Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20165
Title: อิทธพลของละครโทรทัศน์เกาหลีที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The influence of Korean TV dramas on viewer's attitude and consumption behavior of Korean cultural products in Bangkok
Authors: ภัทรจาริน ตันติวงศ์
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
วัฒนธรรมเกาหลี
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาของละครโทรทัศน์เกาหลีที่มี ส่วนสนับสนุนหรือก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมเกาหลี พฤติกรรมการเปิดรับละครโทรทัศน์เกาหลี และอิทธิพลของละครโทรทัศน์เกาหลีที่มีต่อทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่การวิเคราะห์ตัวบทคือละครโทรทัศน์เกาหลีที่ออกอากาศในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ 2544 – 2550 จำนวน 5 เรื่อง และการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่โด่ดเด่นของละครโทรทัศน์เกาหลีคือความเป็นละครรักโรแมนติก ที่เน้นการเล่าเรื่องแบบซาบซึ้ง ประทับใจ รวมถึงตัวละครที่มีลักษณะเชิงอุดมคติ และเนื้อหาที่สอดแทรกความเป็นเกาหลีไว้ เช่น วิถีชีวิต ความเชื่อ ทัศนคติ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมไปถึงภาพความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญต่างๆ ในประเทศเกาหลี โดยทั้งหมดได้รับการออกแบบอย่างตั้งใจ ประณีต และผสมกลมกลืนกัน ซึ่งเป็นการใช้หลักการตลาดเชิงวัฒนธรรมในการสร้างให้ผู้บริโภคเกิดทัศนคติที่ดีต่อสินค้าและบริการต่างๆ จากประเทศเกาหลี กลุ่มผู้ชมละครโทรทัศน์เกาหลีมีพฤติกรรมการรับชมละครโทรทัศน์เกาหลีผ่านทาง Free TV มากที่สุดโดยรับชมกับสมาชิกในครอบครัว และผู้ชมยังมีพฤติกรรมเปิดรับสื่อประเภทอื่นเพื่อรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์เกาหลี เช่น รายการโทรทัศน์ เวปไซด์ และนิตยสาร จากการศึกษาพบว่าละครโทรทัศน์เกาหลีเป็นสื่อที่มีอิทธิพลทำให้ผู้ชมเกิดทัศนคติที่ดีต่อประเทศเกาหลีในด้านต่างๆ เช่น สถานท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วิถีการใช้ชีวิต แฟชั่นการแต่งหน้า ทรงผม วัฒนธรรมเครื่องแต่งกาย สินค้าอุปโภคบริโภค รวมไปถึงภาพลักษณ์ของคนเกาหลี ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีอื่นๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็น อาหาร สินค้าอิเล็คทรอนิกส์ เครื่องสำอาง เครื่องแต่งกาย ทรงผม การท่องเที่ยว แต่ในขณะที่ผู้ชมละครโทรทัศน์เกาหลีมีทัศนคติที่ดีต่อละครโทรทัศน์เกาหลี แต่กลับมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมจากประเทศเกาหลีมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพของสินค้า และรายได้ของผู้บริโภค
Other Abstract: The research aims at studying the patterns and contents of Korean TV dramas, which supports or establishes consumption behavior of Korean cultural products, Korean TV dramas viewing behavior, and influences attitude and behavior of consumption behavior of Korean cultural products in Bangkok. This research is divided into two parts; the first is textual analysis, where five popular Korean TV dramas, broadcasted during 2001-2007, were selected. The second part is the survey research which utilizes questionnaires for data collection. The results showed that the outstanding pattern of Korean TV drama are romance, which presents impressive and delightful scenes, included ideal characters, and added Korean contents such as lifestyle, belief, attitude, arts and culture, tradition, and attractive sceneries in Korea. All of these were carefully designed, planned and well-blended by the technique of cultural marketing. In connection with the viewing behavior of the Korean TV drama viewers, the most popular viewing channel was Free TV and that they are likely to watch them with family members. Moreover, the audiences adopted other media in order to receive more information, for example, TV programs, websites and magazines. The study found that audiences are influenced by Korean TV dramas and as a result cause them to initiate positive attitude towards Korea in various dimensions such as eco-tourism, ways of life, make-up, hairstyles, fashion, culture, consumer products, and image of Korean people. These leads to the introduction of the consumption behavior of other Korean cultures such as food, electronic appliances, cosmetics, clothing, hairstyles, traveling, etc. Although, the viewers have a positive attitude towards Korean TV dramas, the consumption behavior of Korean cultural products are insignificant due to there are other factors namely products’ quality and consumers’ income.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20165
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.268
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.268
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phattajarin_ta.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.