Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20862
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชยันติ ไกรกาญจน์ | - |
dc.contributor.advisor | จุฬา สุขมานพ | - |
dc.contributor.author | วรพัชรา กอบพิพัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-14T13:29:19Z | - |
dc.date.available | 2012-07-14T13:29:19Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20862 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | เนื่องจากได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการรับขนคนโดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่าง ประเทศพ.ศ. .... ขึ้น เพื่ออนุวัติการรายละเอียดตามภาคผนวก 5: การข้ามแดนของบุคคลของความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีที่มาจากอนุสัญญาว่าด้วยสัญญารับขน คนโดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1973 (Convention on the Contract for the International Carriage of Passengers and Luggage by Road A.D.1973) และได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีบทบัญญัติบางเรื่องที่ไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ สมควรต้องศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ในเรื่อง “สัมภาระติดตัว” และ “สัมภาระลงทะเบียน” ควรจะต้องมีคำนิยามที่ชัดเจนเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรและควรกำหนดให้สัมภาระติดตัวหมายความรวมถึงของใช้ส่วนตัวด้วยเพื่อให้เกิดความชัดเจน และในเรื่อง “การบาดเจ็บทางจิตใจ” ก็ควรนิยามศัพท์ ดังเช่นในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ดุลพินิจของศาล นอกจากนี้ในเรื่อง “ค่าใช้จ่ายทางด้านกฎหมาย” ควรกำหนด นิยามศัพท์โดยให้หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ อันเนื่องมาจากการแสดงสิทธิหรือการเรียกให้ชำระ หรือชดใช้ค่าเสียหายเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย สำหรับความรับผิดของผู้ขนส่งในสัมภาระลงทะเบียนที่ไม่มีบุคคลใดมารับ ควรกำหนดสิ้นสุดลงนับแต่ผู้ขนส่งได้จัดการอย่างหนึ่ง อย่างใดตามควรแก่พฤติการณ์โดยนำไปฝากไว้ ณ สถานที่ปลอดภัยและเหมาะสม เช่น สำนักงานวางทรัพย์ และในเรื่องอายุความฟ้องคดีควรนำหลักเกณฑ์เรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่ในระหว่างที่มีการเจรจาเรื่องค่าเสียหายมาใช้เพื่อไม่ให้ผู้ขนส่งที่ไม่สุจริตใช้เรื่องอายุความเป็นเทคนิควิธีการต่อสู้คดีทางกฎหมาย เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติการรับขนคนโดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. .... เกิดความชัดเจนและบังคับใช้ได้ตามเจตนารมณ์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขข้างต้นเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติฯ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยที่ไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแต่อย่างใด | en |
dc.description.abstractalternative | Draft International Carriage of Passengers and Luggage by Road Act B.E. …. has been prepared for the implementation of Annex 5 of the Greater Mekong Subregion Cross-border Transport Agreement (GMS Agreement), which was adapted from the Convention on Contract for the International Carriage of Passengers and Luggage by Road 1973 (CVR). Although the principles of this draft have currently been approved by the Cabinet, after thorough study and review of some points, certain provisions of the draft remain unclear and inappropriate. The result of the study showed that there should be definitions of “hand luggage” and “registered luggage” in order to show their differences and describe what they actually mean. Moreover, “mental injury” needs to be defined as in Product Liability Act B.E. 2551 so that the judges may exercise their discretion. In addition, “legal expenses” should be elaborated to include any other costs incurred as a result of enforcing the rights or claims for compensation and comply with the intention of the law. Regarding the carrier’s liability, the draft should include a provision stating that the carrier’s liability for the registered luggage will terminate when the carrier has taken a proper action as to deposit the luggage at a safe and suitable places, such as Deposit of Property Office. For the period of prescription which is rather instantaneous, the rule of interrupted prescription should be introduced and applied when the compensation negotiation has been made for preventing some dishonest carriers, who are willing to raise the period of prescription as litigation tactic. In summary, in order to make the draft International Carriage of Passengers and Luggage by Road Act B.E. …. clear and suitable to enforce in accordance with the intention of the drafter, the writer suggested that some provisions should be added and/or amended in order to promote the completeness of the draft as well as the consistency with the GMS Agreement. | en |
dc.format.extent | 4242663 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.491 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การขนส่งทางบก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
dc.subject | การขนส่งสินค้า | - |
dc.subject | ความรับผิด (กฎหมาย) | - |
dc.subject | อนุสัญญาว่าด้วยสัญญารับขนคนโดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1973 | - |
dc.title | วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติการรับขนคนโดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ.. | en |
dc.title.alternative | Analysis of Draft International Carriage of Passengers and Luggage by Road Act B.E. …. | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chayanti.G@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.491 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
warapatchara_ko.pdf | 4.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.