Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20039
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐภรณ์ หลาวทอง-
dc.contributor.authorอาภาพรรณ ประทุมไทย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-03T15:53:16Z-
dc.date.available2012-06-03T15:53:16Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20039-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินและเปรียบเทียบคุณภาพงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างแบบวัดความถนัดระหว่างกลุ่มงานวิจัยที่มีคุณลักษณะต่างกัน 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพของแบบวัดความถนัด อันประกอบด้วยค่าความตรง ค่าความเที่ยง ค่าความยาก และค่าอำนาจจำแนกที่มีคุณลักษณะงานวิจัยแตกต่างกัน ด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์มีจำนวน 61 เล่ม ที่พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2509-2551 ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยค่าดัชนีมาตรฐาน จำนวน 957 ค่า แบ่งเป็นค่าดัชนีมาตรฐานความเที่ยง จำนวน 280 ค่า ค่าดัชนีมาตรฐานความตรง จำนวน 201 ค่า ค่าดัชนีมาตรฐานความยาก จำนวน 238 ค่า และค่าดัชนีมาตรฐานอำนาจจำแนก จำนวน 238 ค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า 1. ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัย พบว่า งานวิจัยมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัย จากการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยตัวแปรที่มีนัยสำคัญที่ระดับ .001 ได้แก่ ปีที่พิมพ์ สาขาวิชาที่ผลิตงานวิจัย ประเภทงานวิจัย การสร้างแบบวัด วิธีการเลือก/สุ่มกลุ่มตัวอย่าง วิธีการรวบรวมข้อมูล การศึกษาทฤษฎีวิธีการสร้างแบบวัด และการสร้างตารางกำหนดแผนผังการสร้างข้อสอบ ตัวแปรที่มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 คือ จำนวนครั้งในการทดลองใช้ และตัวแปรที่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ ภูมิลำเนาของกลุ่มตัวอย่าง และแบบวัดความถนัดที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้าง 2. ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลให้ค่าความเที่ยง ค่าความตรง ค่าความยาก และค่าอำนาจจำแนกแตกต่างกัน ได้แก่ สถาบันที่ผลิตงานวิจัย กลุ่มทฤษฎีหลัก ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ภูมิลำเนาของกลุ่มตัวอย่าง และเวลาที่ใช้ในการสอบen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to evaluate and compare research qualities on construction of aptitude tests, having different characteristic. 2) to synthesize research about the quality of aptitude tests, comprising of validity, reliability, difficulty and discrimination that have different research characteristics by meta-analysis method. The researches to be synthesized were 61 research reports published in 1966-2008. The data for this research consisted of 957 standard indices which were divided into 280 standard indices of reliability, 201 standard indices of validity, 238 standard indices of difficulty, and 238 standard indices of discrimination. Descriptive statistic and ANOVA were used to analyze the data. The results of research synthesis were: 1. The quality evaluation results of the research reports revealed that the total quality of the research reports were moderate level. From the results of analysis of variance, it was found that the research characteristics variables cause the differences in the research quality means were statistically significant at .001 level such as year of publication, the field that produce the research, type of research, instrument construction, sampling method, data collection procedures, theory and method which used in construction, and table of specification. The variable that was statistically significant at .01 level was number of item tryout. In addition, the sample’s the domicile, and aptitude test which used in construction were statistically significant at .05 level. 2. The research characteristics variables cause the differences of reliability, validity, difficulty, and discrimination such as the institute where produce the research, the theory, the sample’s education level, the sample’s the domicile, and time for testingen
dc.format.extent3626848 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1831-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวัดความถนัดทางการเรียนen
dc.titleการวิเคราะห์อภิมานคุณภาพของแบบวัดความถนัดen
dc.title.alternativeMeta-analysis of the quality of aptitude testsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNuttaporn.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1831-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arpapun_pr.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.