Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรุบล โชติพงศ์-
dc.contributor.authorเทิดศักดิ์ คำสุริวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-06-06T09:01:21Z-
dc.date.available2012-06-06T09:01:21Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20063-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการกำจัดหมึกชนิดที่ใช้ตัวทำละลายบนพื้นผิวพลาสติกโพลีโพรพิลีน โดยใช้สารละลายลดแรงตึงผิวประจุบวกประเภท อัลคิลไตรเมทิลแอมโมเนียมโบรไมด์ ที่มีจำนวนคาร์บอนอะตอมในสายอัลคิลเท่ากับ 12, 14 และ 16 คือ โดเดคซิล-เตตระเดคซิล–ซีทิล-ไตรเมทิลแอมโมเนียมโบรไมด์ (DTAB TTAB และ CTAB) ตามลำดับ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่างที่ระดับ 12 โดยศึกษาผลของการเติมเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 0.0,0.1,0.2,0.5 และ 1.0 โมล ลงในสารละลายลดแรงตึงผิว จากผลการศึกษาพบว่าสารลดแรงตึงผิวทั้ง 3 ชนิดเมื่อเติมเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 0.2 โมล ส่งผลให้มีประสิทธิภาพของการกำจัดหมึกสูงที่สุด และยังพบว่าประสิทธิภาพของการกำจัดหมึกจะเพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนคาร์บอนอะตอมในสายอัลคิลของสารลดแรงตึงผิวมีความยาวเพิ่มขึ้น ในขณะที่สภาพการละลายของผงหมึกในสารละลายลดแรงตึงผิวก็ให้ผลที่สอดคล้อง กับผลของการกำจัดหมึกที่มีการเติมเกลือโซเดียมคลอไรด์ และผลของสายอัลคิลในสารลดแรงตึงผิวได้เป็นอย่างดี กล่าวคือทั้งการกำจัดหมึกและการละลายมีค่าสูงที่สุดที่ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ 0.2 โมล นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการกำจัดหมึกออกจากพื้นผิวพลาสติก โดยใช้สารลดแรงตึงผิว 2 ชนิดผสมกัน คือ สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ Triton-X 100 ผสมกับสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก CTAB พบว่า ปริมาณของหมึกที่ถูกกำจัดออกไปจากพื้นผิวพลาสติกจะลดลงเมื่อมีความเข้มข้นของTriton X-100 เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ความเข้มข้นของ CTAB ทั้งนี้ค่าการดูดซับและค่าการละลายก็มีผลสอดคล้องกับประสิทธิภาพการกำจัดหมึกบนพื้นผิวพลาสติกเช่นกันen
dc.description.abstractalternative(CnTAB) having carbon atoms of the alkyl chain lengths 12, 14 and 16 for dodecyl-, tetradecyl- and cetyl-trimethylammonium bromides(i.e., DTAB, TTAB, and CTAB) respectively at 30oC and pH level 12. To study the effect of sodium chloride (NaCl) 0.0, 0.1, 0.2, 0.5 and 1.0 M concentrations were added into each surfactant solution. For any given surfactant, the results indicate that 0.2 M NaCl produces the highest deinking efficiency. Moreover, the amount of ink removed by CnTAB improves as the alkyl chain length of CnTAB increases. Also, the solubilization of ink particles in CnTAB solution gives a good explanation on the effect of NaCl concentration and the alkyl chain length of surfactant. That is, the deinking and solubilization peaked when CTAB with 0.2 M NaCl was used. In addition, the result of ink removal by mixed surfactants, nonionic surfactant: Triton-x 100 and cationic surfactant: CTAB, shows that the percentage of ink removal decreases with increasing TritonX-100 concentration at any given CTAB concentration. The results of both absorption and solubilization of ink particles agree well with deinking efficiencyen
dc.format.extent1503402 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.379-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสารลดแรงตึงผิวen
dc.subjectโพลิโพรพิลีนen
dc.subjectหมึกพิมพ์en
dc.subjectการดูดซับen
dc.titleการใช้สารลดแรงตึงผิวในการกำจัดหมึกชนิดที่ใช้ตัวทำละลายบนผิวพลาสติกโพลีโพรพิลีนen
dc.title.alternativeUse of surfactants to remove solvent-based ink from polypropylene surfaceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorArubol.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.379-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Terdsak_ku.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.