Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20132
Title: อัตราการย่อยสลายของซากรากฝอยในป่าชายเลนรุ่นสอง จังหวัดตราด
Other Titles: Decomposition rate of fine-root litter in secondary mangrove forest, Trat province
Authors: บัญฑูรย์ เฉลิมฉัตรวิไล
Advisors: ศศิธร พ่วงปาน
พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sasitorn.P@Chula.ac.th
Pipat.P@Chula.ac.th
Subjects: ราก (พฤกษศาสตร์)
ป่าชายเลน -- ไทย -- ตราด
การย่อยสลายทางชีวภาพ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการย่อยสลายของซากรากฝอย (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร) ในป่าชายเลนรุ่นสอง บริเวณปากแม่น้ำตราด จังหวัดตราด ด้วยวิธี litter bag ใน 3 เขตพันธุ์พืช ได้แก่ เขตไม้แสม-ลำพู เขตไม้โกงกาง และเขตไม้ตะบูน ในแปลงศึกษาถาวรขนาด 50x120 ตารางเมตรเป็นระยะเวลา 1 ปี จากการทดลองการย่อยสลายพบว่าปริมาณของซากรากฝอยที่เหลือจากการย่อยสลายที่ระดับความลึก 5 และ 20 เซนติเมตรไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 เขตพันธุ์พืช มีปริมาณของซากรากฝอยเหลืออยู่เท่ากับ 0.496, 0.570 และ 0.507 กรัมจากน้ำหนักเริ่มต้น 1.00 กรัม ในเขตไม้แสม-ลำพู เขตไม้โกงกาง และเขตไม้ตะบูน ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักของรากฝอยที่เหลือจากการย่อยสลายและช่วงเวลาศึกษา โดยใช้รูปแบบสมการถดถอยของการย่อยสลายแบบ Composite exponential ที่การย่อยสลายถูกแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา คือช่วงแรกตั้งแต่เริ่มต้นการทดลองไปจนถึงประมาณ 4 สัปดาห์ มีอัตราการย่อยสลายของซากรากฝอยค่อนข้างสูงเท่ากับ 0.2908, 0.3031 และ 0.2158 ในเขตไม้แสม-ลำพู เขตไม้โกงกาง และเขตไม้ตะบูน ตามลำดับ จากช่วงเวลาดังกล่าวไปจนสิ้นสุดการทดลองที่ 52 สัปดาห์ พบว่าอัตราการย่อยสลายของซากรากฝอยช้าลงเท่ากับ 0.0049, 0.0046 และ 0.0064 ตามลำดับ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้อภิปรายอัตราการย่อยสลายของรากฝอยในแต่ละเขตพันธุ์พืชจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระดับความสูงสัมพัทธ์ของพื้นที่ อุณหภูมิดิน และระยะเวลาที่พื้นที่ศึกษาถูกน้ำท่วมที่แตกต่างกันไปในแต่ละเขตพันธุ์พืช ศึกษาอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของซากรากฝอยที่เหลือจากการย่อยสลายพบว่า สอดคล้องกับแนวโน้มของการย่อยสลายของซากรากฝอย ศึกษาปริมาณการสะสมของซากรากฝอยตามระดับความลึก (0-10 10-20 และ 20-30 เซนติเมตร) โดยวิธี Coring พบว่าความลึกของดินไม่มีผลต่อการสะสมซากรากฝอยในทั้ง 3 เขตพันธุ์พืช แต่อย่างไรก็ตามปริมาณของซากรากฝอยรวมตั้งแต่ 0-30 เซนติเมตรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเขตพันธุ์พืช โดยในเขตไม้ตะบูนมีปริมาณของซากรากมากที่สุดเท่ากับ 89.97±14.27 ตันต่อเฮกแตร์ต่อความลึกดิน 30 เซนติเมตร รองลงมาคือ เขตไม้โกงกางและเขตไม้แสม-ลำพูเท่ากับ 21.07±2.65 และ 9.94±2.49 ตันต่อเฮกแตร์ต่อความลึกดิน 30 เซนติเมตรตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการย่อยสลายของซากรากฝอยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้กับป่าที่อื่นพบว่า การย่อยสลายของซากรากฝอยในป่าชายเลนมีการย่อยสลายต่ำกว่าในป่าบกที่อยู่ในเขตร้อนเหมือนกัน จึงสนับสนุนบทบาทสำคัญของระบบนิเวศป่าชายเลนที่จะเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนได้อย่างดี
Other Abstract: Decomposition of fine-root (< 2 mm in diameter) litter was studied by litter bag method in three vegetative zones (Avicennia-Sonneratia, Rhizophora and Xylocarpus zones) for one year in a permanent plot (50x120 m2) at a secondary mangrove forest, Trat province. The remaining weight of fine-root litter at 5 and 20 cm soil depth were not significant difference in the three zones. The remaining weights at the end of experiment were 0.496, 0.570 and 0.507 g from initial weight of 1.00 g in Avicennia-Sonneratia, Rhizophora and Xylocarspus zones, respectively. A relationship between the remaining weight of fine-root decomposition and time was fit by using a composite exponential model. It was separated into 2 periods. The first period, from the beginning of the experiment to approximately four weeks, showed a rapid decrease of fine-root litter by time. The decomposition rates in the first period were calculated at 0.2908, 0.3031 and 0.2158 for Avicennia-Sonneratia, Rhizophora and Xylocarpus zones, respectively. The second period, after approximate four week until the end of experiment at fifty-second week, fine-root litter slowly decrease by time. The rates of the second period were calculated at 0.0049, 0.0046 and 0.0064 in Avicennia-Sonneratia, Rhizophora and Xylocarpus zones, respectively. The decomposition rate of fine-root among zones was discussed by the interaction of environmental factors such as topography, soil temperature and inundation time. The C/N ratios of the fine-root remaining weight were analyzed. They related with the zonal variation of fine-root decomposition. The distribution of fine-root necromass was studied by coring method. The vertical distribution of fine-root necromass along the 3 soil depths (0-10, 10-20 and 20-30 cm) was not significantly different in all three zones. But, the zonal distribution of fine-root necromass was significantly different among zones. The fine-root necromass was accumulated in Xylocarpus > Rhizophora > Avicennia-Sonneratia zones. The trend of fine root accumulation by zone was coincided with the trend of fine root decomposition. The decomposition rate of fine-root in the present study was lower than that of terrestrial forests in the tropical region. The low decomposition rate of fine-root litter in mangrove forest indicates the large amount of fine-root necromass accumulated in the forest soil, consequently supports potential of a carbon sink
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20132
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1836
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1836
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buntoon_ch.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.