Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2013
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.authorวาสนา เลอวิทย์วรพงศ์-
dc.contributor.authorชวนพิศ ชิวารักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.date.accessioned2006-08-19T12:35:39Z-
dc.date.available2006-08-19T12:35:39Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2013-
dc.description.abstracten
dc.description.abstractalternativeการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของวิชาชีพพยาบาล ตามความคิดเห็นของประชาชนและพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล ตามความคิดเห็นของประชาชนที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของวิชาชีพยาบาลตามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุ สถานภาพการทำงาน (ฝ่ายบริการและฝ่ายการศึกษา) สังกัดรัฐบาลและเอกชน และระยะเวลาทำงานต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นครอบคลุมความคิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ของวิชาชีพพยาบาล และต่อตัวพยาบาลวิชาชีพที่รู้จักและ/หรือพบเห็นด้วยตัวเอง หรือจากสื่อมวลชน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชน 600 คน จาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ และพยาบาล 300 คน ทั้งจากฝ่ายบริการและฝ่ายการศึกษาภาครัฐบาลและเอกชน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจากประชาชน 377 ชุด คิดเป็นร้อยละ 62.83 จากพยาบาลวิชาชีพ 261 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.00 ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชน มีความคิดเห็นต่อวิชาชีพการพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพในระดับปานกลางทั้งเพศชาย และเพศหญิง ทุกกลุ่มอายุ และทุกรัดับการศึกษา 2. ประชาชน ที่มีอายุระหว่าง 21-35 ปี มีความคิดเห็นต่อวิชาชีพการพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพแตกต่างจากประชาชนที่มีอายุเท่ากันหรือมากกว่า 36 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็นต่อพยาบาลวิชาชีพในระดับปานกลางทุกกลุ่มอายุ ทั้งฝ่ายบริการพยาบาลและฝ่ายการศึกษา สังกัดรัฐบาลและเอกชนและทุกระยะเวลาการทำงาน 4. พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุ 26-35 ปี มีความคิดเห็นต่อพยาบาลวิชาชีพต่างจากพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 36 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. พยาบาลวิชาชีพแสดงความเห็นด้วยสูงสุด (ร้อยละ 95.8) ในเรื่อง "องค์กรวิชาชีพควรมีบทบาทในการพัฒนาวิชาชีพมากขึ้น" และรองลงมา (ร้อยละ 65.4) "วิชาชีพพยาบาลควรมีสัญลักษณ์วิชาชีพเป็นแบบเดียวกั" และลำดับต่อมา (ร้อยละ 84.7) "วิชาชีพการพยาบาลได้รับการยอมรับในการทำงานเป็นทีมร่วมกับวิชาชีพอื่น ข้อความที่พยาบาลวิชาชีพไม่เห็นด้วย มากที่สุด (ร้อยละ 77.4) คือ เรื่อง "ถ้ามีพยาบาลชายมากขึ้น อาจทำให้วิชาชีพก้าวหน้าเร็วขึ้น" และร้อยละ 57.5 "องค์การพยาบาลในประเทศไทยมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล"en
dc.format.extent3477798 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาพลักษณ์en
dc.subjectพยาบาลen
dc.titleภาพลักษณ์วิชาชีพการพยาบาล: รายงานการวิจัยen
dc.title.alternativeThe professional image of nursingen
dc.typeTechnical Reporten
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranom(Nursing).pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.