Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20949
Title: | การช่วยเหลือทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ เกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิต |
Other Titles: | Financial assistance given by commercial bank on letters of credit |
Authors: | ปรานี ฉัตรไพบูลย์วัฒน์ |
Advisors: | ไชยวัฒน์ ไชยันต์, ม.ร.ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ธนาคารพาณิชย์ เลตเตอร์ออฟเครดิต |
Issue Date: | 2517 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บทคัดย่อ ในด้านการค้าระหว่างประเทศผู้ซื้อผู้ขายสามารถจำทำได้หลายวิธี บางอย่างก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อ บางอย่างก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ขาย จึงมีการคิดค้นวิธีที่จะเป็นประโยชน์แก่ทั้ง 2 ฝ่าย กล่าวคือ ผู้ซื้อก็แน่ใจว่าจะได้รับสินค้าภายในกำหนดเวลา และผู้ขายก็เชื่อมั่นว่าจะได้รับเงินค่าสิ้นค้านั้น วิธีการดังกล่าวคือการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอาศัยธนาคารเป็นสื่อกลางการชะระเงินและผู้ซื้อก็สามารถอาศัยเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นของความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคาร และเพื่อให้การศึกษาค้นคว้าก่อให้เกิดประโยชน์ จึงมุ่งศึกษาอย่างละเอียดเฉพาะการช่วยเหลือทางการเงินสำหรับเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการสั่งสินค้าเข้า ซึ่งผู้เขียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานประจำอยู่แล้วเป็นเวลากว่า 2 ปี เลตเตอร์ออฟเครดิตแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ ชนิดเพิกถอนไม่ได้ และชนิดเพิกถอนได้ และยังมีเลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดอื่นๆ ที่น่าสนใจได้แก่ ชนิดหมุนเวียน ชนิดโอนได้ เครดิตหนุนเครดิต ฯลฯ ทั้งนี้ได้ยึดถือตามประเพณีและวิธีและปฏิบัติสำหรับเครดิตที่มีเอกสาร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 1962) สภาหอการค้านานาชาติ หนังสือเล่มที่ 222 ซึ่งถือว่าเป็นหลักสากล ธนาคารจะต้องพิจารณาอย่างระมัดระวังก่อนอนุมัติให้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งแต่ละประเภทผู้เปิดเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมแตกต่างกัน ในทางปฏิบัติพบว่า บ่อยครั้งที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารในต่างประเทศมีการคิดค่าธรรมเนียมไม่ถูกต้อง การศึกษาให้เข้าใจงานและการรวบรวมเงื่อนไขการคิดค่าธรรมเนียมของธนาคารติดต่อต่างๆ ไว้ และมีการปรับปรุงทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง จะช่วยลดข้อผิดพลาดดังกล่าวได้มากในเรื่องการขอความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ผู้สั่งสินค้าเข้าจะต้องทำความตกลงกับธนาคารก่อน ถ้าธนาคารอนุมัติธนาคารจะกำหนดวงเงินและเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สั่งสินค้าเข้าแตกต่างกันไป แต่คิดอัตราดอกเบี้ยเข้ากันตามอัตราที่กำหนดโดยสมาคมธนาคารไทย เฉพาะที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐและเงินปอนด์สเตอริง ส่วนเงินตราต่างประเทศอื่นๆ ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะกำหนดกันเองตามความเหมาะสม โดยปกติอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะถูกกว่าอัตราเงินกู้เบิกเกินบัญชี อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เงื่อนไขบางอย่างก่อให้เกิดข้อเสียเปรียบแก่ธนาคาร คือเงื่อนไขที่กำหนด วันครบกำหนดนับจากวันทำทรัสต์รีซีท ซึ่งธนาคารควรควรจะทำการปรับปรุงเงื่อนไขดังกล่าว ธนาคารบางแห่งที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะขอกู้เงินจำนวนนั้นต่อจากธนาคารในต่างประเทศ ซึ่งอาจจะทำในรูปของการขอให้จ่ายเงินทดรองล่วงหน้า หรือในรูปของการรับรองตั๋วก็ได้ แต่กรณีหลังเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะธนาคารในต่างประเทศเองก็สามารถจะนำตั๋วดังกล่าวไปขายลดในตลาดเงินได้อีกทอดหนึ่ง โดยทั่วไปธนาคารจะได้กำไรจากส่วนแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย นอกเหนือจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนตามปกติ และถ้าพิจารณาในแง่ปฏิบัติประกอบด้วยแล้ว จำนวนส่วนที่ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าโดยธนาคารทำ Refinancing จะไม่รวมเป็นสินทรัพย์เสี่ยงอันทำให้สามารถขยายเครดิตได้เต็มที่จากการผลทราบว่า เลตเตอร์ออฟเครดิตส่วนหนึ่งของธนาคารทำ Refinancing แล้วขาดทุน ทั้งๆ ที่ธนาคารได้กำไรจากส่วนแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย สรุปสาเหตุได้คือ 1. เลตเตอร์ออฟเครดิตเปิดวงเงินแต่ละครั้งไม่คุ้มกับต้นทุนการเงินที่เสียไป 2. เลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดที่มีการส่งสินค้าเป็นส่วนๆ การส่งแต่ละครั้งเป็นมูลค่าไม่คุ้มต้นทุนทางการเงิน 3. ระยะเวลาการทำ Refinancing สั้นเกินไปบางกรณีจำนวนวันที่ใช้เป็นมาตรฐานในการคำนวนแตกต่างกัน สาเหตุดังกล่าวธนาคารจะต้องเสียค่าธรรมเนียมบางอย่างในอัตราขั้นต่ำสุดและมีต้นทุนบางอย่างซึ่งควรจะนำมาร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งถ้าคำนวณแล้วอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะสูงขึ้นกว่าเดิมและสูงกว่าที่เรียกเก็บจากลูกค้า นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในระยะเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเคลื่อนไหวรุนแรง เงินตราบางสกุลสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บได้ สำหรับเงินเหรียญสหรัฐและเงินปอนด์สเตอริงที่คิดจากลูกค้า ซึ่งถูกกำหนดโยสมาคมธนาคารไทย ก็ยังต่ำกว่าที่ธนาคารเสียไป ในการทำ Refinancing ในกรณีดังกล่าวธนาคารจะต้องขาดทุน บางครั้ง ธนาคารจำเป็นต้องชำระเงินก่อนวันครบกำหนด การกระทำดังกล่าวบางรายก็เป็นผลดี บางรายก็เป็นผลเสีย เฉพาะที่มองเห็นได้ชัดก็คือจำนวนค่าธรรมเนียมการรับรองจะไม่ได้รับคืนทั้งจำนวน การเสนอวิธีการคำนวณจุดเสมอตัวของต้นทุนทางการเงินเพื่อหาจำนวนเงินขั้นต่ำในการทำ Refinancing จากธนาคารติดต่อทั้งหลายในต่างประเทศ จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ที่จะต้องนำมาพิจารณาคือ A (Amount of Draft) –จำนวนเงินตามตั๋วแรกเงินซึ่งเท่ากับจำนวนเงิน ณ จุดเสมอตัว I (Interest) –อัตราดอกเบี้ยที่คิดจากลูกค้า T (time, Financing or Refinancing Period) –ระยะเวลาให้ขอความช่วยเหลือทางการเงิน F (Fixed Cost) –ต้นทุนคงที่ ได้แก่ค่าธรรมเนียม Reimbursement หรือค่าธรรมเนียมการรับรองขั้นต่ำสุดในกรณีที่ทำ Refinancing จากประเทศที่เครดิตเปิดไปโดยตรง SF (Semifixed Cost) –ต้นทุนกึ่งคงที่ คือค่าธรรมเนียมการรับรองในกรณีที่เป็น Reimbursement Credit D (Discount) –อัตราส่วนลดที่ธนาคารผู้ให้กู้ยืมในต่างประเทศคิดมาซึ่งทำเป็นสูตรได้คือ สูตรที่ 1 ในกรณีที่เป็นการทำ Refinancing