Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20791
Title: | ความชุกของปัญหาสุขภาพจากการทำงานในบุคลากรห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง |
Other Titles: | Prevalence of work-related health problems in biomedical laboratory workers in a medical school |
Authors: | อมตา อุตมะ |
Advisors: | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี สรันยา เฮงพระพรหม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wiroj.J@Chula.ac.th Sarunya.H@Chula.ac.th |
Subjects: | ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ -- อุบัติเหตุ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ -- แง่อนามัย ความเครียดในการทำงาน อาชีวอนามัย โรคเกิดจากอาชีพ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับของอุบัติเหตุจากการ ทำงาน ปัญหาสุขภาพทั่วไปจากการสัมผัสสารเคมี ปัญหาความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โครงร่าง และปัญหาความเครียดจากงานของบุคลากรห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยใช้การศึกษา รูปแบบเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม 2552 โดยศึกษาประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรห้องปฏิบัติการทาง การแพทย์จาก 13 หน่วยในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ จำนวน 162 คน ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของอุบัติเหตุจาการทำงาน ร้อยละ 30.0 ความชุกของอาการ ผิดปกติจากการสัมผัสสารเคมี บริเวณผิวหนังร้อยละ 46.7 บริเวณตา ร้อยละ 28.7 ระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 18.0 ระบบประสาท ร้อยละ 18.0 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่อปี และ ความถี่ในการใช้สารเคมีต่อสัปดาห์ (p<0.05) ความชุกของการเกิดความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อ และกระดูกโครงร่าง ร้อยละ 42.9 บริเวณที่มีอาการอย่างสม่ำเสมอที่เกิดจากงาน 3 อันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนบน ร้อยละ 29.2 คอ ร้อยละ 28.6 และไหล่ซ้าย ร้อยละ 23.8 ตามลำดับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ท่าทางในการทำงานที่ไม่สบาย การทำงานในท่าทางซ้ำๆ การทำงานกับ คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และความรู้สึกต่อความต้องการในงานที่สูง ความสามารถในการควบคุมงาน ที่ต่ำ (p<0.05) ความชุกความเครียดจากงาน ร้อยละ 17.9 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อายุ ระยะเวลาใน การปฏิบัติงาน และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานกับสารชีวภาพ (p<0.05) จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามีปัญหาสุขภาพจากการทำงานที่มีความชุกสูงในบุคลากร ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คือ ปัญหาสุขภาพทั่วไปจากการสัมผัสสารเคมี ปัญหาอาการผิดปกติของ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง อุบัติเหตุจากการทำงาน และความเครียดจากงาน ตามลำดับ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและความสนใจปัญหาดังกล่าวในบุคคลกลุ่มนี้ นอกจากนี้ การค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้เกิดการวางแผนป้องกันการเกิดความผิดปกติดังกล่าวต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this cross-sectional descriptive study was to determine the prevalence and factors that related to work accident, general health problems by chemicals exposure, musculoskeletal disorder and job stress in biomedical laboratory workers in medical school. Data were collected by self-administered questionnaires during November to December 2008. The study sample included 162 workers at 13 biomedical laboratories throughout the medical school. The results showed that the prevalence of work accidents was 30.0%. The prevalence of abnormal symptoms form chemicals exposure were the effects on skin (46.7%), eye (28.7%), respiratory system (18.0%) and nervous system (18.0%) respectively. Factors that related to health problem were work duration per years and exposure frequency per week (p<0.05). The prevalence of musculoskeletal disorders was 42.7%, the three most persistent musculoskeletal disorders were upper back 29.2%, neck 28.6% and left shoulder 23.8% respectively. Factors that related to musculoskeletal disorders were work time, uncomfortable posture, and repetitive movement; prolong computer usage, attitude of high job demand and low job control (p<0.05). The prevalence of job stress was 17.9%. Factors that related to job stress were age, work duration and experience of work accidents from biological hazard (p<0.05). In conclusion, this study showed the most work-related health problem in biomedical laboratories workers were health problem due to chemicals exposure, musculoskeletal disorder, work accidents and job stress respectively. The related departments should give precedence and pay attention to group of workers with these problems. Furthermore, detailed examination of their related factors will be helpful for their prevention planning. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อาชีวเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20791 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1919 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1919 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
amata_ou.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.