Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20021
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสม
dc.contributor.advisorชัยชาญ ดีโรจนรวงศ์
dc.contributor.authorวิทิต มิตรานันท์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2012-06-03T11:36:58Z
dc.date.available2012-06-03T11:36:58Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20021
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแอโรบิกแบบช่วงหนักสลับเบาผสมผสานกับการใช้แรงต้านที่มีต่อสุขสมรรถนะ และหน้าที่การทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 จำนวน 31 คน อายุ 60-70 ปี มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วง 125-140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และค่าไกลโคซีเลตฮีโมโกลบิน อยู่ในช่วง 6.5-10 เปอร์เซ็นต์ แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่ม กลุ่ม ควบคุม จำนวน 8 คน กลุ่มฝึกแอโรบิกแบบช่วงหนักสลับเบา จำนวน 8 คน กลุ่มฝึกโดยใช้แรงต้าน จำนวน 7 คน และกลุ่ม ฝึกแอโรบิกแบบช่วงหนักสลับเบาผสมผสานกับการใช้แรงต้าน จำนวน 8 คน โดยทุกกลุ่มออกกำลังกายทำการฝึกครั้งละ 35 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการวัดค่าพื้นฐานทางสรีรวิทยา สุข สมรรถนะ สารชีวเคมีในเลือด และอัตราการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียส ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มฝึกแอโรบิกแบบช่วงหนักสลับเบา มวลไขมัน เปอร์เซ็นต์ไขมัน อัตราส่วนรอบเอวต่อ สะโพก น้ำตาลในเลือด ไกลโคซีเลทฮีโมโกลบิน ค่าการประเมินความดื้อต่ออินซูลินโดยวิธีโฮมีโอสเตติก คลอ เลสเตอรอล โลวเดนซิตี้ไลโปโปรตีน และมาลอนไดอัลดีไฮด์ มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ไฮเดนซิตี้ ไลโปโปรตีน และกลูต้าไทโอนเพอรอกซิเดสรวม มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการ ทดลองที่ระดับ .05 ในกลุ่มฝึกโดยใช้แรงต้าน มวลไขมัน ค่าการประเมินความดื้อต่ออินซูลินโดยวิธีโฮมีโอสเตติก และโล วเดนซิตี้ไลโปโปรตีน มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองที่ระดับ .05 ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไฮเดนซิตี้ไลโป โปรตีนและกลูต้าไทโอนเพอรอกซิเดส มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองที่ระดับ .05 และในกลุ่ม ฝึกแอโรบิกแบบช่วงหนักสลับเบาผสมผสานกับการใช้แรงต้าน มวลไขมัน อัตราส่วนรอบเอวต่อสะโพก ระดับน้ำตาล ค่า การประเมินความดื้อต่ออินซูลินโดยวิธีโฮมีโอสเตติก โลวเดนซิตี้ ไลโปโปรตีน ไตรกลีเซอไรด์ วอนวิลลิแบนด์แฟคเตอร์ และมาลอนไดอัลดีไฮด์ มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง มวลกล้ามเนื้อ ความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อ สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด กลูต้าไทโอนเพอรอกซิเดส กลูต้าไทโอนเพอรอกซิเดสรวม และ อัตราการไหลของเลือดชั้นคิวทาเนียสสูงสุดต่อขณะพัก มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองและกลุ่ม ควบคุมหลังการทดลองที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า กลุ่มฝึกแอโรบิกแบบช่วงหนักสลับเบาผสมผสานกับการใช้แรงต้าน มีผลดีโดยรวมต่อสุขสมรรถนะ หน้าที่การทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือด และสารชีวเคมีในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่ากลุ่มฝึกแอโร บิกแบบช่วงหนักสลับเบาเพียงอย่างเดียว และกลุ่มฝึกโดยใช้แรงต้านเพียงอย่างเดียว
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the effects of interval aerobic training with integration of resistance training on health-related physical fitness and endothelial function in patients with type 2 diabetes mellitus. Thirty one type 2 diabetic patients with ages between 60-70 years, fasting blood sugar 125-140 mg/dl and HbA1c 6.5-10 % were divided into 4 groups: control group (C; n=8), aerobic interval training group (AI; n=8), resistance training group (R; n=7) and aerobic interval with integration of resistance exercise training (AIR; n=8). All of experimental groups performed 35 minutes a day, 3 days a week. Basic physiological information, healthrelated physical fitness, biochemical blood value and cutaneous blood flow of every subject were evaluated before and after 12 weeks of training. To determine the difference between before and after training and among 4 groups, pair t-test and ANOVA were used, respectively. The results were as follow: In AI group: fat mass, %fat, waist/hip ratio, fasting blood sugar, glycosylated hemoglobin (HbA1c), homeostatic model assessment for insulin resistance (HOMA-IR), cholesterol, low density lipoprotein (LDL) and malondialdehyde (MDA) were significantly lower (p<.05) than before the experiment and those after the experiment of C group. Muscle mass, muscle strength, maximal oxygen consumption (VO2max), high density lipoprotein (HDL) and whole glutathione peroxidase (wGPX) were significantly higher (p<.05) than before the experiment and those after the experiment of C group. In R group: fat mass, HOMA and LDL were significantly lower (p<.05) than those before the experiment. Muscle strength, HDL and glutathione peroxidase (GPX) ) were significantly higher (p<.05) than those before the experiment of the R group. In AIR group: fat mass, waist/hip ratio, fasting blood sugar, HOMA, LDL, triglyceride and von willebrand factor were significantly lower (p<.05) than before the experiment and those after the experiment of C group. Muscle strength, VO2max, GPX, wGPX and maximum cutaneaus blood flow/resting blood flow were significantly higher (p<.05) than before the experiment and those after the experiment of C group. In conclusion, AIR had more beneficial effects for improving health-related physical fitness, endothelial function and biochemical blood in patients with type 2 diabetes mellitus than AI only and R only.
dc.format.extent13665687 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.273-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วยen
dc.subjectแอโรบิก (กายบริหาร)en
dc.subjectการรักษาด้วยการออกกำลังกายen
dc.titleผลของการฝึกแอโรบิกแบบช่วงหนักสลับเบาผสมผสานกับการใช้แรงต้านที่มีต่อสุขสมรรถนะและหน้าที่การทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2en
dc.title.alternativeEffects of aerobic interval with intergration of resistance training on health-related physical fitness and endothelial function in patients with type 2 diabetes mellitusen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisordaroonwanc@hotmail.com
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.273-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
witid_mi.pdf13.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.