Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20898
Title: การวิเคราะห์คู่มือปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย
Other Titles: An analysis of staff manuals of university librarians in Thailand
Authors: ปิยนารถ สงวนมณี
Advisors: ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chontichaa.S@Chula.ac.th
Subjects: บรรณารักษ์ -- คู่มือ -- การวิเคราะห์
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาคู่มือปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในด้านรูปเล่ม การจัดทำ ตลอดจนรายละเอียดของเนื้อหา เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคู่มือปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดต่างๆ ในการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน หรือเพื่อปรับปรุงคู่มือปฏิบัติงานที่มีอยู่แล้วให้สมบูรณ์ขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการส่งแบบสอบถาม จำนวน 144 ชุด ไปยังหัวหน้าบรรณารักษ์ 12 คน หัวหน้าแผนก 46 คน และบรรณารักษ์ 86 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 135 ชุด และการวิเคราะห์คู่มือปฏิบัติงาน จำนวน 28 ชุด ที่รวบรวมมาจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 8 แห่ง แยกวิเคราะห์โดยแบ่งคู่มือปฏิบัติงานออกเป็น 2 ประเภทคือ คู่มือปฏิบัติงานทั่วไป 1 ชุด และคู่มือปฏิบัติงานเฉพาะแผนก 27 ชุด แล้ววิเคราะห์ตามตามตารางวิเคราะห์เนื้อหา จำนวน 7 ตาราง ที่ได้สร้างขึ้นและมีความตรงซึ่งได้ตัดสินโดยผู้ทรงคุณวุฒิผลการวิจัยพบว่า 1. หัวหน้าบรรณารักษ์ส่วนมากเห็นว่า คู่มือปฏิบัติงานมีประโยชน์ทางด้านการบริหารงานห้องสมุดในด้านช่วยก่อให้เกิดมาตรฐานการทำงาน และส่วนใหญ่ใช้คู่มือปฏิบัติงานตามจุดหมายนี้ หัวหน้าบรรณารักษ์และหัวหน้าแผนกส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า คู่มือปฏิบัติงานมีประโยชน์ในการปฏิบัติงานเป็นเครื่องช่วยอธิบายและมอบหมายงานใหม่ และให้รายละเอียดการปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอนและอย่างมีระบบ และหัวหน้าแผนกที่ใช้คู่มือปฏิบัติงานมีจุดหมายในการใช้เพื่อเป็นเครื่องช่วยอธิบายและมอบหมายงานมากที่สุด ส่วนบรรณารักษ์ส่วนใหญ่เห็นว่า คู่มือเป็นเครื่องช่วยอธิบายและมอบหมายงาน และบรรณารักษ์ที่ใช้คู่มือปฏิบัติงาน มีจุดมุ่งหมายในการใช้เพื่อทราบรายละเอียดการปฏิบัติงานมากที่สุด หัวหน้าบรรณารักษ์ หัวหน้าแผนก และบรรณารักษ์ส่วนมากใช้คู่มือปฏิบัติงานไม่แน่นอน ส่วนผู้ที่ไม่ใช้คู่มือปฏิบัติงาน (ร้อยละ 12.37) โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า คู่มือปฏิบัติงานมีรายละเอียดไม่สมบูรณ์ คู่มือปฏิบัติงานส่วนใหญ่ (22 ชุด) ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้เนื้อหาทันสมัยอยู่เสมอ การจัดคู่มือปฏิบัติงานส่วนมาก (17 ชุด) ของห้องสมุดได้เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเขียนการปฏิบัติงาน และลักษณะรูปเล่มของคู่มือปฏิบัติงานส่วนมากเป็นแบบโรเนียวไม่เย็บเล่มตายตัว 2. ด้านเนื้อหาคู่มือปฏิบัติงาน 28 ชุด ปรากฏว่า ก. คู่มือปฏิบัติงานทั่วไป (1 ชุด) มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ข้อความทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด การบริหารงานในด้านระเบียบการปฏิบัติงานและในด้านงบประมาณ บุคลากร และหน้าที่และขอบเขตของการดำเนินงานด้านต่างๆ ข. คู่มือปฏิบัติงานเฉพาะแผนก (27 ชุด) แยกวิเคราะห์ออกได้ตามลำดับดังนี้ :- 1. คู่มือปฏิบัติงานของงานวารสาร (8 ชุด) เนื้อหาที่มีส่วนใหญ่ได้แก่เรื่องการดำเนินงานจัดหาวารสารและหนังสือพิมพ์ในด้านการรับหีบห่อ 2. คู่มือปฏิบัติงานของงานจัดหมู่และทำบัตรรายการ (6 ชุด) ส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องนโยบายการดำเนินงานทำบัตรรายการ และให้หัวเรื่อง และการเรียงบัตรรายการ 3. คู่มือปฏิบัติงานของงานรับ-จ่าย (5 ชุด) เนื้อหาส่วนมากอธิบายถึงรายละเอียดวิธีสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุด การยืม และรายละเอียดวิธีดำเนินการคืนหนังสือ 