Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20798
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา แก้วเทพ | - |
dc.contributor.author | ลลิตา จิตต์การุญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-13T14:25:59Z | - |
dc.date.available | 2012-07-13T14:25:59Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20798 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสื่อกิจกรรม “ค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ Art For All” ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2540 – พ.ศ.2552 และ เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารในการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการ กับคนไม่พิการผ่านสื่อกิจกรรม “ค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ Art for All เติมรักด้วยรอยยิ้ม” ปี พ.ศ.2552 ใช้วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารค่าย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2552 และใช้การสังเกต กิจกรรมการจัดค่ายทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งคนไม่พิการและ คนพิการ 4 ประเภท คือ คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางแขนขา และ คนพิการทางปัญญา ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการสร้างสื่อกิจกรรมค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ Art for All ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้ริเริ่มค่าย ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกและการบริหารจัดการทรัพยากรค่ายในฐานะที่ เป็นองค์ประกอบของการสื่อสาร (S-M-C-R-E) สามารถแบ่งได้ 3 ช่วงเวลา ดังนี้ ช่วงที่ 1 (ช่วงก่อนการริเริ่มจัดค่าย) เป็นการรวบรวบสื่อบุคคลและเครือข่าย ด้านศิลปะ ด้านคนพิการ และด้านการจัดกิจกรรมค่าย ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ด้านผู้ส่งสาร (S-Sender) เพื่อการขับเคลื่อนโครงการจัดค่ายศิลปะสำหรับเยาวชนพิการและไม่พิการครั้งแรกใน ประเทศไทย ช่วงที่ 2 (ช่วงการจัดค่าย ครั้งที่ 1-3) เป็นการพัฒนาต้นแบบสื่อกิจกรรมค่าย ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้าน ช่องทางการสื่อสาร (C-Chanel) และเนื้อหาสาร (M-Message) รวมถึงการคัดเลือกและจัดกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมค่าย ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านผู้รับสาร (R-Receiver) อย่างเป็นระบบ ช่วงที่ 3 (ช่วงการจัดค่ายครั้งที่ 4-11) เป็นช่วงที่การ ประเมินผลการจัดกิจกรรมภายในค่ายโดยคณะทำงานค่ายเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านผลของ กระบวนสื่อสาร(E-Effect) และมีการประกันคุณภาพค่าย ซึ่งเปรียบเสมือนปฏิกิริยาตอบกลับของกระบวนการสื่อสาร (Feedback) ทำให้เกิดการพัฒนาการจัดกิจกรรมค่ายอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างคนพิการและไม่พิการ ผ่านสื่อกิจกรรมค่ายศิลปะเพื่อ มวลมนุษย์ Art for All พบได้โดยสรุปใน 4 มิติ กล่าวคือ คนพิการเข้าใจตนเอง คนพิการเข้าใจคนไม่พิการ คนไม่ พิการเข้าใจตนเอง และ คนไม่พิการเข้าใจคนพิการ ซึ่งเกิดจากการวางแผนและการดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มข้นของ คณะทำงานค่าย โดยใช้การสื่อสารในแบบจำลองเชิงพิธีกรรมเป็นหลัก ตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมค่าย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กิจกรรมก่อนจัดค่าย คณะทำงานให้ความสำคัญกับการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่ม คณะทำงานและอาสาสมัครในฐานะผู้ส่งสารในการจัดกิจกรรมค่าย ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมระหว่างจัดค่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มกิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรรมพื้นฐาน เช่น กิจกรรมฐานเรียนรู้ศิลปะ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เป็นกระบวนการ สื่อสารที่ใช้สื่อมากกว่าหนึ่งประเภท เพื่อเติมเต็มอวัยวะรับสารที่ขาดหายไปของคนพิการ เช่น การใช้สื่อภาพและ เสียง ประกอบกับล่ามภาษามือ เป็นต้น และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมที่ออกแบบเพื่อส่งเสริม ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนพิการและคนไม่พิการ ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมหลังจัดค่าย มีการประเมินผลโดย คณะทำงานค่ายและการประกันคุณภาพการจัดค่าย สำหรับผลสืบเนื่องจากค่าย มีการสืบทอดเครือข่ายคณะทำงาน และเครือข่ายผู้ร่วมค่าย เหนือสิ่งอื่นใด ความสำเร็จของการจัดค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์เกิดจาก “หัวใจที่ไม่พิการ” ซึ่งแสดงออกผ่านความเข้าใจและความเอื้ออาทร | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study the creation process of Art for All camp as an activity media from 1997 – 2009 and to study the communication process for shared understanding among people with and without disabilities in “Art for All Camp” 11th in 2009. The study employed the qualitative research methods.The data collection methods were documentary analysis, non-participant observation, participant observation as well as in-depth interview with key informants who were people with and without disabilities. The study found that, to initiate “Art for All camp” as an activity media, Prof.Dr.Channarong Pornrungroj as an initiator gave the necessity of “resourcing and managing the elements of communication or S-M-C-R-E”. The findings divided into three periods. The first period (before starting the 1stcamp), camp initiator chose personal media and their social networks in the field of art, people with disabilities and camp activities as the sender element (S), to create the first art camp for people with and without disabilities in Thailand. The second period (the 1st-3rd camp), camp staffs developed a model of accessible camp activity as the message element (M) and the channel element (C) for participants with and without disabilities. Moreover, camp staffs gave the importance to a systematic process of selecting and organizing camp participants as the receiver element (R). The third period (the 4th-11th camp), Art for All camp were evaluated by camp staffs more systematically as the communication effect element (E) including a camp quality assurance as communication feedback leading to the continuous improvement of Art for All camp. The results of communication for shared understanding among people with and without disabilities in “Art for All camp” revealed in four dimensions which were people with disabilities understood themselves, people with disabilities understood others, people without disabilities understood themselves, people without disabilities understood others, through the intensively planned camp activities by mainly using Ritualistic Model of Communication as the following three steps. The 1ststep, pre-camp production process, camp staffs emphasized on communication for shared understanding among camp staffs and volunteers as the senders in communication. The 2ndstep, camp production process divided into two main groups of activities: basic activities and daily life activities. In basic activities such as art activities, group activities etc.,camp staffs used at least two media together to recover the function of communication organs of participants with disabilities for example using an audio-visual media with a sign language interpreter. Daily life activities were planned to encourage social-interactions among people with and without disabilities. The 3rdstep, post-camp production process, camp staffs employed both the internal camp evaluations and the quality assurance. The outcomes created the networks of camp staffs and the networks of camp participants. On top of these the success of Art for All camp depended on “the heart without disabilities” through understanding and care. | en |
dc.format.extent | 11906369 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.397 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสาร -- แง่สังคม | - |
dc.subject | คนพิการ -- การสื่อสาร | - |
dc.title | การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการและคนไม่พิการผ่านสื่อกิจกรรม "ค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ ART FOR ALL" | en |
dc.title.alternative | Communication for shared understanding among people with and without disabilities in "ART FOR ALL CAMP" | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kanjana.Ka@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.397 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
lalita_ji.pdf | 11.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.