Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2022
Title: การตรวจสอบคุณภาพของการพยาบาลในโรงพยาบาลหัวเฉียว
Other Titles: Nursing audit in Hua Chiew Hospital
Authors: สุชาดา รัชชุกูล
Email: Suchada.Ra@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: บันทึกการพยาบาล
บริการการพยาบาล
โรงพยาบาลหัวเฉียว
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบของบันทึกทางการพยาบาล และประเมินคุณภาพของการพยาบาลในโรงพยาบาลหัวเฉียว คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปแล้วที่แผนกเวชระเบียนโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอนในแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวช ตา-หู-คอ-จมูก และกุมารเวช แผนกละ 10 ฉบับต่อเดือน เป็นระยะเวลานาน 10 เดือน รวมตัวอย่างแฟ้มประวัติของผู้ป่วยทั้งหมด 500 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ รายการตรวจสอบซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง มีความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยง ทดสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ทดสอบสัดส่วนกิจกรรมการรักษาและการพยาบาลด้วยค่าไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพของการพยาบาลรายคู่ภายหลังทดสอบความแปรปรวนโดยการทดสอบวิธีของตูกิ (บี) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบบันทึกทางการพยาบาล พบว่าที่ได้ปฏิบัติตามรูปแบบเกินร้อยละ 50 มี 4 รายการคือ ใบรายงานคำสั่งการรักษาของฝ่ายแพทย์ ใบบันทึกการให้ยา ใบสำหรับติดผลการตรวจจากห้องทดลองและห้องรังสี และใบบันทึกการพยาบาล ยกเว้นใบรายงานสัญญาณชีพของผู้ป่วยในหัวข้อ "ลงเวลาที่ผู้ป่วยจำหน่ายหรือถึงแก่กรรม" 2. กิจกรรมการรักษาและการพยาบาล ตรวจสอบพบว่าที่ได้ปฏิบัติเกินร้อยละ 50 มี 2 ด้านคือ ด้านการดำเนินการปฏิบัติสืบเนื่องมาจากคำสั่งการรักษาของแพทย์ และด้านการสังเกตอาการแสดงและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ยกเว้นด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ในหัวข้อ "ให้การสอนแก่ผู้ป่วยครอบครัวหรือญาติที่ดูแลผู้ป่วย" "ปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วย" "แนะนำวิธีการให้ยา" และ "สอนการป้องกันโรคให้กับผู้ป่วยหรือญาติ" ด้านการดำเนินการพยาบาลและให้การดูแลหัวข้อ "การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย" และ "การออกกำลังกาย" ด้านการเขียนรายงานและบันทึกในหัวข้อ ติดตามประเมินผลอาการเปลี่ยนแปลงภายหลังให้การช่วยเหลือพยาบาล 3. คุณภาพของการพยาบาล พบว่าส่วนใหญ่ที่อยู่เกณฑ์ระดับดีมากมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินการปฏิบัติสืบเนื่องมากจากคำสั่งการรักษาของแพทย์ ด้านการสังเกต อาการแสดงและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น และด้านการดำเนินการพยาบาลและให้การดูแล เกณฑ์ระดับดีได้แก่ด้านการเขียนรายงานและบันทึก และเกณฑ์ระดับพอใช้ได้แก่ด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ 4. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพของการพยาบาลระหว่างแผนกอายุกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวช ตา-หู-คอ-จมูก และกุมารเวช พบว่ามีความแตกต่างกันทุกด้านซึ่งไม่สนองสมมติฐานของการวิจัยดังนี้ 4.1 ด้านการดำเนินการปฏิบัติสืบเนื่องจากคำสั่งการรักษาของแพทย์ พบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ระหว่างแผนกตา-หู-คอ-จมูก และแผนกกุมารเวช นอกนั้นทุกแผนกไม่มีความแตกต่างกัน และในรายข้อพบว่ามีความแตกต่างกันทุกหัวข้อที่ระดับความเชื่อมั่น .01 4.2 ด้านการสังเกตอาการแสดงและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น พบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ระหว่างแผนกสูติ-นรีเวชกับแผนกอายุรกรรม แผนกศัลยกรรมและแผนกกุมารเวช นอกนั้นทุกแผนกไม่มีความแตกต่างกัน และในรายข้อพบว่า มีความแตกต่างกันเกือบทุกหัวข้อที่ระดับความเชื่อมั่น .01 ยกเว้นในหัวข้อ "ติดตามอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยแบบต่อเนื่อง" และ "อาการแสดงและการดำเนินของโรค" ซึ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น .05 จึงสนองสมมติฐานของการวิจัย 4.3 ด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ พบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ระหว่างแผนกศัลกรรมและแผนกสูติ-นรีเวช นอกนั้นทุกแผนกไม่มีความแตกต่างกัน และในรายหัวข้อพบว่ามีความแตกต่างกันทุกหัวข้อที่ระดับความเชื่อมั่น .01 และ .05 4.4 ด้านการดำเนินการพยาบาลและให้การดูแล พบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น 0.5 ระหว่างแผนกศัลยกรรมและแผนก ตา-หู-คอ-จมูก นอกนั้นทุกแผนกไม่มีความแตกต่างกัน และในรายข้อพบว่ามีความแตกต่างกันเกือบทุกหัวข้อที่ระดับความเชื่อมั่น .01 และ .05ยกเว้นในหัวข้อ "ติดตามผลการตรวจทางห้องทดลอง" ซึ่งพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น .05 จึงสนองสมมติฐานของการวิจัย 4.5 ด้านการเขียนรายงานและการบันทึก พบว่า มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ระหว่างแผนก ตา-หู-คอ-จมูก และแผนกกุมารเวช แผนกสูติ-นรีเวช กับทุกแผนก นอกนั้นทุกแผนกไม่มีความแตกต่างกัน และในรายข้อพบว่ามีความแตกต่างกันทุกหัวข้อที่ระดับความเชื่อมั่น .01
