioners, consisting of mae muang, luk muang and luk liang.It is analyzed that, in the ritual, the symbolic objects and symbolic behaviors are the representation of the battle between Phi Thaen spirits, the great sky spirits, and the evil spirits who are believed to cause the sickness. Ritual objects and ritual behaviors represent the sacred weapons that can destroy all the misfortunes and the diseases. It is also analyzed that the Yao Liang Phi ritual, which has been transmitted in Phu Thai culture for centuries, helps maintain the identity of the Phu Thai people. The ritual reminds them of their own ancient history that the Phu Thai communities used to be ruled by the rulers and that the Phu Thai society has their own social norms and religious system. Furthermore, the Yao Liang Phi ritual reflects the relation between Phu Thai religious belief and Phu Thai folk healing tradition.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19995
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1864
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1864
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surachai_ch.pdf8.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.