Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20049
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นรลักขณ์ เอื้อกิจ | - |
dc.contributor.author | ชัญญา อุทัศสิริพานิช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-06-05T14:37:40Z | - |
dc.date.available | 2012-06-05T14:37:40Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20049 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางเพศและอำนาจทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ ความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการมีเพศสัมพันธ์ ความวิตกกังวลในการมีเพศสัมพันธ์ ภาวะซึมเศร้าในการมีเพศสัมพันธ์ ความรุนแรงของโรค การรับรู้อุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศชาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศชายวัยผู้ใหญ่ จำนวน 143 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคหัวใจ ของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมทางเพศ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยง ได้เท่ากับ .92, .82, .91, .87, .85, .82, และ.87 ตามลำดับ (ยกเว้นแบบประเมินความรุนแรงของโรค) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1.ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศชาย มีพฤติกรรมทางเพศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ([X-Bar] = 12.54, SD = 5.67) 2.การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการมีเพศสัมพันธ์ ความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศชาย (r = .652, .645 และ .394 ตามลำดับ) ภาวะซึมเศร้าในการมีเพศสัมพันธ์ ความวิตกกังวลในการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้อุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ และความรุนแรงของโรคมีความ สัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศชาย (r = -.610, -.557, -.458 และ -.368 ตามลำดับ) 3.การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการมีเพศสัมพันธ์ ความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ ภาวะซึมเศร้าในการมีเพศสัมพันธ์ ความวิตกกังวลในการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้อุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ การสนับสนุนทางสังคม และความรุนแรงของโรค สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศชาย ได้ร้อยละ 57.8 | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this predictive correlational research were to examine sexual behaviors and to examine the predictability of predicting factors; sexual satisfaction, perceived sexual self-efficacy, sexual anxiety, sexual depression, severity of disease, perceived sexual barriers, and social support among male patients with myocardial infarction. One hundred and forty-three male adult out-patients with myocardial infarction were recruited from a multistage random sampling in the cardio clinic at Bhumibol Adulyadej Hospital Royal Thai Air Force and Thammasat Commemoration Hospital. The instruments used for data collection were the demographic data, sexual behaviors questionnaire, sexual satisfaction, sexual self-efficacy, sexual anxiety, sexual depression, the severity of disease assessment (SDA), perceived sexual barriers, and social support. All questionnaires except for the SDA were tested for content validities by five panel of experts, and the reliabilities were .92, .82, .91, .87, .85, .82, and .87, respectively. Multiple regression was used to analyze data. The results revealed: 1.The mean score of sexual behaviors among male patients with myocardial infarction was moderate ([X-Bar] = 12.54, SD = 5.67). 2.Perceived sexual self-efficacy, sexual satisfaction and social support were positively related to sexual behaviors among male patients with myocardial infarction (r = .652, .645 and .394 respectively). Sexual depression, sexual anxiety, perceived sexual barriers and severity of disease were negatively related to sexual behaviors among male patients with myocardial infarction (r = -.610, -.557, -.458 and -.368 respectively). 3.Perceived sexual self-efficacy, sexual satisfaction, sexual depression, sexual anxiety, perceived sexual barriers, social support, and severity of disease were good predictors for sexual behaviors. Variables accounted for 57.8% of total variance in sexual behaviors. | - |
dc.format.extent | 2183413 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย | - |
dc.subject | ผู้ป่วย -- พฤติกรรมทางเพศ | - |
dc.title | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเพศชาย | en |
dc.title.alternative | Predicting factors of sexual behaviors among male patients with myocardial infarction | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Noraluk.U@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Shunya_ut.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.