Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20785
Title: ทัศนคติแบบราชการและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรฝ่ายวิชาการ ในสถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
Other Titles: Bureavcratic attitudes and job satisfaction of academic personnel in educational institutions of elementary, secondary and higher education levels
Authors: พิมใจ ตรีสัตยพันธ์
Advisors: ประกอบ คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ทัศนคติ
ระบบราชการ
ความพอใจในการทำงาน -- ไทย
การบริหารการศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาทัศนคติแบบราชการของบุคคลฝ่ายวิชาการในสถาบันการศึกษาประเภทค่างๆ 2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติแบบราชการของบุคลากรฝ่ายวิชาการ ระหว่างประเภทของสถาบันทางการศึกษาในระดับที่ต่างกัน คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา 3. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรฝ่ายวิชาการในสถาบันการศึกษาทั้ง 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา 4. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติแบบราชการ และประเภทของสถาบันกับความพึงพอใจในการทำงาน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 540 คน ซึ่งได้แก่ บุคลากรฝ่ายวิชาการในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติแบบราชการ และความพึงพอใจในการทำงาน ในการวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลใช้วิธี หาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวน 2 ทาง สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติแบบราชการของบุคลากรทั้ง 3 ระดับอยู่ในระดับปานกลางโดยระดับประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด และระดับอุดมศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตัวแปรด้าน อายุวุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ และอายุราชการที่มีผลทัศนคติแบบราชการ ส่วนความพึงพอใจในการทำงานโดยรวมในระดับอุดมศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด และระดับมัธยมศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยมีความพึงพอใจในด้าน นโยบายและการบริหารงาน เงินเดือนและสวัสดิการ สภาพการทำงาน และโอกาสก้าวหน้าในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติแบบราชการกับความพึงพอใจในการทำงานพบว่า ในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 ยกเว้นองค์ประกอบด้านการปกครองบังคับบัญชาในระดับประถมศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนในระดับอุดมศึกษาทัศนคติแบบราชการและความพึงพอใจในการทำงาน ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ และผลปฏิสัมพันธ์ของทัศนคติแบบราชการและประเภทของสถาบัน มิได้มีผลต่อคะแนนความพึงพอใจในการทำงานในองค์ประกอบทุกด้าน
Other Abstract: Purpose of the study 1.To Study the bureaucratic attitudes of academic personnel in educational institutions. 2. To compare the bureacratic attitudes of academic personnel in education institutions of elementary, secondary and higher education levels. 3. To compare job satisfaction of academic personnel in educational institutions of those three levels. 4. To study the relationship between bureaucratic attitudes and job satisfaction. Methodology The sample of the research consisted of 540 academic personnel in education institutions of elementary, secondary and higher education, levels. The instrument is the questionnaires concerning of the bureaucratic attitudes and job satisfaction. The data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, t -test, one-way analysis of variance, Pearson's Product Moment-correlation, and two-way analysis of variance. Findings It was found that bureaucratic attitude of the three levels of personnel was at moderate level and the highest average mean was Elementary level. The lowest mean was Higher Education; the variation of age, educational qualification, academic rank and the age of service effected on bureaucratic attitude. But for job satisfaction, the highest average mean was Higher Education. The lowest was Secondary Education. Job satisfactions were policy and administration, salary and welfare, working condition and oportunity of progressiveness. There were differences at the .05 level significance. From the research, it was found that thear was position relationship between bureaucratic attitude and job satisfaction. At Elementary and Secondary education there was relationship at the .01. level significance except the area of supervision composition of government in Elementary level, there were no significant differences. There were no significant differences in bureaucratic attitude and job satisfaction in Higher Education level neither interaction between of bureaucratic attitude and level of institutes. Upon job satisfaction there were no effects on any grade of job satisfaction in all working factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20785
ISBN: 9745678473
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimjai_Tr_front.pdf374.97 kBAdobe PDFView/Open
Pimjai_Tr_ch1.pdf293.28 kBAdobe PDFView/Open
Pimjai_Tr_ch2.pdf682.78 kBAdobe PDFView/Open
Pimjai_Tr_ch3.pdf266.23 kBAdobe PDFView/Open
Pimjai_Tr_ch4.pdf527.18 kBAdobe PDFView/Open
Pimjai_Tr_ch5.pdf451.55 kBAdobe PDFView/Open
Pimjai_Tr_back.pdf471.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.