Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20453
Title: ความผิดปกติของไตจากยาทีโนโฟเวียร์ ไดโซโพรซิล ฟูมาเรต ในผู้ป่วยเอดส์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Tenofovir disoproxil fumarate-associated nephrotoxicity in patients with AIDS at King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: กอบโชค วรธนารัตน์
Advisors: ชุษณา สวนกระต่าย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chusana.S@Chula.ac.th
Subjects: โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย -- การใช้ยา
โรคเอดส์ -- ภาวะแทรกซ้อน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาชนิดไปข้างหน้าที่ติดตามการเกิดภาวะแทรกซ้อนของไตส่วนต่างๆ จากการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ tenofovir disoproxil fumarate (TDF) โดยประเมินการทำงานของไตอย่างละเอียดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในทุกด้านจากการใช้ยา TDF ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยเฝ้าติดตามไปเป็นระยะเวลาหกเดือน วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาชนิดไปข้างหน้า โดยประเมินหน้าที่การทำงานของไตอย่างละเอียดในทุกด้าน โดยเฉพาะอัตราการกรองของไตและการประเมินการทำงานของท่อไตทั้งหมด โดยเปรียบเทียบค่าการทำงานของไตส่วนต่างๆ ในผู้ป่วยเอดส์ผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ใช้ยา TDF ตั้งแต่กรกฎาคม 2551 ถึงกุมภาพันธ์ 2552 โดยประเมินที่ก่อนเริ่มยา สามเดือน และหกเดือน ผลการศึกษา มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 39 ราย โดยมีอัตราส่วนชายต่อหญิงเท่ากับ 23:16 อายุเฉลี่ย 42 ปีในผู้ชาย และ 37 ปีในผู้หญิง มีผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสร่วมเป็นยากลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor หรือ protease inhibitor จำนวน 36 ราย (ร้อยละ 92.30) และ 3 ราย (ร้อยละ 7.70) ตามลำดับ จำนวนซีดีสี่ก่อนเข้าการศึกษาของผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับยา TDF เท่ากับ 359 cells/mm3 ผู้ป่วยส่วนมากเคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีมาก่อนไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการกรองของไตไม่ว่าจะประเมินจาการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงการใช้สูตรคำนวณ Cockroft-Gault หรือสมการ MDRD ในผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาเมื่อเฝ้าติดตามการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีไปหกเดือน (p = 0.821, 0.497 และ 0.262 ตามลำดับ) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มในแง่การประเมินหน้าที่การทำงานของท่อไตทั้งส่วนต้นและส่วนปลายเมื่อเฝ้าติดตามการศึกษาไปหกเดือน แม้ว่าจะพบการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการขับสารโปตัสเซียมและกรดยูริคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม ไม่พบผู้ป่วยที่ต้องหยุดยา TDF ระหว่างการศึกษา สรุปผลการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาชนิดเฝ้าติดตามไปข้างหน้าโดยมีการประเมินหน้าที่การทำงานของไตอย่างละเอียดทุกด้านการศึกษาแรกโดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้ยา TDF ที่ก่อนรักษาและหกเดือน ไม่พบความแตกต่างของอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนของไตจากการใช้ยาทั้งในแง่ของการเกิดภาวะไตวายหรือความผิดปกติของท่อไตส่วนต่างๆ และยังคงต้องการการศึกษาที่เฝ้าติดตามผู้ป่วยในระยะยาว มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีกลุ่มควบคุมต่อไปในอนาคต
Other Abstract: No prospective study evaluating all renal functions in patients receiving tenofvir disoproxil fumarate (TDF) has been done. Our study aimed to compare the incidence of all renal dysfunctions in patients receiving TDF for six months at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods: A prospective study evaluating renal functions including creatinine clearance (CrCl) and all tubular functions was conducted in HIV-infected patients receiving TDF-containing HAART regimen from July 2008 to February 2009. Results: Of 39 patients, there was 23:16 in the male to female ratio with median age of 42 and 37 years old. Coadministration with non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor or protease inhibitor was noted in 36 (92.30%) and 3 (7.70%), respectively. Median baseline CD4 cell count in the participants was 359 cells/mm3 and there were more HAART experienced in the study populations. There were no differences in the change of the CrCl collected from 24-hours urine samples between the 2 groups over the follow up period of 6 months (p = 0.821). There were also no differences in the change of CrCl calculated with Cockroft-Gault formula or MDRD equation (p = 0.497 and 0.262, respectively). Neither proximal tubulopathy nor distal tubulopathy were observed during the follow up. No patient discontinued TDF during the study period. Conclusion: This is the first prospective study comparing all renal function in HIV-infected patients receiving TDF. No differences in the incidence of renal failure and renal tubular dysfunction between the baseline and six months of follow up period. Further study with more sample size, with control group and long term follow up is needed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20453
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.501
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.501
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
khobchok_wo..pdf7.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.