Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20013
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรวรรณ องค์ครุฑรักษา | - |
dc.contributor.author | วรวิทย์ พัฒนาอิทธิกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-06-03T09:23:58Z | - |
dc.date.available | 2012-06-03T09:23:58Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20013 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันและการบริโภคของเยาวชนไทย พฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนของเยาวชนไทย การตอบสนองต่อการสื่อสารของเยาวชนไทยในปัจจุบัน และเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมระหว่างเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,649 คน ในการวิเคราะห์ใช้การแจกแจงความถี่ การเสนอตารางจำนวนและร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างตัวแปรทางด้านเพศและถิ่นที่อยู่อาศัย กับ การเปิดรับสื่อ ความเชื่อถือในสื่อชนิดต่างๆและกิจกรรมยามว่างของเยาวชนไทย โดยใช้สถิติการทดสอบความเป็นอิสระระหว่างตัวแปร Pearson Chi-Square test of Independence และเปรียบเทียบความแตกต่างในการเปิดรับสื่อและความเชื่อถือสื่อของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครและเยาวชนไทยในต่างจังหวัด โดยใช้สถิติการทดสอบเปรียบเทียบ Independent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่าเยาวชนไทยส่วนใหญ่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ตื่นนอนระหว่าง6.00 – 8.00 น. และเข้านอน 22.00 – 24.00 น. เป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องมือสื่อสาร และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ มีความปรารถนาอยากที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ในอนาคต มีกิจกรรมยามว่างที่ทำเป็นประจำคือการพักผ่อน/นอนหลับ รองลงมาเป็นการซื้อของในห้างสรรพสินค้า เยาวชนไทยมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต สื่อโทรทัศน์ สื่อบุคคล และโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามลำดับ ในขณะที่สื่อโทรทัศน์ สื่อบุคคล สื่อหนังสือพิมพ์และสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่เยาวชนไทยเชื่อถือตามลำดับ ทั้งนี้เยาวชนไทยมีวัตถุประสงค์หลักในการเปิดรับสื่อเพื่อแสวงหาความรู้และความบันเทิงและมักจะเปิดรับสื่อคนเดียวลำพัง ทั้งนี้ตัวแปรเพศของเยาวชนไทยมีความสัมพันธ์กับความเชื่อถือสื่อมวลชนและสื่อบุคคล รวมไปถึงกิจกรรมยามว่างของเยาวชนไทย แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อของเยาวชนไทย ในขณะที่ถิ่นที่อยู่อาศัยของเยาวชนไทยต่างถิ่นกันมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสารและความเชื่อถือในสื่อบุคคล แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อถือในสื่อมวลชนและการทำกิจกรรมยามว่างของเยาวชนไทย ในขณะที่เยาวชนไทยที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครจะมีรูปแบบการเปิดรับสื่อมวลชนที่แตกต่างจากเยาวชนไทยในต่างจังหวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความเชื่อถือในสื่อมวลชน ความเชื่อถือในสื่อบุคคล และการทำกิจกรรมยามว่างของเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานครจะไม่มีความแตกต่างจากเยาวชนไทยในต่างจังหวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are (1) to explore daily life and consumption behavior of Thai youth, (2) to investigate how Thai youth expose to mass media, (3) to examine how Thai youth response to mass media and (4) to compare the differrence between the behavior of Thai youth in Bangkok and in other regions thoughtout Thailand. This study uses quantitative questionnaire as a tool for collecting data. The survey was conducted with 1,649 Thai youth throughout Thailand. The analyzing method are distribution table, percentage, Means and standard deviation; the difference value between variables: gender and residential factors, media exposure, media trust and hobby, uses Pearson Chi-Square test of Independence; and the Means comparison between Thai youth in Bangkok and other regions, uses Independent sample t-test. The research shows that majority of Thai youth wake up during 6 – 8 AM and go to bed during 10 – 12 PM; own mobile-phone, communication and electronics devices; wish to own a car in the future; they sleep and shop during their free time. They always use the internet, watch television, use personal media and mobile-phone, respectively. Thai youth give high credibility rating to television, personal media, newspaper and the internet, respectively. Their main objectives of media consumption are for gaining knowledge and entertainment, and they usually expose to media alone. A gender factor influences on Thai youth’s trust in mass media, personal media and their hobbies but does not influence on media exposure. A residential factor influences on media exposure and a belief in personal media but does not influence on a trust in mass media or hobby. A pattern of media consumption of Thai youth in Bangkok is statistical significatly different from Thai youth in other regions; however, there is no statistical significantly in a trust in mass media, personal media, and hobby between Thai youth in Bangkok and other regions thoughtout Thailand. | en |
dc.format.extent | 1764744 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.521 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เยาวชน -- ไทย -- การดำเนินชีวิต | en |
dc.subject | เยาวชน -- ไทย -- การสื่อสาร | - |
dc.subject | วัฒนธรรมกับโลกาภิวัตน์ -- ไทย | - |
dc.subject | โลกาภิวัตน์ | - |
dc.subject | การสื่อสาร | - |
dc.title | เยาวชนไทยในกระแสการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ | en |
dc.title.alternative | Thai youth and communication in globalization age | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.521 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
voravit_pa.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.