Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระพันธ์ เหลืองทองคำ-
dc.contributor.authorฉัตรียา ชูรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-09T12:44:05Z-
dc.date.available2012-06-09T12:44:05Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20211-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระซึ่งได้รับอิทธิพลจากคุณสมบัติน้ำเสียงของพยัญชนะและสระในภาษาญัฮกุร (ชาวบน) จากการออกเสียงของผู้พูดกลุ่มอายุมาก (60-75 ปี) และผู้พูดกลุ่มอายุน้อย (20-35 ปี) เพศหญิงกลุ่มละ 5 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางกลสัทศาสตร์ได้ใช้โปรแกรม Praat เวอร์ชั่น 5.1.43 และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย t-test แบบสองทาง (two-tailed test) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณสมบัติน้ำเสียงของพยัญชนะต้นที่มีผลต่อค่าความถี่มูลฐานของสระและค่าความถี่มูลฐานของสระที่มีคุณสมบัติน้ำเสียงต่างกัน และใช้ ANOVA (Analysis of Variance) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณสมบัติน้ำเสียงของพยัญชนะท้ายต่างประเภทที่มีผลต่อค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่ข้างหน้า โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ข้อค้นพบจากการวิเคราะห์พฤติกรรมค่าความถี่มูลฐานของสระในบริบทต่างๆ มีดังนี้ อิทธิพลของคุณสมบัติน้ำเสียงของสระ พบว่า ค่าความถี่มูลฐานของสระเสียงก้องธรรมดามากกว่าค่าความถี่มูลฐานของสระเสียงก้องต่ำทุ้ม ความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกจุดเวลาในช่วง 0%-100% ของค่าระยะเวลา และสอดคล้องกันในผู้พูดทั้งสองกลุ่มอายุ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน อิทธิพลของคุณสมบัติน้ำเสียงของพยัญชนะต้น พบว่า (1) ค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงกักไม่ก้องมากกว่าค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงกักก้อง และความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกจุดเวลาในช่วง 0%-50% ของค่าระยะเวลา ในผู้พูดทั้งสองกลุ่มอายุ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน (2) ค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงก้องกังวานอโฆษะมากกว่าค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงก้องกังวานโฆษะ และความแตกต่างมีนัยสำคัญจุดเวลาในช่วง 0%-50% ของค่าระยะเวลา ในผู้พูดทั้งสองกลุ่มอายุ ข้อค้นพบเป็นไปตามสมมติฐาน (3) ค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงกักไม่ก้องไม่พ่นลมและเสียงกักไม่ก้องพ่นลม แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงกักไม่ก้องไม่พ่นลมน้อยกว่าค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงกักไม่ก้องพ่นลม และแบบที่ 2 ค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงกักไม่ก้องไม่พ่นลมน้อยกว่าค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หลังพยัญชนะเสียงกักไม่ก้องพ่นลมในช่วงต้นและมากกว่าในช่วงท้าย ความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกจุดเวลาในช่วง 0%-50% ของค่าระยะเวลา ในผู้พูดทั้งสองกลุ่มอายุ อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบไม่เป็นไปตามสมมติฐาน อิทธิพลของคุณสมบัติน้ำเสียงของพยัญชนะท้าย พบว่า มี 3 แบบ คือ แบบที่ 1: ค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หน้าเสียงกักมากกว่าของสระที่อยู่หน้าเสียงเสียดแทรก และค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หน้าเสียงเสียดแทรกมากกว่าของสระที่อยู่หน้าเสียงนาสิก แบบที่ 2: ค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หน้าเสียงกักมากกว่าของสระที่อยู่หน้าเสียงเสียดแทรก และค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หน้าเสียงเสียดแทรกน้อยกว่าของสระที่อยู่หน้าเสียงนาสิก และแบบที่ 3: ค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หน้าเสียงกักน้อยกว่าสระที่อยู่หน้าเสียงเสียดแทรก และค่าความถี่มูลฐานของสระที่อยู่หน้าเสียงเสียดแทรกมากกว่าของสระที่อยู่หน้าเสียงนาสิก ซึ่งความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกจุดเวลาในช่วง 50%-100% ของค่าระยะเวลา เฉพาะในคำทดสอบสระ /u/ เท่านั้น โดยพฤติกรรมสอดคล้องกันในผู้พูดทั้งสองกลุ่มอายุ อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบไม่เป็นไปตามสมมติฐาน รูปแบบระดับเสียงที่ได้จากการวิเคราะห์ค่าความถี่มูลฐานของสระที่ได้รับอิทธิพลจากคุณสมบัติน้ำเสียงของพยัญชนะและสระ เป็นไปในทิศทางเดียวกันในผู้พูดทั้งสองกลุ่มอายุ อย่างไรก็ตาม ผู้พูดกลุ่มอายุมากมีระดับเสียงและทิศทางการขึ้นตกของระดับเสียงที่ชัดเจนมากกว่าในผู้พูดกลุ่มอายุน้อย ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน สรุปภาพรวมของงานวิจัย ในภาษาญัฮกุร (ชาวบน) สระเสียงก้องธรรมดา (v) จะมีระดับเสียงสูงกว่าสระเสียงก้องต่ำทุ้ม (v̤) คุณสมบัติน้ำเสียงมีกลุ่มลม (เช่น ph-) จะก่อให้เกิดระดับเสียงสูงที่สุด คุณสมบัติน้ำเสียงไม่ก้อง (เช่น p- hm-) จะก่อให้เกิดระดับเสียงสูง และคุณสมบัติน้ำเสียงก้อง (เช่น b- m-) จะก่อให้เกิดระดับเสียงต่ำที่สุดen
