Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20932
Title: การใช้กากตะกอนที่ปนเปื้อนสังกะสีในการผลิตคอนกรีตมวลเบา
Other Titles: Utilization of zinc-contaminated sludge in production of light-weight concrete
Authors: ณภัทร โชติมงคล
Advisors: มนัสกร ราชากรกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Manaskorn.R@Chula.ac.th
Subjects: คอนกรีตน้ำหนักเบา
กากตะกอนน้ำเสีย
สังกะสี
เรยอน
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังกะสีเป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เส้นใยเรยอน ทำให้ของเสียจากอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยเรยอนโดยเฉพาะในกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย มีการความเข้มข้นของสังกะสีสูงมากกว่า 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำให้กากของเสียชนิดนี้จัดเป็นของเสียอันตราย การจัดการกากของเสียอันตรายประเภทนี้ส่วนใหญ่นิยมการปรับเสถียรและหล่อก้อนแข็งด้วยปูนซีเมนต์ ก่อนนำฝังกลบในหลุมฝังกลบของเสียอันตราย โดยวิธีการดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายสูงและพื้นที่หลุมฝังกลบมีจำกัด ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาพที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตมวลเบา ที่มีการเติมกากตะกอนของเสียอันตรายที่ปนเปื้อนสังกะสีและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของคอนกรีตมวลเบา โดยทดลองโดยหาค่า ระยะเวลาการอบไอน้ำ อัตราส่วนของน้ำต่อของแข็ง อัตราส่วนของซีเมนต์ต่อทราย อัตราส่วนอลูมิเนียมต่อของแข็ง และปริมาณกากของเสียที่สามารถเติมได้ วัดจาก กำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น อัตราการดูดกลืนน้ำ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมวัดจากความเข้มข้นของสังกะสีจากน้ำชะละลายจาก Toxicity characteristic leaching procedure และ Waste extraction test โดยผลการทดลองที่ได้ สภาพที่เหมาะในการผลิตคอนกรีตมวลเบาคือ ระยะเวลาการอบไอน้ำ 16 ชั่วโมง อัตราส่วนของน้ำต่อของแข็ง 0.24:1 อัตราส่วนของซีเมนต์ต่อทราย 60:40 อัตราส่วนอลูมิเนียมต่อของแข็ง 0.003:1 อัตราส่วนของกากตะกอนที่เติมได้คือ 0.2-0.3:1 และผลจากการชะละลายที่ได้จากทั้งสองกระบวนการไม่เกินค่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
Other Abstract: Zinc is one of the widely-used heavy metal in production of rayon fiber that makes waste from Rayon fiber industrial especially sludge from wastewater treatment system that have high concentration of Zinc more than 5,000 mg/kg which consider as hazardous waste. To manage this hazardous waste, we mostly used stabilization and solidification method by cement and the place them inside secured landfill. This method is expensive and has limited area of landfill. The purpose of this study is to find optimal condition for produce lightweight concrete with zinc contaminated sludge and its environmental impact. This experiment was carried out to find factor of condition for produce lightweight concrete such as time in autoclave water per total solid ratio cement per sand ration Aluminums per total solid ratio and amount of sludge that can be added to mixture by measuring sample for compressive strength density and water absorption ratio. To find out environmental impact of lightweight concrete we have to measure zinc concentration in leachate from Toxicity Characteristic Leaching Procedure and Waste extraction. From result of experiment we can conclude that optimal condition of produce light weight concrete is 16 hours in autoclave water per solid ration 0.24:1 cement per sand ratio 60:40 aluminum per solid ratio 0.003:1 and ratio of sludge per solid 0.2-0.3:1. And result of zinc concentration in leachate from both tests show that zinc concentrations are not exceed 250 mg/kg according to regulation of Department of Industrial Work
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20932
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.641
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.641
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
napat_ch.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.