Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20234
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.author | เอกวิชญ์ กุลธวัชวิชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-06-10T14:35:32Z | - |
dc.date.available | 2012-06-10T14:35:32Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20234 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ค่อย ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา จนทำให้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์แบบพบได้ทั่วไป กล่าวคือคอมพิวเตอร์ถูกใช้งานอยู่ทุกหนทุกแห่ง โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้รู้สึกว่ากำลังใช้ระบบคอมพิวเตอร์อยู่ ซึ่งในวงการระบบคอมพิวเตอร์แบบพบได้ทั่วไปนั้นแอปพลิเคชันแบบล่วงรู้บริบทกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแอปพลิเคชันเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานได้ตามบริบทโดยรอบและสภาพแวดล้อม โดยบริบทหมายถึงข้อมูลใด ๆ ที่สามารถบ่งบอกลักษณะของเอนทิตีที่สนใจได้ ซึ่งเอนทิตีอาจหมายถึงตัวบุคคล สถานที่ วัตถุสิ่งของ หรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชัน ข้อมูลบริบทอาจเป็นได้ทั้ง (1) ค่าที่ได้รับหรือวัดได้จากฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ (2) ค่าที่ระบุไว้โดยตรงโดยผู้ใช้ หรือ (3) ค่าที่ได้รับมาจากบริบทอื่น ๆ เช่นจากการคำนวณ หรือจากการประกอบกันของบริบทเข้าด้วยกันเป็นบริบทประกอบ งานวิจัยนี้นำเสนอแนวคิดของ บริบทประกอบเชิงกระบวนการ ซึ่งคือ บริบทประกอบที่สามารถสร้างได้จากบริบทย่อย ๆ ในรูปแบบของกระบวนการทำงาน ในการพัฒนาบริบทดังกล่าวยังได้อาศัยแนวคิดของสถาปัตยกรรมอิงแบบจำลอง โดยงานวิจัยนี้ได้กำหนดแบบจำลองเมตาของแบบจำลองระดับพีไอเอ็ม พีเอสเอ็ม และโค้ด รวมถึงกฎการแปลงระหว่างแบบจำลองเมตาแต่ละระดับ ซึ่งจะทำให้บริบทประกอบเชิงกระบวนที่พัฒนาได้สามารถนำไปปรับใช้กับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้โดยใช้แบบจำลองระดับพีไอเอ็มแบบเดียวเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้นำเสนอการพัฒนาบริบทประกอบเชิงกระบวนการในสองแพลตฟอร์ม ซึ่งได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทวินโดวส์โมบายล์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทแอนดรอยด์ โดยใช้ภาษาการแปลงเอทีแอล | en |
dc.description.abstractalternative | Computer technology has gradually become part of our daily life. This leads to a concept called ubiquitous computing or pervasive computing where computers are used around us seamlessly and, without notice, users may not realize that they are using computing systems. Within pervasive computing community, context-aware applications are gaining more interests since these applications can adapt their behavior based on surrounding context and environment. By definition, contexts refer to any information that characterizes the situation of an entity of interest. An entity can be a person, place, object, or application. Context information can be either (1) retrieved or sensed by hardware or software, (2) explicitly provided by the users, or (3) derived from other context information, e.g. by means of computation or of composition of other contexts into a composite context. This research proposes a concept of Process-Based Composite Contexts in which a composite context can be composed from other contexts in the form of a process. To develop such a context with Model Driven Architecture, PIM-, PSM-, and code-level metamodels as well as transformation rules between the meta-models are defined. The composite context can then be ported to different platforms using only one PIM model. Also, a development of the composite context for two platforms - Windows Mobile and Android - using ATL transformation language is presented | en |
dc.format.extent | 2727075 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.629 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถาปัตยกรรม | en |
dc.subject | โทรศัพท์เคลื่อนที่ | en |
dc.title | การพัฒนาบริบทประกอบเชิงกระบวนการโดยอิงสถาปัตยกรรมอิงแบบจำลอง | en |
dc.title.alternative | A development of process-based composite contexts based on model driven architecture | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | twittie.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.629 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ekawit_gu.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.