Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2005
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Selected factors related to health promoting behaviors in body weight control among overweight adults, Bangkok Metropolis
Authors: ทาริกา ค้าสม, 2521-
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
สุนิดา ปรีชาวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sunida.P@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมน้ำหนัก
พฤติกรรมสุขภาพ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลระหว่างบุคคลและอิทธิพลด้านสถานการณ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานในเขตกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างคือผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23 กก./ม[superscript 2] จำนวน 200 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามอิทธิพลระหว่างบุคคล แบบสอบถามอิทธิพลด้านสถานการณ์ และแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนัก ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91, .90, .83, .96, .90 และ .68 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอยู่ในระดับพอใช้ ([Mean] = 2.12, S.D. = 1.31) 2. การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .145 และ .503 ตามลำดับ) 3. การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(r = -.405) 4. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้อุปสรรค สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในควบคุมน้ำหนักตัว ได้ร้อยละ 32.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัว = .418(การรับรู้สมรรถนะแห่งตน) - .278(การรับรู้อุปสรรค)
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationships among perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, interpersonal influences, situational influences and health promoting behaviors in body weight control among overweight adults. Study sample consisted of 200 overweight adults in Bangkok Metropolis selected by multi-stage random sampling. The instrument for the study was a seven part questionnaire that included the demographic data questionnaire, the Perceived Benefits Questionnaire, the Perceived Barriers Questionnaire, the Perceived Self-Efficacy Questionnaire, the Interpersonal Influences Questionnaire, the Situational Influences Questionnaire, and the Health Promoting Behaviors in Bodyweight Control Questionnaire. Content validity for all questionnaires were reviewed by a panel of experts. Internal consistency reliability for the instruments determined by Cronbachs alpha ranged from .68 to .94. Pearson product-moment correlation and Stepwise multiple regression were used forstatistical analysis. The results were as follows: 1. Mean score of Bodyweight Control Behaviors among overweight adults was at the medium level. ([Mean] =2.12, S.D. =1.31) 2. There were positive statistical correlations between perceived self-efficacy, perceived barriers, and health promoting behaviors in bodyweight control among overweight adults at the level of .05 (r = .145 and .503, respectively) 3. There was a negative statistical correlation between perceived barriers and health promoting behaviors in bodyweight control among overweight adults at the level of .05 (r = -.405) 4. Perceived barriers and perceived self-efficacy were the variables that significantly predicted health promoting behaviors in bodyweight control among overweight adults at the level of .05. These variables predicted 32.3 % of the variance. The equation derived from the standardized score was: Health promoting behaviors in bodyweight control = .418 (perceived self-efficacy) - .278 (perceived barriers).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2005
ISBN: 9745311251
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tarika.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.