Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19997
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของคาร์บอน และความเข้มข้นของฝุ่นละอองกับลักษณะของชั้นบรรยากาศในเขตเมือง
Other Titles: The relationship of carbon composition concentration of particulate and atmospheric profile in urban area
Authors: สุวพร มณฑาสุวรรณ
Advisors: สุรัตน์ บัวเลิศ
ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Surat.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ฝุ่น -- ไทย -- เชียงใหม่
ฝุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ฝุ่น -- ไทย -- สงขลา
คาร์บอน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฝุ่นละอองกับลักษณะของชั้นบรรยากาศ โดยติดตั้งเครื่องไฮวอลุมเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองรวม ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร และอุปกรณ์ตรวจวัดอุตุนิยมวิทยาพื้นผิว 3 ระดับความสูง ในเขตเมืองของ 3 จังหวัดในประเทศไทย คือ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่ความสูง 30 60 และ 125 เมตร เขตราชเทวี กรุงเทพมหานครที่ความสูง 38 158 และ 328 เมตร และ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ที่ความสูง 12 52 และ 152 เมตร พร้อมกับตรวจวัดอุตุนิยมวิทยาชั้นบนเป็นเวลา 3 วันต่อเนื่อง โดยใช้วิทยุหยั่งอากาศติดกับบอลลูน และหาองค์ประกอบทางเคมีในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร โดยวิเคราะห์สารไอออนิคด้วยเครื่อง Ion chromatography และองค์ประกอบคาร์บอน ด้วยเครื่อง Thermal/optical carbon analyzer ตามพิธีสาร IMPROVE ผลการศึกษา พบว่า กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองรวม และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร แปรผกผันกับความสูง และ สัดส่วนของ PM10/TSP แปรผันกับระดับความสูง แต่หาดใหญ่ ไม่ได้ผลเช่นนั้น ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางกายภาพของจุดตรวจวัดส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนทางกายภาพ ทำให้เกิดการเจือจางมลสารสูงในชั้นกลาง เมื่อพิจารณาสัดส่วนของ PM10/TSP กับอุตุนิยมวิทยาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลน่าจะมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง ผลการศึกษาร้อยละองค์ประกอบของสารในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ OC EC Na+ NH4+ K+ Ca2+ Cl- NO3- SO42- และ องค์ประกอบอื่นๆ พบว่า องค์ประกอบอื่นๆ ที่อาจจะเกิดจากโลหะหนัก มีค่าสูงสุดในทุกระดับความสูง รองลงมาคือ OC SO42- EC และ NO3- ซึ่งองค์ประกอบหลัก มีความเข้มข้นที่ความสูง 158 เมตร และ 328 เมตรใกล้เคียงกัน อย่างมีนัยสำคัญ บอกได้ว่าแหล่งกำเนิดมาจากการปลดปล่อยการเผาไหม้เครื่องยนต ผลการศึกษาองค์ประกอบคาร์บอนในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ OC1 OC2 OC3 OC4 EC1 EC2 และ EC3 พบว่า มีความเข้มข้นของ OC3 EC1 OC2 เด่นที่สุด บอกได้ว่าแหล่งกำเนิดคาร์บอนทั้งสามระดับความสูงของพื้นที่ศึกษา มาจากการปลดปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์เบนซิน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และดีเซล ความเข้มข้นของ OC และ EC แปรผันตรงกับ PM10 ในทุกระดับความสูง ส่งผลให้พบความเข้มข้นของ OC และ EC มีค่าสูงในช่วงเวลากลางคืนตาม PM10 สัดส่วนของ OC/EC มีค่าแปรผันตามความสูง และมีความสัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และความสูงผสม อย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The study in relation between particulate concentrations and atmospheric condition by adopting the high-volume air sampler sampling total suspended particulate (TSP) and particulate matter less than 10 micron (PM10) in 3 urban areas including Songkhla (Amphur Hat Yai, at the height level of 30, 60 and 125 meter), Bangkok (Rajdhevi District, at the height level of 38, 158 and 328 meter) and Chiangmai (Amphur Muang, at the height level of 12, 52 and 152 meter) along with using radiosonde to measure meteorological conditions above for 3 days continuously. And to find the chemical composition in PM10 by analyzing the organic substance that using ion chromatography and analyzing carbon composition that using thermal/optical carbon analyzer according to IMPROVE protocol. Study result revealed Bangkok and Chiangmai having the concentration of TSP and PM10 varied reversely to the height and the ratio of PM10/TSP varied reversely to the height level as well. In contrary to Amphur Hat Yai, the physical factors caused the turbulence that diluted the concentration of pollutant in middle height. The consideration of PM10/TSP ratio and meteorological condition revealed that there was insignificant relation, the potential factor could be caused by direct sources. The study result in percentage of PM10 composition in Bangkok including OC, EC, Na, NH4+, K+, Ca2+, Cl-, NO3-, SO42- and others species, found other species compositions might generated by heavy metal that was the highest figure at all height levels, the inferior including OC , SO42-, EC and NO3-. The predominant had the concentrations at medium level (158 meter) and upper level (328 meter) in equivalent figures significantly that could be able to indicate those sources including the emission from motor vehicles combustion. The study results of carbon composition in PM10 in Bangkok including OC1, OC2, OC3, OC4, EC1, EC2 and EC3, found that OC3, EC1 and OC2 concentrations were predominant. This indicated that carbon sources of the studied 3-height levels were released from engine exhaust (gasoline, liquid petroleum gas and diesel). Concentration of OC and EC varied directly to PM10 at all height levels that caused higher concentration of OC and EC at night time following PM10. The ratio of OC/EC varied reversely to the height and related significantly to relative humidity, temperature and mixing height.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19997
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1118
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1118
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwaporn_mo.pdf16.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.