4. คู่มือปฏิบัติงานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (4 ชุด) เนื้อหาคู่มือส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่อง วัตถุประสงค์และนโยบายของงานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ขอบเขตของงาน การบันทึก “คำถาม-คำตอบ” แบบฟอร์มและตัวอย่างการบันทึก “คำถาม-คำตอบ” การให้บริการสิ่งพิมพ์พิเศษ และการเก็บบัตรสิ่งพิมพ์พิเศษ 5. คู่มือปฏิบัติงานของงานจัดหนังสือและสิ่งพิมพ์ (3 ชุด) หัวข้อเนื้อหาที่มีส่วนใหญ่ ได้แก่เรื่อง ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเลือกหนังสือสิ่งพิมพ์ เกณฑ์การเลือกหนังสือสิ่งพิมพ์ การกำหนดตัวแทนจำหน่ายและประเภทของเงินที่ใช้ซื้อหนังสือและสิ่งพิมพ์ การกำหนดตัวแทนจำหน่ายและประเภทของเงินที่จะใช้ซื้อหนังสือและสิ่งพิมพ์ การตรวจใบกำกับหีบห่อและใบเสนอราคา การตรวจสอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ การลงทะเบียน การส่งหนังสือและสิ่งพิมพ์พร้อมกับสำเนาใบสั่งไปยังงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 6. คู่มือปฏิบัติงานของงานโสตทัศนวัสดุ (1 ชุด) มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การลงรายการโสตทัศนวัสดุประเภทต่างๆ สัญญาลักษณ์พิเศษ และตัวอย่างบัตรรายการประเภทต่างๆ เนื้อหาคู่มือปฏิบัติงานเหล่านี้ยังมีรายละเอียดไม่สมบูรณ์เพียงพอ ยังขาดรายละเอียดปลีกย่อยรวมทั้งแบบฟอร์มและตัวอย่างด้วย ข้อเสนอแนะ :- 1. บรรณารักษ์ควรปรับปรุงเนื้อหาของคู่มือปฏิบัติงานให้สมบูรณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อห้องสมุด 2. คู่มือปฏิบัติงานควรมีแบบฟอร์มและตัวอย่างประกอบคำอธิบาย เพื่อผู้ใช้คู่มือจะสามารถเข้าใจคำอธิบายได้อย่างชัดเจน 3. คู่มือปฏิบัติงานควรมีดรรชนี เพื่อสะดวกในการค้นเรื่องที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว 4. คู่มือปฏิบัติงานควรมีปัญหาการดำเนินงานและวิธีแก้ต่างๆ เพื่อสะดวกในการมอบหมายงาน 5. ด้านการจัดทำ ห้องสมุดและแผนกที่ยังไม่ได้จัดทำคู่มือปฏิบัติงานควรจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน โดยอาจเริ่มจัดทำคู่มือปฏิบัติงานทั่วไปก่อน แล้วจึงจัดทำคู่มือปฏิบัติงานเฉพาะแผนก 6. ด้านรูปเล่ม คู่มือปฏิบัติงานที่มีลักษณะรูปเล่มที่ไม่ตายตัวจะอำนวยความสะดวกในการแก้ไขเพิ่มเติม
Other Abstract: The purposes of this thesis are threefold:- To survey and study staff manuals being used in university libraries in Thailand particularly on the format, the preparation and the content details; to study the librarians' attitudes towards the staff manuals and to seek for guidelines to be applied by university librarians in their preparation or for the improvement of staff manuals. The research procedures concerned the sending of 144 question¬naires to 12 head librarians, 46 department heads and 86 librarians of which 135 completed questionnaires were returned. Twenty-eight staff manuals gathered from 8 university libraries were analyzed by dividing into two categories : general manual (1) and departmental manuals (27), and by using the content analysis tables already validated by the authorities on the matter as criteria. Research results concluded as follows:- 1) The majority of head librarians viewed that staff manuals were essential for library administration in formulating standards of library procedures and most of them had accordingly used the manuals for such purpose. As for library operation, most of the head librarians and head departments shared the same idea that not only a staff manual was a useful device for orientating and training new staff but also it was used to effectively provide information of systematic methods of operation in all library works. The head department group used staff manual the most for the assignment of