Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20091
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพีระ จิรโสภณ-
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ ครุฑเมือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-06T14:40:19Z-
dc.date.available2012-06-06T14:40:19Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20091-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในสังคม ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เอกราช จังหวัดลำปาง ที่มีอายุยืนยาวนับตั้งแต่การก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบันนาน 53 ปี โดยวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและการดำเนินงานของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเอกราช ที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเมืองลำปางไว้ได้ (2) เพื่อศึกษาแนวโน้มอนาคตและปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เอกราช ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (3) เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการบริหารและวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเอกราช การวิจัยนี้เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบการศึกษาเชิงเอกสารในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลจากการศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์เอกราช เกิดขึ้นมาจากอุดมการณ์ของผู้ก่อตั้ง คือ นางเล็ก พิชญกุล และคณะทำหนังสือพิมพ์เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้แก่คนในท้องถิ่น ตลอดระยะเวลาร่วมครึ่งศตวรรษมีการดำเนินงาน ดังนี้ (1) ปรับการบริหารหนังสือพิมพ์ให้ดำรงอยู่ได้ ด้วยกลยุทธ์ นโยบาย ทุน เทคโนโลยี และส่วนผสมทางการตลาด ( 2) ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้หนังสือพิมพ์เอกราช ต้องปรับตัว คือ การบริหารการตลาดและการหาโฆษณาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ ทำให้สามารถลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรได้ และ(3)ใช้กลยุทธ์การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรค ในการวิเคราะห์พบว่า จุดแข็งอยู่ที่ความเก่าแก่เป็นที่รู้จักมายาวนานในท้องถิ่นลำปาง ชื่อหัวหนังสือพิมพ์ เอกราช เป็นที่รู้จักของผู้อ่าน แบรนด์ หรือ ตราสินค้า “เอกราช” มีมูลค่าเชิงธุรกิจที่สร้างความเชื่อถือได้ ด้านจุดอ่อนพบว่า เป็นหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก ขาดสีสัน อย่างไรก็ดีโอกาสที่จะเติบโต ของหนังสือพิมพ์มีมาก เพราะ ความเก่าแก่ และคนติดตามอ่านมานาน ส่วนอุปสรรคคือ คู่แข่งที่พัฒนาจนล้ำหน้าจึงต้องสร้างความแตกต่าง โดยปรับรูปลักษณ์และเนื้อหาหนังสือพิมพ์ และ พยายามออกหนังสือพิมพ์ให้ตรงตามกำหนด รักษาการนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางธุรกิจ เพื่อทำหน้าที่ให้น่าเชื่อถือและเป็นที่พึ่งพาของคนลำปางได้ต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThis study aims to examine the sustainability of business and editorial management of “Ekarat,” the local newspaper. The objectives of this research are to study: (1) background and development of Ekarat newspaper; (2) factors affecting the Ekarat’s adjustment for this sustainability; and (3) the strength, weakness, treat and opportunity of Ekarat newspaper. In-depth interviews and documentary method were used in this study. The results show that the Lampang local newspaper “Ekarat” was launched to stand against dictatorial government at that time. Nowadays, however the newspaper policy has been changed for surviving in the business cycle amidst social changes.The major policy is to produce local independent newspaper without being under control from the local business men or local politicians. From time to time Ekarat has adjusted itself to being survive as long as 5 decades. The research reveals the major findings as follow, (1) Ekarat was initiated in 1960 by Mrs. Lek Pichayakul with her husband and others in order to be a voice for local people; (2) factors that affected the business management of Ekarat local newspaper includes business ownership, newspaper’s policy, personnel ,budget and technology; and to sustain in newspaper business, Ekarat has made adjustment by, (3) Ekarat adjustment’s includes (a) improving marketing strategy for selling more newspaper copies and more advertising (b) using new technology to help saving the printing time, to improve the printing quality and to solve the problem of personnel insufficiency; and (3) In SWOT analysis, Ekarat has the strength of being existed as the old friend of Lampang residents and newspaper’s content is impartial. The weak point is unattractive especially the front page. However, Ekarat has great opportunity because Ekarat has long history in Lampang province make well known among local readers. In addition, Ekarat is the positive image and salable trademark. The treat for Ekarat is its competitors; Ekarat must compete the competitors by reaching the market before other newspapers. Moreover, Ekarat must improve itself to attract advertisers and keep the quality impartially which is the identity of Ekarat for more than a half century.en
dc.format.extent2718204 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.774-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการดำรงอยู่ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เอกราช ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมen
dc.title.alternativeSustainability of Ekarat local newspaper amidst social changesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPira.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.774-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharaporn_cr.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.