Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20126
Title: ผลกระทบของลักษณะการแสดงตัวตน การแสดงสถิติการโหวตและความกังวลในการตัดสินใจที่มีต่อการลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Impacts of identification features, voting statistics and decision anxiety on e-voting
Authors: อัจฉริยา พตด้วง
Advisors: ชัชพงศ์ ตั้งมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Chatpong.T@Chula.ac.th
Subjects: การลงคะแนนเสียง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยใช้การลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์ และทำให้การลงคะแนนเสียงนั้นมาจากความคิดเห็นที่แท้จริงของบุคคลนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาปัจจัยที่น่าจะมีผลดังกล่าวโดยเปรียบเทียบ (1) จำนวนการลงคะแนนเสียง (2) การเปลี่ยนทางเลือกในการลงคะแนนเสียงจากครั้งแรกและ ครั้งก่อนหน้า และ (3) การลงคะแนนเสียงตามหรือตรงข้ามกับความเห็นส่วนใหญ่ที่แสดงในสถิติการโหวต ระหว่าง (1) ระบบการลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะการแสดงตัวตนแบบปิดบังตนและแบบระบุตัวตนที่แท้จริง และระหว่าง (2) ระบบที่มีการแสดงและไม่แสดงสถิติการโหวต นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของจำนวนการลงคะแนนเสียงกับความกังวลในการตัดสินใจ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองในสถานการณ์จริงโดยใช้หน่วยทดลองคือ นิสิตชั้นปีที่หนึ่งถึงสี่ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 167 คน เข้าลงคะแนนเสียงในสี่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตัวนิสิตเป็นระยะเวลาสองเดือน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือระบบการลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์และแบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ผลการทดลองและการวิเคราะห์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าการแสดงสถิติการโหวตมีผลให้จำนวนการลงคะแนนเสียงมากกว่าการไม่แสดงสถิติการโหวต และมีการเปลี่ยนทางเลือกในการลงคะแนนเสียงทั้งจากครั้งแรกและครั้งก่อนหน้าน้อยกว่าการไม่แสดงสถิติการโหวต ส่วนลักษณะการแสดงตัวตนทั้งสองแบบมี (1) จำนวนการลงคะแนนเสียง (2) การเปลี่ยนทางเลือกในการลงคะแนนเสียงจากครั้งแรกและครั้งก่อนหน้า และ (3) การลงคะแนนเสียงตามหรือตรงข้ามกับความเห็นส่วนใหญ่ที่แสดงในสถิติการโหวตไม่แตกต่างกัน และความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการลงคะแนนเสียงกับความกังวลในการตัดสินใจไม่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าหน่วยทดลอง ส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนทางเลือกในการลงคะแนนเสียงจากครั้งแรกและครั้งก่อนหน้า และลงคะแนนเสียงตามความเห็นส่วนใหญ่ที่แสดงในสถิติการโหวต
Other Abstract: Enhancing stakeholders’ participation in decision making via an e-voting system and getting voting outcome which comes from participants’ honest opinion depend on various factors. This research examined these factors by comparing (1) voting counts, (2) changing of voting choices from the first voting and previous voting and (3) voting following or against voting statistics between (1) e-voting system using anonymous and using identified identification features, and between (2) e-voting showing and not showing voting statistics. Furthermore, the relationship between voting counts and decision anxiety was also analyzed in this study. This research was a quasi experiment. Participants were 167 undergraduates in their first to fourth year in Department of Statistics, Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University. Participants voted on four topics relating to students’ matter for the duration of two months. The data collection tools were electronic voting system and online questionnaire developed by the researcher. The experimental results and analysis of data at the 0.05 significant level show that voting counts are higher from participants using e-voting system with voting statistics. Also the percent of changing of voting choices between the first voting and previous voting is lower from participants using e-voting system with voting statistics. The two identification features (anonymous and identified) have no significant effects on voting counts, changing of voting choices from the first voting and previous voting, and on voting following or against voting statistics. Voting counts are not significantly correlated with decision anxiety. Furthermore, the results show that majority of participants do not change choices of voting from the first voting and previous voting, and vote following the voting statistics.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20126
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2021
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2021
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
atchariya_po.pdf12.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.