Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20176
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิรยุทธ์ สินธุพันธุ์-
dc.contributor.authorอาภาวี เศตะพราหมณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-08T14:48:46Z-
dc.date.available2012-06-08T14:48:46Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20176-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งศึกษากระบวนการสร้างสรรค์และประเมินผลละครเพลงเพื่อสื่อประเด็นวัยรุ่นกับยาเสพติดตามแนวทางของแบร์ทอลท์ เบรคชท์ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ละครเพลงตามแนวทางของแบร์ทอลท์ เบรคชท์นั้นมีจุดเน้นอยู่ที่การสร้างระยะห่างระหว่างละครกับผู้ชมและการใช้วิธีการของละครวิภาษวิธีเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมได้ขบคิดและสนทนาเกี่ยวกับประเด็นของละครภายหลังจากที่การแสดงเสร็จสิ้นลง กลุ่มผู้ชมที่เข้าร่วมการประเมินทัศนคติต่อละครแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางการละคร 5 ท่าน, 2) กลุ่มนักการละครนักดนตรีและนักออกแบบ 47 คน, และ 3) กลุ่มเยาวชน 3 กลุ่ม จำนวน 121คน ผลการวิจัยพบว่าผู้ชมทั้ง 3 กลุ่มมีทัศนคติที่ดีต่อเนื้อหาของละคร การแสดงของนักแสดง และดนตรีประกอบละคร ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในเรื่องทัศนคติของผู้ชมมีความสัมพันธ์กับอายุของกลุ่มผู้ชมและประสบการณ์ในการชมละคร กลุ่มผู้ชมที่มีความเข้าใจประเด็นของละครและมีความสนใจต่อละคร คือกลุ่มเยาวชนระดับมัธยมปลายและนิสิตนักศึกษา การประเมินทัศนคติของกลุ่มผู้ชมละครทุกกลุ่มพบว่าละครในแนวทางของเบรคชท์สามารถสื่อประเด็นทางสังคมได้ดี ด้วยการใช้ดนตรีประกอบและการแทรกบทร้อง ทำให้ไม่เกิดความตึงเครียด การสื่อความหมายเชิงสัญญะด้วยภาพจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสื่อความหมายได้ดีในกลุ่มผู้ชมระดับมัธยมปลายขึ้นไป แต่ไม่พบในกลุ่มมัธยมต้น เพราะในกลุ่มนี้มีความชื่นชอบการสื่อสารในลักษณะของละครเพลงเชิงพาณิชย์ ที่เน้นความสมจริงทางด้านฉากและเครื่องแต่งกาย ดังนั้นหากต้องการสื่อประเด็นทางสังคมกับกลุ่มผู้ชมกลุ่มนี้ อาจทำได้โดยใช้รูปแบบละครที่สมจริงและสอดแทรกกลวิธีบางประการของเบรคชท์เพื่อสร้างระยะห่างในการสื่อประเด็นทางสังคมen
dc.description.abstractalternativeThis thesis examines the creative process of music theatre in the styles of Berthold Brecht to communicate a drug -related issue. The research found out that the Brechtian style of theatre emphasizes the uses of alienation effect (Verfremdung) and dialectic theatrical method to promulgate further discussion among the audience on the issues presented in the play. Three audience groups, namely 1) 5 academics, 2) 47 performing arts practitioners and 3) secondary and high school students, were invited to view the performances of the play. All the three audience groups had awareness in the social issue including a drug related issue .Furthermore, the audience had a good attention in the theatre contents and the Actors performing including the music soundtrack in theatre. These can be explained to the process of theatre in the level of good . Even the secondary school students had less in the level of the perception but they still had good attention in music soundtrack ,these can assume that the musical in the styles of Brecht are efficient in communicate to social issue, which can make attractive to the audience and reduce the tension of presentation in the social issue.en
dc.format.extent1951251 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleกระบวนการสร้างสรรค์ละครดนตรีเรื่อง "กว่าฉันจะเป็น..." ตามแนวทางของ แบร์ทอลท์ เบรคชท์ เพื่อสื่อประเด็นวัยรุ่นกับยาเสพติดen
dc.title.alternativeCreative process of music theatre in the styles of Berthold Brecht to communicate a drug-related issueen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสื่อสารการแสดงes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJirayudh.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arpawee_se.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.