Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20753
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งโรจน์ พิทยศิริ-
dc.contributor.advisorธนินทร์ อัศววิเชียรจินดา-
dc.contributor.authorสุธิดา บุญยะไวโรจน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-11T14:42:26Z-
dc.date.available2012-07-11T14:42:26Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20753-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractบทนำ โรคฮันติงตันเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มอาการโคเรียที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ประกอบด้วยสามอาการหลัก ได้แก่ การเคลื่อนไหวผิดปกติโดยเฉพาะอาการโคเรีย ความบกพร่องทางพุทธิปัญญาและอาการทางจิตเวช โรคฮันติงตันเกิดจากการเรียงซ้ำกันของไซโตซีน อาดีนีน กัวนีน (ซีเอจี) ยาวผิดปกติ ลักษณะทางประสาทพยาธิวิทยาแสดงการฝ่อลงของสมองส่วนสไตรเอตัมและฟรอนทัลเป็นลำดับ วัตถุประสงค์ เพื่อวัดค่าความจำเพาะของการทดสอบแอบพลอสซายน์ สำหรับการวินิจฉัยโรคฮันติงตันในผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบโคเรีย วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบโคเรียที่เข้ารับการศึกษาถูกรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ตำแหน่งและความรุนแรงของอาการโคเรีย รวมทั้งการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบอื่นด้วย ผลการตรวจทางระบบประสาท และการทดสอบทางประสาทจิตวิทยาที่แสดงหน้าที่ของสมองกลีบฟรอนทัล ผู้ป่วยทุกรายได้รับการทดสอบแอบพลอสซายน์โดยการตบมือสามครั้งด้วยความเร็วที่สุดที่สามารถทำได้ หลังจากนั้นเก็บเลือดผู้ป่วยเพื่อวิเคราะห์ความยาวของการซ้ำกันของซีเอจีสำหรับโรคฮันติงตัน หลังจากได้รับความยินยอมแล้ว ผลการวิจัย จากผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบโคเรีย 33 ราย เป็นผู้ป่วยโรคฮันติงตันที่ยืนยันด้วยพันธุศาสตร์ 11 ราย และกลุ่มผู้ป่วยโรคอื่นที่ไม่เป็นโรคฮันติงตัน 22 ราย ค่าความจำเพาะและค่าความไวของการทดสอบแอบพลอสซายน์เท่ากับ 81.8% และ 9.1% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาเปรียบเทียบไม่ประสบความสำเร็จในการแยกแยะของสองกลุ่มออกจากกัน (P = 0.49) ซึ่งคล้ายคลึงกับการตอบสนองของรีเฟล็กซ์ที่เข่า (P = 0.20) การกลอกตาไปด้านตรงข้าม (P = 0.61) และการทดสอบทางประสาทจิตวิทยาที่แสดงหน้าที่ของสมองกลีบฟรอนทัล (P = 0.65) สรุป การทดสอบแอบพลอสซายน์มีค่าความจำเพาะสูง และค่าความไวต่ำสำหรับการวินิจฉัยโรคฮันติงตันในผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบโคเรีย อาจจะมีสาเหตุมาจากจำนวนตัวอย่างที่น้อยเกินไป เช่นเดียวกับการตอบสนองของรีเฟล็กซ์ที่เข่า การกลอกตาไปด้านตรงข้าม และการทดสอบทางประสาทจิตวิทยาที่แสดงหน้าที่ของสมองกลีบฟรอนทัล ที่ไม่เป็นเครื่องมือที่ดีพอในการแยกโรคฮันติงตันจากโรคอื่นที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติแบบโคเรียen
dc.description.abstractalternativeIntroduction: Huntington’s disease is the most common cause of hereditary chorea characterized by triad of movement disorders, mainly chorea, cognitive impairment, and psychiatric features. It is caused by an abnormal Cytosine-Adenine-Guanine (CAG) repeat expansion. The neuropathological features show progressive atrophy of the striatum and the frontal cortex. Objectives: To determine the specificity of the applause sign for diagnosing Huntington’s disease in choreiform patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods: Consecutive patients with the choreiform movements were studied. Demographic data, location and severity of chorea, additional abnormal movements, neurological signs, as well as the frontal assessment battery were collected. All patients were tested with applause sign by clapping three times as quickly as possible. Blood samplings were collected to analyze the CAG repeat lengths for Huntington’s disease after permission. Results: Thirty-three patients were screened. There were 11 cases in the genetically confirmed Huntington’s disease group and 22 cases in other choreiform disorders group. The specificity and sensitivity of the applause sign, which is used to distinguish Huntington’s disease from other chorea disorders, were 81.8% and 9.1%, respectively. However, results of comparison failed to discriminate between both groups (P = 0.49), similar as the knee jerk (P = 0.20), anti-saccade tasks (P = 0.61), and frontal assessment battery (P = 0.65). Conclusions: The applause sign has high specificity and low sensitivity for diagnosis Huntington’s disease in patients with choreic movements. These outcomes may result from small sample size. Moreover, the knee jerks, anti-saccade tasks, and frontal assessment battery are not tools good enough to separate Huntington’s disease with other choreiform disorders as well.en
dc.format.extent1910856 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรคฮันติงตัน-
dc.subjectโคเรีย-
dc.subjectHuntington's chorea-
dc.subjectChorea-
dc.titleความจำเพาะของการทดสอบแอบพลอสซายน์สำหรับการวินิจฉัยโรคฮันติงตันen
dc.title.alternativeThe specificity of applause sign for diagnosis of huntington's diseaseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRoongroj.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorThanin.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthida_bo.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.