Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20080
Title: การแสวงหาข้อมูล การใช้ประโยชน์ และความเชื่อถือในข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองของคนวัยทำงาน
Other Titles: Information seeking, uses and credibility of traveling information from online consumer-generated media of working people
Authors: นฤมล เพิ่มชีวิต
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: อินเตอร์เน็ต
การท่องเที่ยว
การประชาสัมพันธ์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การแสวงหา การใช้ประโยชน์ ความเชื่อถือในข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเอง (2) ความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวในสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเอง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อถือกับการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวในสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเอง (4) ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อถือกับการใช้ประโยชน์ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองของคนวัยทำงานที่มีอายุ 22-50 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและเคยใช้สื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองในการหาข้อมูลการท่องเที่ยวจำนวน 400 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลด้วยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้วิธีการทางสถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน One-way ANOVA และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. คนวัยทำงานมีการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่ออินเตอร์เน็ตมากที่สุด โดยประเภทของสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองที่ใช้มากที่สุด คือ ข้อมูลจากผู้บริโภคคนอื่นที่มีประสบการณ์ในสินค้าและบริการการท่องเที่ยวนั้น ๆ ในกระดานข่าว/ กระทู้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ เหตุผลที่เลือกใช้เพราะเป็นข้อมูลจากผู้ที่เคยใช้สินค้า/บริการการท่องเที่ยวนั้นมาก่อนโดยตรง คนวัยทำงานส่วนใหญ่แสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองอย่างสม่ำเสมอแม้จะยังไม่มีแผนจะท่องเที่ยว มีการใช้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 4-6 ครั้ง ครั้งละหนึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง โดยใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้านและ Search Engine ในการเข้าถึง มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองในระดับสูง โดยใช้เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่พักแรมมากที่สุด นอกจากนี้ คนวัยทำงานมีความเชื่อถือในสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองอยู่ในระดับสูง 2. คนวัยทำงานที่มีเพศ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองต่างกัน 3. ความเชื่อถือในสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเอง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคเองของคนวัยทำงาน 4. ความเชื่อถือในสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเอง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ประโยชน์ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคเองของคนวัยทำงาน
Other Abstract: The purposes of this research were to study (1) the seeking, usage, and credibility of traveling information obtained from CGM, (2) the difference of traveling information seeking arose from demographic characteristics of working people, (3) the correlation between credibility of CGM and traveling information seeking, (4) the correlation between credibility of CGM and traveling information usage among 400 working people with direct experience in CGM in Bangkok area. This survey research was conducted in quantitative way by using the questionnaires to collect the data for analysis i.e. Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, One-way ANOVA and Pearson's Product moment Correlation Coefficient, via SPSS. The results of this research revealed that: 1. The most popular type of CGM was the information from the experienced customers posting their opinions on the webboard / forum. The targeted working people frequently seek for the traveling information in CGM at around 4-6 times per week and 1-1.5 hours per time although they had not yet planed the trip. The target group mostly used internet at home and accessed the required traveling information via search engine. The working people highly believed and used the traveling information gained from CGM especially the findings about accommodation. 2. The working people with difference in gender, education, and income factors differed in their traveling information seeking behavior. 3. The credibility in consumer-generated media was positively correlated with the traveling information seeking and usage by the working people. 4. The credibility in consumer-generated media was positively correlated with the traveling information usage of working people.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20080
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1474
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1474
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narumol_pe.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.