Other Abstract: The purpose of this research were to study the Nursing record's form and to evaluate the quality of Nursing care in Haw Chiew Hospital. The samples of 500 discharged patients chart were selected by multi-stage sampling technique. There were Medical Department, Surgical Department, Obstetric and Gynaecological Department, Eye-Ear-Nose-Throat and Pediatric Department. The research instrument used in collecting data was as audit scale developed by the researcher. The audit scale was tested for content validity and its reliability was 0.80. Statistical procedure used for data were percentage, Chi-square, F-Test and Tukey (B) test. The results of the gathered data revealed the following findings. 1. The Nursing record's form : Find that there were 4 titles frequenly performed above 50 percent; Doctor's order sheet, Medical sheet, Laboratory Test sheet, and Nurses' notes accept graphic sheet in the item of record the time of patient discharge or dealth. 2. Medical treatment and Nursing care : the audit find that2 titles frequenly perform above 50 percent; Application and execution of physicians'legal order and observation of symptoms and reactions accept in prevention and promotion of physical and emotional health in items of teaching promotion to the patient or family, the physical, emotional and mental reaction of the family, supervision of medications, and teaching prevention to the patient or family. Application and execution of nursing procedure in the items of rehabilitation and physical exercise. Reporting and recording in the item of evaluation of nursing care.3. The quality of nursing care : Find that there were 3 items in an excellent level; Application and execution of physician's legal order, Observation of symptom and reactions, and Application and execution of Nursing procedure. In good level ; Reporting and Recording. And in fair level; Prevention and promotion of physical and emotional health. 4. The comparison of the means of the quality of nursing care between Medical Department, Surgical Department, Obstetric and Gynaecological Department, Eye-Ear-Nose-Throat and Pediatric Department : Find that there were difference in every items. Hence, the research hypothesis was not accept. 4.1 Application and execution of physician's legal order : there was a statistically significant difference at .05 level between Eye-Ear-Nose-Throat and Pediatric Department. 4.2 Observation of symptom and reaction : there was a statistically significant difference at .05 level between Obstetric and Gynaecological Department with Medical, Surgical and Pediatric Department. 4.3 Prevention and promotion of physical and emotional health : there was a statistically significant difference at .05 level between Surgical with Obstetric and Gynaecological Department. 4.4 Application and execution of nursing procedure : there was a statistically significant difference at .05 level between Surgical and Eye-Ear-Nose-Throat Department. 4.5. Reproting and recording : there was a statistically significant difference at .05 level between Eye-Ear-Nose-Throat and Pediatric Department, Obstetric and Gynaecological with every department.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2022
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada(Hospital).pdf9.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.