Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20003
Title: การบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่พิเศษ : 6 กรณีศึกษาโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่พิเศษในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
Other Titles: Facility management of large public school : case studies of Six Large Public School Under Bangkok Educational Service Area Office 2
Authors: ทวีกูล รัตนะโกเศศ
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarich.C@Chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนรัฐบาล -- การบริหาร
อาคารเรียน -- การจัดการ
อาคาร -- การจัดการ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่พิเศษ เป็นสถานที่ประกอบไปด้วยทรัพยากรกายภาพ และผู้ใช้งานจำนวน มาก มีอาคาร และสิ่งประกอบในพืน้ ที่ ที่หลากหลาย การบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่จึงเป็นงานสำคัญ เพราะเกี่ยวพันกับประสิทธิภาพอาคาร และความปลอดภัย ที่ผ่านมาเรื่องนียั้งขาดการศึกษาในรายละเอียด การศึกษาครั้งนีจึ้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะโครงสร้างองค์กรของหน่วยงานด้านอาคารสถานที่ และ ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานด้านอาคารสถานที่ ศึกษาถึงลักษณะการบริหาร การจัดการ การวางแผน และวิธี ดำเนินงานด้านอาคารสถานที่ของโรงเรียน รัฐบาลขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ โรงเรียน นวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า, โรงเรียน หอวัง,โรงเรียน สารวิทยา, โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) และโรงเรียน สตรีวิทยา 2 การศึกษาในเรื่องนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ ใช้วิธีการสำรวจ สังเกต บันทึก ถ่ายภาพเพื่อแสดงหลักฐาน และการสัมภาษณ์ บุคคลกรของโรงเรียน รัฐบาลขนาดใหญ่พิเศษที่เป็ นกรณีศึกษาทัง้ ในระดับบริหาร ระดับจัดการ และระดับปฏิบัติการ ด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งเป็นทางการ จากการศึกษาพบว่าทุกโรงเรียนมีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านอาคารสถานที่ แต่ยังขาดผู้รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรง โดยที่ทุกโรงเรียนรัฐบาลที่เป็นกรณีศึกษามอบหมายงานด้านอาคารสถานที่ให้บุคลากรในสายงานผู้สอน ไม่ใช่ผู้มีความรู้รับผิดชอบกำกับดูแลเป็นหน้าที่เสริม และไม่มีนโยบายเฉพาะสำหรับงานด้านอาคารสถานที่เป็นลายลักษณ์อักษร จากการศึกษายังพบอีกว่าขอบเขตงานที่เป็นความรับผิดชอบของ หน่วยงานด้านอาคารสถานที่สำหรับโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นกรณีศึกษามี 5 งานหลักได้แก่ งาน ซ่อมบำรุง, งานรักษาความสะอาด, งานสวน และภูมิทัศน์, งานจัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์ และงานตกแต่ง สถานที่ตามโอกาส และวันสำคัญ ขอบเขตงานที่พบในทุกกรณีศึกษาได้แก่ งานซ่อมบำรุง ในส่วนขอบเขตงาน รักษาความสะอาด, งานสวน และภูมิทัศน์, งานจัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์, งานตกแต่งสถานที่ ถูกพบว่าเป็น บางกรณีศึกษา และยังพบอีกว่าขอบเขตงานรักษาความปลอดภัยไม่ได้เป็นขอบเขตงานที่หน่วยงานด้านอาคารสถานที่รับผิดชอบดูแลเนื่องจาก ขอบเขตงานรักษาความปลอดภัยสำหรับโรงเรียนรัฐบาลที่เป็นกรณีศึกษามี แนวโน้มที่จะมุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยสำหรับบุคคล ในส่วนอาคารสถานที่ และทรัพย์สินเป็นเพียงภาระ งานฝากในเวลาที่ไม่มีผู้ใช้งาน สำหรับแผนการดำเนินงานด้านอาคารส่วนใหญ่เป็ นแผนปฏิบัติการประจำวันคลอบคลุมระยะเวลาเพียง 1 ปีบุคคลากรในระดับปฏิบัติการงานด้านอาคารสถานที่ในทุกกรณีศึกษาปฏิบัติงาน แบบหนึ่งคนรับผิดชอบงานในหลายหน้าที่การศึกษานีมี้ข้อสรุปว่า โรงเรียน รัฐบาลส่วนใหญ่ยังขาดผู้รับผิดชอบงานด้านอาคารสถานที่ ที่มีความรู้โดยตรง และขาดนโยบายในการดำเนินงานด้านอาคารสถานที่ ที่ชัดเจน เน้นการปฏิบัติงานในเชิงตอบสนองมากกว่าการปฏิบัติงานในเชิงป้องกัน ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ คือ โรงเรียน รัฐบาลควรมีการกำหนดนโยบายในการดำเนินงานด้านอาคารสถานที่อย่างชัดเจน และจัดให้มีผู้มีความรู้รับผิดชอบงานด้านนีโ้ ดยตรง เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาคารสถานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลถึงเรื่องต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านอาคาร
Other Abstract: Since large public schools consist of facilities with numerous assets, proper management of these facilities is an essential task, especially as it relates to the issues of efficiency and safety. So far, comprehensive studies in the area of facility management are still lacking. This study, therefore, aimed to examine the characteristics and structure of the facility management departments, as well as their associated personnel, within large public schools. This study also aimed to examine the planning, administration, management and implementation of school facilities in six large public schools which were chosen as case studies, namely Nawaminthrachinuthit Bodindecha School, Triamudomsuksa Nomklao School, Horwang School, Sarawittaya School, Bodindecha (Sing Singhaseni) School, and Satriwittaya 2 School. The present study was an empirical research which employed the methods of survey, observation, note taking and photographic records. In addition, semi-structured interviews were also conducted with the administrative and operational personnel of the six schools. From the study, it was found that all of the six schools had designated a department to be in charge of facility management. However, no personnel were hired directly for this area of work. Some of the teaching staff was assigned to be responsible for facility management in each of these six schools. Furthermore, there was no written policy in terms of facility management. It was also found that there were five main areas which fell under the responsibility of facility management departments. These were maintenance, housekeeping, landscape and gardening, venue and equipment preparation, and decoration. Maintenance was the main responsibility found in all case studies although various other areas were also found. Additionally, it was found that security was not considered a responsibility of the facility management departments. This was because these schools tended to place an emphasis on personal security. Facilities and assets were only looked after when they were not being used. The majority of the implementation plans for facility management were daily operational plans which covered a period of one year. Operational personnel in the area of facility management in all case studies had more than one responsibility to fulfill.It can be concluded from this study that most public schools still lacked knowledgeable personnel that can be placed in charge of facility management as well as a specific policy for it. They also focused on responsive measures rather than a preventive approach. The recommendation of the present study is that public schools should issue specific policies for facility management and assign knowledgeable personnel to be in charge so that the management of school facilities and assets will be more efficient, resulting in reduced expenditures.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20003
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1865
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1865
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thaveekul_ra.pdf7.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.