Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20435
Title: การจัดการระดับน้ำตาลในเลือดโดยการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมด้วยอินซูลิน
Other Titles: Glycemic management using self-monitoring of blood glucose in insulin-treated type 2 diabetic patients with uncontrollable blood glucose level
Authors: สกุล วรากรพิพัฒน์
Advisors: สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เบาหวาน -- การรักษา
เบาหวาน -- ผู้ป่วย
น้ำตาลในเลือด
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดการระดับน้ำตาลในเลือด โดยการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมด้วยอินซูลิน วิธีดำเนินการวิจัย: มีผู้ป่วยได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 72 ราย โดยผู้ป่วยได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 ราย ผู้ป่วยกลุ่มศึกษา คือผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามดูแลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยเภสัชกร ร่วมกับการใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (ACCU-CHEK Advantage) ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมคือ ผู้ป่วยที่มีการติดตามดูแลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยเภสัชกรตามปกติ ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มได้รับการโทรศัพท์ติดตามผลสัปดาห์ละ 1 ครั้งและประเมินผลการศึกษาเมื่อครบ 3 เดือน ดำเนินการศึกษาระหว่างธันวาคม 2551 ถึง มีนาคม 2552 ผลการศึกษา: ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ประวัติความเจ็บป่วย ประวัติทางสังคม และประวัติการใช้ยารักษาเบาหวานไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ผลการศึกษาพบว่า หลังจากติดตามผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มเป็นเวลา 3 เดือน ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง มีการควบคุมระดับน้ำตาลในสะสมในเลือดที่ดีขึ้น (p<0.001) รวมทั้งระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (p<0.05) ขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมมีการลดลงของระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเช่นกัน (p<0.001) แต่ไม่มีความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (p>0.05) สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ซึ่งอาจเนื่องมาจากการติดตามผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอย่างใกล้ชิดโดยเภสัชกร ส่งผลให้มีผลต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ความร่วมมือในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการใช้โทรศัพท์ติดตามที่อาจมีผลทำให้ผู้ป่วยมีความกระตือรือร้น และใส่ใจในการดูแลตนเองมากขึ้น
Other Abstract: Objectives: To study the result of self-monitoring of blood glucose (SMBG) on clinical outcomes and glycemic management in insulin-treated type 2 diabetic patients with uncontrollable blood glucose level at Lad-yao hospital. Methods: A total of 72 insulin-treated type 2 diabetic patients were enrolled in the study. 36 patients were randomized into the study group and control group. patients in the study group were trained to perform SMBG and recorded their blood glucose level, meanwhite the control group received normal monitoring at diabetic clinic. During the study period, patients in both groups were followed up by telephone for advice once a week. This study was conducted during December 2008 to March 2009. Results: There were no difference (p>0.05) in baseline patient demographics. After 3-month of study, the patients in the study group with SMBG intervention had statistically significant differences in hemoglobin A₁c (A1C:p<0.001) and fasting plasma glucose (FPG:p<0.05) between the beginning and the end of the study. In the control group, there was a significant change for A1C(p<0.001) but not for FPG (p=0.581). However, no differences in A1C and FPG changes between the groups (p>0.05) were found at the end of the study. Conclusions: Patients with uncontrolled blood glucose who used SMBG achieved significantly improved A1C and FPG during the short-term follow up. However, patients in the control group also improved in glycemic control too. The possible explanation of this result is close monitoring by pharmacist in both groups made patients wanting and willing to participate in diabetic treatment and in turn they tried to manage themselves by tightening their glycemic controls
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20435
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2028
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2028
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakul_wa.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.