Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20151
Title: การตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานี : ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อร้านค้ากับวิถีชีวิตในชุมชน
Other Titles: Namimg of stores in Changwat Pattani : relationship between store names and the ways of life in the community
Authors: นควัฒน์ สาเระ
Advisors: อิงอร สุพันธุ์วณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Ing-orn.S@Chula.ac.th
Subjects: ชื่อการค้า
ร้านค้า -- การตั้งชื่อ
ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
ปัตตานี -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานีสามารถ สะท้อนความคิดทั้งในเชิงพาณิชย์และวัฒนธรรมของชุมชน ได้แก่ ประเภทธุรกิจ ทำเลที่ตั้งในท้องถิ่น เจ้าของหรือผู้ดำเนินการ บุคลิกการบริการ และความเป็นสิริมงคล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นชื่อร้านค้าในอำเภอเมือง อำเภอสายบุรี และอำเภอโคกโพธิ์ จำนวน ๒๙๖ ชื่อ ผลการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานีมีทั้งการใช้ภาษาเดียวและหลายภาษา ภาษาที่นิยมใช้ในการตั้งชื่อร้านค้ามากที่สุด คือ ภาษาไทย ส่วนภาษาอื่นๆ มีจำนวนน้อย แนวโน้มของการตั้งชื่อในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๙ มีการนำภาษาอังกฤษมาใช้มากขึ้น โครงสร้างของชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานี พบว่าสามารถแบ่งวงความหมายของชื่อร้านค้าออกเป็น โครงสร้างวงความหมายเดียวและโครงสร้างสองวงความหมาย ชื่อร้านค้าที่มีโครงสร้างวงความหมายเดียว ได้แก่ กิจการ ความเป็นมงคล ชื่อคน บุคลิกการบริการ และทำเลที่ตั้งตามลำดับ ส่วนชื่อร้านค้าที่มีโครงสร้างสองวงความหมาย ได้แก่ ชื่อคนกับกิจการ ทำเลที่ตั้งกับกิจการ ชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานีสามารถสะท้อนความคิดในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย คำที่บ่งบอกกิจการ คำที่บ่งบอกชื่อคนกับกิจการ และคำที่บ่งบอกทำเลที่ตั้งกับกิจการ ชื่อร้านค้าส่วนใหญ่ในจังหวัดปัตตานีสามารถสะท้อนวิถีชีวิตชุมชนได้ว่าเป็นสังคมผสมผสาน มีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่ต่างจากอดีต สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นมงคลในการตั้งชื่อร้านค้า และสะท้อนความนิยมในการใช้ภาษาอังกฤษในการตั้งชื่อร้านค้าของคนในสังคม
Other Abstract: This thesis aims to study the naming of the stores in Pattani Province as a reflection of the local commercial and cultural ideologies regarding the categories, locations, owners or operators, and service types of the business as well as good fortune that such names will bring. The research data were collected from 296 stores names in the three districts of Muang, Saiburi, and Khok Pho. The research findings reveal that the store names in Pattani can be in one or more than one language, the most popular language is Thai. There are few store names in other languages. However, there is a trend towards English store names during the period of 1997- 2006. The meanings of the store names can be divided into two structures : the names will one structural meaning and the name with two structural meaning. The first one is the type of business, meanings that signify good fortune, a person’s name, the type of service provided and a business location. The second one is a person’s name and the type of business, a business location and the type of business. The naming of stores in Pattani are a reflection of the local commercial ideology with the type of business, a person’ s name and the type of business, a business location and the type of business. The majority of store names in Pattani are a reflection of a heterogeneous society with people of diverse ethnicities living together in harmony. These store names reflect the changing lifestyles of the local communities, their belief in using the names that indicate good fortune as the store names and their increasing preference for the use of English in naming the stores.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20151
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.481
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.481
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nakawat_se.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.