Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20502
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์-
dc.contributor.authorปานใจ กันยะมี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-06T12:18:00Z-
dc.date.available2012-07-06T12:18:00Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20502-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนเขตเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน จำนวน 40 คน รับการรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลน่าน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน จับคู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในด้านเพศ อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดสอบความเชื่อมั่นของแบบวัดพฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองด้วย Cronbach alpha coefficient ได้ค่า r = 0.84 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพยาบาลควรนำไปใช้ในการป้องกันภาวะเสี่ยงของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental study aimed to explore the effect of the education and social support program on risk behaviors to stroke among older people with hypertension. The forty samples were 60 year old people and above with hypertension living in Muang Municipal, Nan Province, receiving treatment at hypertension clinic, Nan Hospital. The matched pair of gender, age, and duration of illness were conducted. The 20 people were classified to experiment group and the rest to control group. The control group received routine nursing care while the experiment participated the education and social support program. Content validity of the instruments were approved by five experts. The reliability of the risk behaviors to stroke questionnaire was tested with Cronbach alpha coefficient r = 0.84 the data were collected via the personal questionnaire and the risk behaviors to stroke questionnaire. Data were analyzed using mean, percentage, standard deviation, and t-test. The results revealed that the average of risk behaviors to stroke of the experimental group after receiving the education and social support program was significant lower than before receiving the program (p<.01). The average of risk behaviors to stroke of the experimental group after receiving the education and social support program was significant lower the control group (p<.01). The study findings indicate the effect of education and social support program decreased risk behaviors to stroke. Nurses should use this program to prevent the risk to stroke for older people with hypertension.en
dc.format.extent11243526 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหลอดเลือดสมอง -- โรค-
dc.subjectความดันเลือดสูงในผู้สูงอายุ-
dc.subjectผู้สูงอายุ-
dc.subjectการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพ-
dc.titleผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen
dc.title.alternativeThe Effect of education and social support program on risk behaviors to stroke among older people with hypertensionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTassana.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panjai_ka.pdf10.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.