Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2092
Title: การใช้ยาในโครงการการเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติสำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดราชบุรี
Other Titles: Antiretroviral therapy in national access to antiretroviral programs for people HIV/AIDS in Ratchaburi Province
Authors: อนามิกา มากจุ้ย, 2520-
Advisors: สาริณีย์ กฤติยานันต์
รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Sarinee.K@Chula.ac.th
Rungpetch.C@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
เอชไอวี (ไวรัส)
โรคเอดส์--การรักษาด้วยยา
สารต้านไวรัส
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบการสั่งใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ (2) ประสิทธิผลของการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ และ (3) ปัญหาจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ในผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการการเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติสำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 มีผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 307 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 44.0 เพศหญิงร้อยละ 56.0 อายุเฉลี่ย 35.7+-7.1 ปี ผู้ป่วยไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอดส์มาก่อนร้อยละ 82.7 ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 15.6+-6.3 เดือน จำนวน CD4 เฉลี่ยก่อนได้รับยา 62.0+-64.9 เซลล์/ลูกบาศก์มม. มัธยฐานคือ 34 เซลล์/ลูกบาศก์มม. ผู้ป่วยทุกรายเริ่มการรักษาด้วยยาจีพีโอเวียร์ พบว่าร้อยละ 22.1 ของผู้ป่วยทั้งหมดต้องเปลี่ยนสูตรยาจากจีพีโอเวียร์ สาเหตุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79.4) คือ ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยพบภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติมากที่สุดร้อยละ 27.9 และมีการเปลี่ยนมาใช้สูตรยาที่ประกอบด้วย อีฟาวีเรน + สตาวูดีน + ลามิวูดีน มากที่สุดร้อยละ 50.6 เมื่อสิ้นสุดการวิจัยผู้ป่วยยังคงใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ร้อยละ 95.8 โดยเป็นสูตรยาจีพีโอเวียร์มากที่สุด ร้อยละ 74.9 รองลงมาได้แก่ สูตรยาอีฟาวีเรน + สตาวูดีน + ลามิวูดีน ร้อยละ 9.8 ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันปอดภัยอักเสบจาก Pneumocystis carinii ร้อยละ 97.7 ได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ Cryptococcus neoformans และวัณโรคร้อยละ 84.7 และ 22.8 ตามลำดับ หลังจากได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ 6 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น พบผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย สาเหตุจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส 2 ราย และไม่ระบุสาเหตุ 1 ราย การติดเชื้อฉวยโอกาสหลังได้รับยาพบทั้งสิ้น 97 ครั้งในผู้ป่วย 74 ราย โดยเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนแรกร้อยละ 47.4 และเกิดหลังได้รับยา 3 เดือนร้อยละ 52.6 โดยผู้ป่วย 6 รายในจำนวนนี้มีจำนวน CD4 ลดลงร่วมด้วย ค่าเฉลี่ยของจำนวน CD4 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าพื้นฐาน (62 เซลล์/ลูกบาศกมม.) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือมีค่า 106.2, 154.8, 255.1 และ 239.1 เซลล์/ลูกบาศก์มม. ที่ระยะเวลา 6, 12, 18 และ 24 เดือนตามลำดับ (p = 0.000) เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของจำนวน CD4 ที่แต่ละระยะเวลากับค่าก่อนหน้านั้น พบว่าในเดือนที่ 6, 12 และ 18 มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.000) เช่นกัน แต่ในเดือนที่ 24 พบว่าไม่มีการเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ 18 (p = 0.118) ปัญหาจากการรักษาด้วยยาพบทั้งสิ้น 528 ปัญหา ในผู้ป่วย 250 ราย (ร้อยละ 81.4) โดยพบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามากที่สุด คือ ร้อยละ 74.3 รองลงมา คือ ผู้ป่วยได้รับยาที่ยังไม่จำเป็นร้อยละ 21.5
Other Abstract: The purposes of this research were to study (1) the patterns of antiretroviral use (2) the effectiveness of antiretroviral therapy and (3) the drug-therapy problems (DTP) of antiretroviral agents in patients participating in the national access to antiretroviral programs for people HIV/AIDS in Ratchaburi province during November, 2002 to December, 2004. Three hundred and seven patients were included in the study: 44.0% males and 56.0% females with average age of 35.7 +- 7.1 years old. About 83% of the patients were antiretroviral naive before entering the program and the mean duration of the patients participation in the program was 15.6 +- 6.3 months. The mean CD4 cell counts at baseline of all patients were 62.0 +- 64.9 cells/mm[superscript 3] with the median of 34 cells/mm[superscript 3]. All patients were initiated with GPO-vir therapy and it was found that 22.1% of the patients had to change or discontinued the GPO-vir, mostly (79.4%) due to the adverse drug reactions (ADR). Lipodystrophy was the mostidentified ADR (27.9%). The regimen comprises of efavirenz, stavudine and lamivudine was the most prescribed as the alternative (50.6%). At the end of the study, 95.8% of the patients were still on antiretroviral drugs and GPO-vir was the most frequently use (74.9%) and the regimen of efavirenz, stavudine and lamivudine was the second rank (9.8%). Ninety-eight percents of patients were on Pneumocystis carinii pneumonia prophylaxis, 84.7% and 22.8% were on Cryptococcus neoformans and TB prophylaxis, respectively. After 6 months of therapy, the increase in body weight was shown in most patients. Three patients died during the follow-up: the cause of 2 deaths were from opportunistic infection and 1 death was not identified. After the initiation of treatment, 97 episodes of opportunistic infection were found in 74 patients, 47.4% occured within the first 3 months and 52.6% occured after 3 months of therapy and 6 patients in this group also had decreased CD4 cell counts. The mean of CD4 cell counts compared to the baseline (62 cells/mm[superscript 3]) was significantly increased at 6th, 12 th, 18 th and 24 th months (106.2, 154.8, 255.1 and 239.1 cells/mm[superscript 3],respectively)(P = 0.000). The CD4 cell counts at 6 th, 12 th and 18 th months were also increased significantly when compared with the preceeding values (p=0.000). However, at the 24 th month the CD4 cell counts was not increased when compared to the value at 18 th month (p=0.118). Five hundred and twenty eight DTPs were identified in 250 patients (81.4%), most were from the ADRs (74.3%) and the unnecessary drug therapy was found the second rank (21.5%).
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2092
ISBN: 9745313955
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anamika.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.