Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20843
Title: | การสื่อสารและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในเว็บไซต์พระพุทธศาสนา |
Other Titles: | Communications and information technology uses in Buddhism websites |
Authors: | ภาวิณี วัชรประเสริฐชัย |
Advisors: | ดวงกมล ชาติประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.C@chula.ac.th |
Subjects: | เว็บไซต์ พุทธศาสนา พุทธศาสนากับเทคโนโลยี |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง การสื่อสารและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในเว็บไซต์พระพุทธศาสนา เป็น การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่ใช้นำเสนอเนื้อหาในเว็บไซต์พระพุทธศาสนา เนื้อหาที่นำเสนอในเว็บไซต์ พระพุทธศาสนาและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในเว็บไซต์พระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัว บทเว็บไซต์ (Textual Analysis) แบบสอบถาม (Survey) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ตัวบทในเว็บไซต์ พบว่า เว็บไซต์พระพุทธศาสนาที่ได้รับความนิยม 4 อันดับแรก จากการจัดอันดับในเว็บไซต์ Truehits.net ในช่วงระยะเวลา 18 เดือน (มกราคม 2552 ถึง มิถุนายน 2553) ได้แก่ เว็บไซต์พลังจิต (www.palungjit.com) เว็บไซต์ธรรมจักร (www.dhammajak.net) เว็บไซต์ดีเอ็มซี (www.dmc.tv) และ เว็บไซต์ฟังธรรม (www.fungdham.com) มีรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาในเว็บไซต์แบบมัลติมีเดียอย่างครบถ้วน รูปแบบ การนำเสนอประเภทรายการหลากหลาย และมีรูปแบบการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร แบบไม่พร้อมกัน(One-to-many Asynchronous Communication) ผลการวิจัยในด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี สารสนเทศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเปิดรับเนื้อหาธรรมะในชีวิตประจำวันจากสื่ออินเทอร์เน็ต โดยการอ่านบทความออนไลน์มากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นการฟังไฟล์เสียงเทศนาและอันดับสามเป็นการดูวิดีโอ เทศนา ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าสามารถค้นหาเนื้อหาธรรมะได้จำนวนมากและสะดวกในเว็บไซต์ พระพุทธศาสนาและช่วยให้รู้สึกใกล้ชิดกับธรรมะมากขึ้นหลังจากเข้าเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังพบว่าความแตกต่างระหว่าง ช่วงอายุของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงเนื้อหาธรรมะ ในทางตรงกันข้าม ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ ในกลุ่มอายุที่ 3 (อายุ 41 ปีขึ้นไป) กลับมีปริมาณการใช้ประโยชน์และการรับรู้ประโยชน์ในเว็บไซต์มากกว่ากลุ่มคนที่ อายุน้อยกว่า (อายุไม่เกิน 30 ปี : กลุ่ม 1, อายุ 31-40 ปี : กลุ่ม 2) และมีทัศนคติในทางบวกกับการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต กับเนื้อหาธรรมะ ผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในกลุ่มอายุที่ 2 พฤติกรรมและทัศนคติในทางบวกต่อการใช้ประโยชน์ในด้าน ชุมชนออนไลน์มากกว่าช่วงอายุอื่น นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบอีกว่า เว็บไซต์พระพุทธศาสนาสามารถตอบสนองความต้องการในการใช้ ประโยชน์จากเว็บไซต์และความพึงพอใจได้ในประเด็นความต้องการสารสนเทศ ความต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ บุคคล การรวมตัวและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการทางจิตใจและความเชื่อความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้อีกด้วย ทั้งนี้อินเทอร์เน็ตยังไม่สามารถเข้าไปแทนที่ความเป็นวัด บรรยากาศของวัด และ ให้ความหนักแน่นทางจิตใจ เสริมสร้างพลังศรัทธา และความอิ่มเอบใจจากการร่วมทำศาสนพิธีกับศาสนิกชนอื่นๆในสังคม |
Other Abstract: | The research “Communications and Information Technology Uses in Buddhism Websites” aims at analyzing the media format used in illustrating Buddhism contents in Buddhism websites and the technology uses in the websites. This research applies both qualitative method and quantitative method. Qualitative methods are 1. Textual Analysis in popular Buddhism websites ranking by www.truehits.net, the subjects are 1) www.palungjit.com 2) www.dhammajak.net 3) www.dmc.tv and 4) www.fungdham.com, and 2. In-Depth Interview, 9 subjects. Quantitative method is Survey, 223 set of data are collected from online survey, posted in Buddhism webboards. The result in Textual Analysis part shows that the websites subjects use all types of multimedia format, various types of programmes and the interactive media use is mostly the asynchronous one-to-many type. The result in In-Depth Interview and Survey parts show the media format often uses by respondents are online articles, online audio files and online VDO clip, respectively. Respondents agree that they can find the large amount of Buddhism contents in the internet in a convenient manner and they feel more intimate to Buddhism after they visit the websites. Besides, the different age gap is not the barrier in using the internet. On the other hand, the subject, categorized by age, in group 3 (over 41 years old) has a higher volume of internet use with Buddhism contents comparing to those in group 1 and 2 (group 1: up to 30 years old, group 2: 30-41 years old), including the positive attitude towards the use of internet with Buddhism contents. Subject in group 2 has more positive attitude and participation in Buddhism online community, comparing to other groups. Moreover, the results indicates that Buddhism websites are capable of fulfilling the needs of uses and personal gratifications in following topics; cognitive needs, personal integrative needs, social integrative needs and tension release needs. Importantly, internet can provide the spiritual needs in Buddhism. Nevertheless, internet cannot replace the temples in the aspect of the atmosphere, the physical reality of the holiness and spiritual sacredness, the affirmative feeling and joyful moment gained when practice religious deeds and participate in ritual ceremony together with other Buddhists. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20843 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pawinee_wa.pdf | 9.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.