Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20233
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันต์ สัมปัตตะวนิช-
dc.contributor.authorเอกนที สันติมหกุลเลิศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-10T14:30:28Z-
dc.date.available2012-06-10T14:30:28Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20233-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและนโยบายของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วิเคราะห์ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของสาขาการท่องเที่ยวที่มีต่อสาขาเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศด้วยการคำนวณค่าดัชนีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจไปข้างหน้าและไปข้างหลัง และวิเคราะห์ผลกระทบของสาขาการท่องเที่ยวที่มีต่อผลผลิต การจ้างงาน และรายได้ของประเทศด้วยตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจ การศึกษานี้แบ่งกลุ่มสาขาเป็น 26 สาขา โดยใช้ข้อมูลจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของประเทศไทย ใน 3 ปี ได้แก่ ปีพ.ศ.2538 พ.ศ.2543 และพ.ศ.2548 โดยพิจารณาให้สาขาโรงแรมและภัตตาคาร (สาขาที่21) เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นสาขาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมากที่สุด ผลการศึกษาพบว่า สาขาการท่องเที่ยวมีการใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศจากสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุด และมีการกระจายผลผลิตภายในประเทศไปยังสาขาการค้ามากที่สุด ปีพ.ศ.2548 เมื่อเทียบกับปีพ.ศ.2538 สัดส่วนการใช้ปัจจัยภายในประเทศลดลงอาจจะมาจากพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวต่างประเทศเปลี่ยนไปใช้ปัจจัยนำเข้าแทน และสัดส่วนการกระจายผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้าและบริการจะมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการกระจายผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของสาขาการท่องเที่ยว พบว่าเป็นสาขาที่มีความเชื่อมโยงของผลผลิตและการจ้างงานไปข้างหลังมากกว่าไปข้างหน้า แสดงว่าในการผลิตผลผลิตมีความต้องการใช้ปัจจัยการผลิตจากสาขาเศรษฐกิจต่างๆ มากกว่าที่จะถูกนำผลผลิตของตนไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตให้กับสาขาเศรษฐกิจอื่นๆ การส่งเสริมพัฒนาสาขาการท่องเที่ยวให้มากขึ้นจะช่วยให้เกิดการขยายตัวของผลผลิตและการจ้างงานของสาขาเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามไปด้วยen
dc.description.abstractalternativeIn this thesis, the author focuses on three objectives. They are (i) to study structure and policy of the tourism industry, (ii) to analyse economic linkage of tourism towards the various economic sectors of the country with the calculation of forward and backward economic linkage index and (iii) to examine the impact of the tourism effects on output , employment and income of the country with multiplier analysis. The research divides into 26 sectors of Input-Output Table and illustrates the result of the years 1995 , 2000 and 2005. The author refers tourism sector as the hotels and restaurants sector (sector 21), because this sector corresponds closely and relatively to tourism. The results of this study shows that tourism sector uses the most domestic input from food manufacturing sector and distribute the most domestic output to trade sector. In 2005, compared to 1995, shares of inputs have decreased probably due to consume behavior of tourists change to use import input. The shares of outputs have increased because demand for goods and service and distribute output have increased too. Economic linkage analysis shows that tourism has backward linkage of output and employment higher than forward linkage. It can be explained that the output production need to use input from the other sectors more than distribute to other sectors. The support of development tourism sector will enhance to increase the output and employment of the other linkage sectoren
dc.format.extent1185054 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1856-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ผลกระทบต่อเศรษฐกิจen
dc.titleนโยบายการส่งเสริมการบริการด้านการท่องเที่ยวต่อความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจen
dc.title.alternativeThe policy of tourism service promotion to economic linkageen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSan.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1856-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eaknatee_sa.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.