responsibility to new staff. Librarians in general saw a staff manual as an explanatory device in the job assignment and they mostly used it for the purpose of finding out details of procedural work. The majority of these three groups used staff manuals on irregular basis. The non-users (12.37 percent) voiced their reasons that staff manuals contents were still lack of the full details they needed. Twenty-two staff manuals were being updated constantly. Seventeen of them were prepared through the participation of all library staffs. The general formats were loose-leafed, mimeographed sheets. 2) The main topics found in the contents of 28 staff manuals analyzed were as follows:- a. General manual (1) emphasized on the introduction to the library, general regulations, budget, personnel and functions of the departments. B. Departmental manuals (27) were classified according to the nature of works into the followings:- 1. Staff manuals of the Serial Departments (8) stressed more on acquisition procedures of journals and newspapers and also the checking practices. 2. Staff manuals of the Cataloging and Classification Departments (6) emphasized the policies in cataloging, classifying and assigning subject headings and the filing of cards in the card catalog. 3. Staff manuals of the Circulation Departments (5) focussed on the process of registration and book charging. 4. Staff manuals of the Reference Service Departments (4) included objectives and policies scope, methods of recording "question-answer" including example forms, special collection services and the storage of special collection cards. 5. Staff manuals of the Acquisition Departments (3) emphasized on the individual responsibility in selecting printed materials including selection criteria, choice of agents and types of budget, the checking of the packing slips and invoices, shipment checking, accessioning procedures and the materials channeling to other departments concerned. 6. Staff manual of the Audiovisual Department (1) contained cataloging rules, special symbols together with the samples of catalog cards. The contents of these staff manuals did not thoroughly cover all the essentials needed including forms and samples. Recommendations:- 1. Librarians should ameliorate the content of their staff manuals in order to get the complete resulte which would bring benefit to the libraries. 2. Staff manuals should include forms and procedural samples to make it easier for the users to understand. 3. Staff manuals should have an index as an aid for fast access to the topics needed. 4. Staff manuals should take into account the operational problems and their solutions to help in the job assignment. 5. Libraries and departments which have not yet prepared staff manuals should prepare them by starting from general manuals and then departmental manuals. 6. Formats of staff manuals should be easy to revise. It should be in loose-leaf forms.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20898
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanart_Sa_front.pdf576.36 kBAdobe PDFView/Open
Piyanart_Sa_ch1.pdf494.73 kBAdobe PDFView/Open
Piyanart_Sa_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Piyanart_Sa_ch3.pdf913.61 kBAdobe PDFView/Open
Piyanart_Sa_ch4.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Piyanart_Sa_ch5.pdf647.79 kBAdobe PDFView/Open
Piyanart_Sa_back.pdf628.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.