Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20837
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ของไซโตไคน์และความรุนแรงของโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม
Other Titles: Relationship of cytokine with severity in degenerative lumbar disease
Authors: จริยา พูลภักดี
Advisors: สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก
ชูเกียรติ เฉลิมพันธ์พิพัฒน์
สัญชัย พยุงภร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sittisak.H@Chula.ac.th
Chookiet.C@Chula.ac.th
Sunchai.P@Chula.ac.th
Subjects: กระดูกสันหลังส่วนเอว
กระดูกสันหลังส่วนเอว -- โรค
ไซโตไคน
ไฟโบรบลาสต์โกรทแฟกเตอร์
Lumbar vertebrae
Lumbar vertebrae -- Diseases
Cytokines
Fibroblast growth factors
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมอย่างเรื้อรังของกระดูกสันหลังส่วนเอว สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการหนาตัวของ ligamentum flavum ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นเซลล์ไฟโบรบลาส (fibroblastic cells) ที่สามารถแบ่งตัวได้โดยการควบคุมของยีน basic fibroblast growth factor (bFGF) ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และเปรียบเทียบความแตกต่างของการแสดงออกของยีนและโปรตีน bFGF ในชิ้นเนื้อ ligamentum flavum ที่มีการหนาตัวในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมในระดับกระดูกสันหลังที่เกิดพยาธิสภาพ และ ligamentum flavum ที่ปกติในระดับกระดูกสันหลังที่ไม่เกิดพยาธิสภาพ จำนวน 19 ราย โดยวิเคราะห์การแสดงออกของยีน bFGF ด้วยวิธี real time reverse transcriptase-polymerase chain reaction (real time RT-PCR) และวิเคราะห์ปริมาณโปรตีน bFGF ด้วยวิธี enzyme linked immunosorbent assay (ELISA) และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับอายุ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบความแตกต่างของการแสดงออกของยีนระหว่างเพศชายและหญิง จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชิ้นเนื้อที่เกิดพยาธิสภาพมีการแสดงออกของยีน และมีปริมาณโปรตีน bFGF มากกว่าชิ้นเนื้อกลุ่มที่ไม่เกิดพยาธิสภาพอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (P<0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างของการแสดงออกของยีน bFGF ระหว่างเพศชายและหญิง (P>0.05) นอกจากนี้พบว่าการแสดงออกของยีนและโปรตีน bFGF ในกลุ่มชิ้นเนื้อที่เกิดพยาธิสภาพมีความสัมพันธ์กับอายุผู้ป่วยอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (r = 0.46 และ 0.63 ตามล าดับ, P<0.05) ในขณะที่ในกลุ่มชิ้นเนื้อที่ไม่เกิดพยาธิสภาพ พบว่าการแสดงออกของยีนมีความสัมพันธ์กับอายุเล็กน้อย แต่ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ (r= 0.35, P>0.05) ในขณะที่การแสดงออกของโปรตีนไม่มีความสัมพันธ์กับอายุและไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ (r = 0.07, P>0.05) จากผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ายีน bFGF อาจจะมีความสัมพันธ์กับกระบวนการเสื่อมของ ligamentum flavum ในโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม
Other Abstract: Degenerative lumbar disease is a chronic degenerative lumbar disorder resulting from thickening and hypertrophic ligamentum flavum. Fibroblastic cells which present in the ligamentum flavum are stimulated by basic fibroblast growth factor gene (bFGF) expression The objective of this research was to study relationship of bFGF gene and protein expression in ligamentum flavum tissues from pathogenic and non-pathogenic lesions of patients with degenerative lumbar disease. A total of nineteen patients with degenerative lumbar disease were enrolled in this study. The bFGF gene expression were analysed quantitatively using real time reverse transcriptase-polymerase chain reaction (real time RT-PCR).The expression of bFGF protein were determined using enzyme linked immunosorbent assay (ELISA). Furthermore, the expression of bFGF was compared in gender and was analysed in association with aging. The results showed that bFGF gene and protein expression of pathogenic tissues were significantly higher than those of non-pathogenic tissues (P<0.01).The bFGF gene and protein expression of pathogenic tissues showed no significant difference between male and female (P>0.05). For pathogenic tissue group, the bFGF gene and protein expression showed a relatively strong correlation with age (r=0.46 and r=0.63 respectively, P<0.05) while non pathogenic tissue group showed a weak correlation for gene expression (r=0.35, P>0.05) and no correlation for protein expression with age (r=0.07, P>0.05). Our study displayed that increased bFGF expression might be associated with the chronic degenerative process of ligamentum flavum in lumbar diseases.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20837
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jariya_po.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.