Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20050
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิติ ภวัครพันธุ์-
dc.contributor.advisorวลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorสิริภัทร ชื่นค้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-05T14:41:23Z-
dc.date.available2012-06-05T14:41:23Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20050-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractในปัจจุบันระบบการศึกษามีการปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ โดยปัญหาหนึ่งที่สังคมให้ความสำคัญคือ ปัญหาการเรียนกวดวิชา จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนในโรงเรียนกับการเรียนกวดวิชาดังนั้นแล้วงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาบรรยากาศการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนและในโรงเรียนกวดวิชา และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทของการเรียนกวดวิชาที่ส่งผลต่อการเรียนในโรงเรียน งานวิจัยได้ใช้การศึกษาแบบกรณีศึกษาเด็กที่เรียนกวดวิชาที่อาคาร วรรณสรณ์ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 - มิถุนายน 2553 จำนวน 5 คน ผู้ปกครอง จำนวน 4 คน และครูที่สอนกวดวิชา 5 คน โดยใช้เทคนิคการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนในสังคมไทย คือ การเรียนรู้แบบเป็นผู้รับมากกว่าแสวงหาความรู้เอง เรื่องของสภาพแวดล้อมพบว่าในโรงเรียนกวดวิชามีความพร้อมเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่า เรื่องความสามารถของผู้สอนพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ผู้สอนในโรงเรียนกวดวิชาสามารถสรุปเนื้อหาสำหรับเตรียมสอบได้ดีกว่าผู้สอนในโรงเรียน ประเด็นเนื้อหาที่ใช้ในการสอนพบว่า เนื้อหาที่เรียนในโรงเรียนกวดวิชาเหมือนกับในโรงเรียนแต่จะเพิ่มเนื้อหาสำหรับสอบเข้ามหาวิทยาลัยและพบว่าการเรียนในระบบโรงเรียนและการเรียนกวดวิชาเป็นการเรียนในระบบเดียวกัน โดยการเรียนกวดวิชามีบทบาทส่งเสริมการเรียนในโรงเรียน กล่าวคือการเรียนกวดวิชาช่วยสรุปเนื้อหาสำหรับสอบ และเพิ่มความมั่นใจในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้มากกว่าการเรียนในระบบโรงเรียน โดยสรุปการเรียนกวดวิชาช่วยสนับสนุนการเรียนในโรงเรียน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study 1) cultural influences on teaching and learning in Thai society; 2) teaching and learning environment in formal and tutoring schools; and 3) role of tutoring schools on teaching and learning in formal schools. This study employed case study research methodology. Participants consisted of 5 students who took tutoring classes at Wannasorn Building during June 2009 - June 2010, 4 parents, and 5 tutors. The study utilized observation, in-depth and focus group interview. The research results showed that Thai students took on a passive learning style and enjoyed the teaching and learning styles of tutors. Three important findings were as follows: first, in terms of teaching and learning environment, tutoring schools were better equipped with classroom facilities; second, in the aspect of the teachers’ knowledge, there were no differences, but tutors were better at preparing students for examinations; and last, the subject content covered in formal and tutoring schools were similar, but tutoring schools geared toward university admission and increased self-confidence. To sum up, tutoring supported teaching and learning in formal schools.-
dc.format.extent1420674 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงเรียนกวดวิชา-
dc.subjectการสอนเสริม -- ไทย-
dc.subjectโรงเรียน -- ไทย -- กิจกรรมการเรียนการสอน-
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนในสังคมไทย : ศึกษากรณีมุมมองทางด้านมานุษยวิทยาการศึกษาต่อการเรียนกวดวิชาen
dc.title.alternativeInfluential factors contributing to Thai teaching and learning styles : a case study of anthropological perspective on private tutoringen
dc.typeThesises
dc.degree.nameมานุษยวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมานุษยวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNiti.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriphat_ch.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.