Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประพิม ศุภศันสนีย์-
dc.contributor.authorสุชาดา รัชชุกูล-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-21T07:22:38Z-
dc.date.available2006-08-21T07:22:38Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2034-
dc.description.abstractการศึกษาย้อนหลังจากผลไปหาเหตุ (Case-control study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวชี้วัดลักษณะทางสังคมของบุคคลที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและไม่ติดต่อ และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสังคมของบุคคลที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและไม่ติดต่อกับบุคคลที่มีสุขภาพดี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มศึกษา (case) เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 198 ราย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 198 ราย และกลุ่มควบคุม (control) เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีจำนวน 202 ราย โดยสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนในโรงพยาบาล 11 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ ความถดถอยโลจิสติค (Binary logistic regression analysis) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ตัวชี้วัดลักษณะทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ประกอบด้วย การพักผ่อนนอนหลับ การออกกำลังกาย อายุ และระดับการศึกษา โดยพบว่าโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลที่มีสุขภาพดีดังนี้ มีการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ (OR = .18, 95% CI = .05-71, p = .01) มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (OR = .43, 95% CI = .22-.85, p =.01) มีการศึกษาสูง (OR = .88, 95% CI = .82-.94, p =.01) ยกเว้นอายุมากมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพิ่มขึ้น (OR = 1.22, 95% CI = 1.17-1.28, p =.01) ส่วนตัวชี้วัดลักษณะทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย ความดันโลหิต การออกกำลังกาย ท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ การดื่มสุรา ระดับการศึกษา และอายุ โดยพบว่าโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลที่มีสุขภาพดีดังนี้ มีความดันโลหิตสูง (OR = .658, 95% CI = 2.22-19.51, p =.01) ดื่มสุราเป็นประจำ (OR = 3.66, 95% CI = 1.18-11.7, p =.03) มีอายุมาก (OR = 1.19, 95% CI = 1.13-1.25, p=.01) แต่โอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเป็นโรคจะลดลงในกรณีที่มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ (OR = .18, 95% CI = .07-.51, p = .01) อาศัยอยู่ในเมือง (OR = .23, 95% CI = .08-.68, p =.01) และมีการศึกษาสูง (OR = .76, 95% CI = .68-.84, p =.01)-
dc.description.abstractalternativeThis case-control study was conducted with the objectives to determine social characteristic indicators and to examine the relationship among social characteristics in person who had chronic-noncommunicable illness. One hundred and ninety-eight cases of patients with CHD, and equal number of patients with CVD, and 202 healthy controls were recruited in 11 hospitals using multi-stage sampling strategy. A reliable research questionnaire with a Cronbach alpha of .80 was administered to the subjects. Data analyses were performed using frequency, percentage indicators, only relaxing and sleeping, exercise, age and education were associated with a risk of CHD. Further analysis revealed that adequate relaxing and sleeping (OR, .18; 95% CI, .05 to .71; p, .01), regular exercise (OR,.43; 95% CI, .22 to .85; p, .01), higher education (OR, .88; 95% CI, .82 to .94; p, .01) were associated with decreased CHD as compared to the control counterparts. However, older age (OR, 1.22; 95% CI, 1.17 to 1.28; p, .01) was related to an increase risk of CHD. For the CVD group, blood pressure, exercise, geographic dwelling, alcohol consumption, education and age were associated with current hypertension (OR, 6.58; 95% CI, 2.22 to 19.51; p, .01), habitual alcohol consumption (OR, 3.66; 95% CI, 1.18 to 11.37; p, .03) and older age (OR, 1.19; 95% CI, 1.13 to 1.25; p, .01). Regular exercise (OR, .18; 95% CI, .07 to .51; p, .01), urban dwelling (OR, .23; 95% CI, .08 to .68; p, .01) and higher education (OR, .76; 95% CI, .68 to .84; p, .01) were inversely related to CVD. Health care provides could utilize the findings from this study to identify those who are at risk for CHD and CVD. The social characteristics, thus, can be modified in order for early prevention.en
dc.format.extent770746 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหลอดเลือดสมอง--โรคen
dc.subjectระบาดวิทยาen
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์--โรคen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสังคมกับการป่วยด้วยโรคเรื้อรังและไม่ติดต่อen
dc.title.alternativeRelationship between social characteristics and chronic-noncommunicable illnessen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorSuchada.Ra@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PrapimSupa.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.