dc.description.abstractalternativeThe aim of this research is to investigate and compare the behavior of the fundamental frequency of vowels of different phonation types and of vowels perturbed by different phonation types of initial and final consonants in Nyah Kur (Chaobon). The data was recorded from two groups of female speakers, aged 60-75 and 20-35, with five speakers in each group, and was acoustically analyzed with Praat 5.1.43. The effects of the phonation types of vowels and of initial consonants on the F0 values of vowels were statistically tested with t-Test (0.05 level of significance) and the effects of the phonation types of final consonants on the F0 values of preceding vowels were statistically tested with ANOVA (0.05 level of significance). The results are as follows: Phonation types of vowel: clear-voiced vowels have a higher F0 value than breathy-voiced vowels. The F0 difference is statistically significant from 0-100% of the normalized time in both speaker groups, thus supporting the hypothesis. The perturbation of initial consonants of different phonation types are: 1) vowels following voiceless initials have a higher F0 value than those following voiced initials and the F0 difference is statistically significant from 0-50% of the normalized time in both speaker groups, thus supporting the hypothesis; 2) vowels following voiceless sonorants have a higher F0 value than those following voiced sonorants, and the F0 difference is statistically significant from 0-50% of the normalized time in both speaker groups, thus supporting the hypothesis; and 3) for vowels following voiceless unaspirated and aspirated stops there are two findings, i.e. (i) vowels following voiceless unaspirated stops have a lower F0 value than those following voiceless aspirated stops, (ii) vowels following voiceless unaspirated stops have a lower F0 than those following aspirated ones, only at the beginning and then higher at the end of the vowel duration; the F0 differences as stated in (i) and (ii) are statistically significant from 0-50% of the normalized time in both speaker groups, thus failing to support the hypothesis The perturbation of final consonants with different phonation types are: 1) vowels preceding voiceless stops have a higher F0 value than those preceding voiceless fricatives and those preceding voiced nasals; 2) vowels preceding voiceless stops have a higher F0 value than those preceding voiceless fricatives and vowels preceding voiceless fricatives have a lower F0 value than those preceding voiced nasals; and 3) vowels preceding voiceless stops have a lower F0 value than those preceding voiceless fricatives and vowels preceding voiceless fricatives have a higher F0 value than those preceding voiced nasals. However, the findings do not confirm the hypothesis, i.e. the F0 difference is statistically significant from 50-100% of the normalized time in both speaker groups only in /u/. With regard to the pitch patterns of vowels of different phonation types and of vowels perturbed by the phonation types of initial and final consonants, they behave in the same way in both speaker groups. However, a clearer picture of pitch height and pitch contour behavior can be found in the older speaker group’s speech, thus confirming the hypothesis. In conclusion, for Nyah Kur (Chaobon), clear-voiced vowels (V) have a higher pitch than breathy-voiced vowels (V̤). In the phonation types of consonants; aspiration (e.g. ph-) will be the cause of the highest pitch, voicelessness (e.g. p- hm-) will be the cause of higher pitch and being voiced (e.g. b- m-) will be the cause of the lowest pitchen
dc.format.extent4690642 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1846-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาญัฮกุรen
dc.titleรูปแบบระดับเสียงซึ่งได้รับอิทธิพลจากคุณสมบัติน้ำเสียงของพยัญชนะและสระในภาษาญัฮกุร (ชาวบน)en
dc.title.alternativePitch patterns influenced by the phonation types of consonants and vowels in Nyah Kur (Chaobon)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTheraphan.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1846-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charttreeya_ch.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.