Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20019
Title: การศึกษาประเมินวัฏจักรชีวิตสำหรับกระบวนการผลิตฟีนอลที่แตกต่างกัน 2 กระบวนการ
Other Titles: Life cycle assessment study for two different phenol production processes
Authors: วิไลวรรณ โพนคำ
Advisors: ไพศาล กิตติศุภกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ฟีนอล
กรรมวิธีการผลิต
การประเมินวัฏจักรชีวิต
Phenol
Manufacturing processes
Life Cycle Assessment
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฟีนอลนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรมหลายๆ สาขา เช่น อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเภสัชกรรม และอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตมนุษย์เท่านั้นยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาและเปรียบเทียบกระบวนการผลิตฟีนอลด้วยวิธีที่แตกต่างกัน โดยใช้การประเมินวัฏจักรชีวิตในการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิตฟีนอล 2 กระบวนการ คือ การผลิตฟีนอลจากคิวมีน (the Hock process) และการผลิตฟีนอลจากโทลูอีน (the Dow process) เนื่องจากข้อมูลที่ทราบ คือ ผลิตภัณฑ์ฟีนอล และสภาวะต่างๆ ที่ได้จากงานวิจัยนานาชาติ จึงจำลองกระบวนการผลิตฟีนอลด้วยโปรแกรม HYSYS เพื่อให้ทราบถึงปริมาณสารที่เข้าสู่กระบวนการผลิต ปริมาณสารที่ออกจากกระบวนการผลิต และพลังงานที่ใช้ หลังจากนั้นศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการใช้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิตฟีนอล ซึ่งจะพิจารณาตั้งแต่วัตถุดิบจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ (Cradle-to-Gate) ด้วยดัชนีชี้วัดเชิงนิเวศน์ (Eco-indicator 99) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดที่ครอบคลุมในส่วนต่างๆ เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และการลดลงของวัตถุดิบ เป็นต้น งานวิจัยนี้ศึกษา ผลิตภัณฑ์ฟีนอลเท่ากับ 1 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ผลการศึกษาสิ่งแวดล้อมเชิงคะแนนเดียว (Single score) ซึ่งจะอยู่ในหน่วย Pt พบว่าวิธี คิวมีน ออกซิเดชัน มีค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อม เท่ากับ 216.08 Pt และ วิธีโทลูอีน ออกซิเดชันมีค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อม เท่ากับ 15.58 Pt หลังจากนั้นประเมินวัฏจักรชีวิตโดยวิธีคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ เพื่อประเมินผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าวิธีคิวมีน ออกซิเดชัน มีค่าเท่ากับ 15.598 kgCO₂e และวิธีโทลูอีน ออกซิเดชันมีค่าเท่ากับ 12.158 kgCO₂e ดังนั้น จาก 2 กรณีศึกษา กระบวนการผลิตฟีนอลจากวิธี คิวมีน ออกซิเดชัน จะส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากกว่าการผลิตฟีนอลจากวิธี โทลูอีน ออกซิเดชัน
Other Abstract: Phenol is an important raw material in many industrial fields such as the petrochemical industry, pharmaceutical industry and plastics industry. It not only benefits human life, but is also have an environmental impact. The objective is to study and compare the two different phenol production processes, of cumene oxidation (the Hock process) and toluene oxidation (the Dow process). Life cycle assessment (LCA) has been used to evaluate the environmental impact of the phenol production processes. We know the amount of phenol product and the condition of reactions based on international technical papers, so Hysys has been used to simulate phenol production processes to obtain data on amount of raw material, material streams leaving the production process and energy consumed. Then an environmental impact by Eco-indicator 99 is evaluated. This indicator is able to cover the evaluation of all environmental impacts which are human health, ecosystem and resources. In this study the research shows the phenol rate was 1 kg/hr, environmental impact was based on a single score of cumene oxidation was 216.08 Pt and toluene oxidation was 15.58 Pt . Then we can evaluate climate change impact by Carbon footprint which cumene oxidation was 15.598 kgCO₂e and toluene oxidation was 12.158 kgCO₂e. Therefore it is determined that phenol production from the cumene oxidation process has a higher environmental impact than phenol production from toluene oxidation process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20019
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.647
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.647
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wilaiwan_po.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.