Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20512
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรลักขณ์ เอื้อกิจ-
dc.contributor.authorสุพัตรา นุตรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-06T12:52:17Z-
dc.date.available2012-07-06T12:52:17Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20512-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย กึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยขั้นตอนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียนในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) ของ Driver and Bell (1986) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานจากทฤษฎีการพัฒนาสติปัญญาของ Piaget (1969) และทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของ Vygotsky (1978) กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยก่อนเรียนที่มีอายุ 3-4 ปี ในสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย ทร. 1 (โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พร.) ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ด้วยขั้นตอนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 20 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่ประกอบด้วย 9 กิจกรรม ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5คน ก่อนนำไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-5 ปี ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (2546) ได้ค่าความเที่ยง .93 เก็บข้อมูลก่อนทดลอง หลังการทดลองทันที และระยะติดตามประเมินผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Repeated measure Analysis of Variance และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ทันทีเมื่อสิ้นสุดการทดลอง และระยะติดตามประเมินผล 1 เดือน สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi–experimental research was to examine the effects of nursing practice involving learning activities to develop emotional quotient based on the constructivist ’s concept process of preschool children in day care. The constructivist’ s concept (Driver and Bell, 1986) based on Piaget’s theory of cognitive development (Piajet, 1969) and Vygotsky ’s social development theory (Vygotsky, 1978) were used as the conceptual frameworks to develop the program. The study sample consisted of 15 preschool children three to four years old in Somdejprapinklao Hospital day care. The sample received 20 sessions of the implementation of the learning activities to develop emotional quotient based on the constructivist’s concept (50 minutes per session). The learning activities were tested to ensure content validity by a panel of five experts before their implementation. Emotional Intelligence Assessment (Mental Health Division, 2003) was used to collect data at three time points: pre-test, post-test, and at one-month follow up. The reliability of the questionnaires was confirmed with Cronbach’s alpha coefficients at .93. Data were analyzed using Repeated Measure Analysis of Variance and Scheffe’s statistic. The findings of the study revealed that the study sample’s mean post- test scores of emotional quotient obtained immediately after the experiment and at one-month follow up were statistically significantly higher than the mean pre-test score (p <.05).en
dc.format.extent3432541 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1400-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถานเลี้ยงเด็กen
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียนen
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์en
dc.subjectทฤษฎีสรรคนิยมen
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของเด็กวัยก่อนเรียนในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันen
dc.title.alternativeThe effects of learning activites to develop emotional quotient based on constructivist's concept process of preschool children in day careen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลเด็กes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNoraluk.U@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1400-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supattra_nu.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.