จากประเทศที่เครดิตเปิดไปโดยตรง เขียนเป็นสมการได้คือ A X I X T = F + ( A X D X T ) สูตรที่ 2 ในกรณีที่เป็นการทำ Refinancing จากคนละประเทศที่เครดิตเปิดไปต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้นคือ Reimbursement Commission ซึ่งถือเป็นต้นทุนคงที่ส่วนค่าธรรมเนียมการรับรองถือเป็นต้นทุนกึ่งคงที่ อีกประการหนึ่ง ฐานที่ใช้คำนวณแตกต่างกันคิดจากลูกค้าใช้ 365 วันต่อ 1 ปี ในขณะที่ธนาคารในต่างประเทศจะคิดโดยใช้ฐาน 360 วันต่อ 1 ปี ซึ่งเขียนเป็นสมการได้คือA X I X T_1 = F + SF + (A X D X T_2) A X I X T_1 = F + (A X Acc.Rate X T_2) สูตรที่ 3 คล้ายกับสูตรที่ 2 แต่นำเอาวิธีการในทางปฏิบัติมาใช้มากยิ่งขึ้น กล่าวคือคำนึงถึงระยะเวลาที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตได้เปรียบในการขอ Refinancing เป็นการเปรียบเทียบจุดเสมอตัวโดยที่ T_1 จะมากกว่า T_2จากสูตรดังกล่าวสามารถนำมาทำเป็นตารางสำเร็จรูปได้ (โดยใช้สื่อตารางว่า CAP) คำนวณโดยใช้ค่าอัตราต่างๆ และระยะเวลาตั้งแต่ 30-360 วัน ซึ่งคาดว่าจะใช้ได้ในปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย ตารางดังกล่าวได้จากการคำนวณถ้าอัตราที่เกิดขึ้นจริงสามารถทราบได้แน่นอน ก็จะได้รับประโยชน์จากตารางเต็มที่ ในทางปฏิบัติธนาคารจะแจ้งกระทำ Refinancing ในขณะที่เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่ง ณ ขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะต่างจากเวลาที่การทำ Refinancing มีผล ระยะเวลาที่ต่างอาจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนซึ่งถือเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของประโยชน์ที่ได้รับจากตาราง ส่วนสาเหตุอื่นที่ตารางจุดเสมอตัว CAP ไม่สามารถจะแก้ปัญหาบางประการได้แก่ 1. เมื่ออัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากลูกค้า 2. การที่ลูกค้าชำระเงินในเวลาที่แตกต่างกันจากวันครบกำหนดที่ตกลงไว้กับธนาคารกรณีแรกถือเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ธนาคารควรจะใช้เงินบาทในการช่วยเหลือลูกค้าแทน ทางด้านลูกค้าผู้สั่งสินค้าเข้าส่วนใหญ่จะไม่ขอความช่วยเหลือในระยะที่อัตราดอกเบี้ยสูงมากเช่นกัน กรณีที่ 2 ธนาคารควรจะต้องศึกษาดูถึงวิสัยในการชำระเงินของลูกค้าประกอบการพิจารณาในการทำ Refinancing นอกเหนือจากการพิจารณาตามเงื่อนไขข้อตกลงในอนาคต จำนวน เลตเตอร์ออฟเครดิตที่เปิดจะต้องเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอนจำนวนเงินที่ธนาคารให้ความช่วยเหลือจะต้องเพิ่มตามไปด้วย และระยะเวลาก็อาจจะนานกว่า 180 วัน ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน การทำตารางสำเร็จรูปไว้แล้วปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ |
Other Abstract: | Settlements of debts on oversea trades can be achieved by various ways, some beneficial to the sellers while others beneficial to the buyers. The only way which benefits both parties is through opening letters of credit which assure them of their payment and receipt readers of goods and also enable them to arrange for financings. In order that this research will be useful to, the writer rather confines this writing to the subject of Import Letters of Credit with which the writer has been familiarized and experienced for over two years. Commercial Letters of Credit can either be revocable or irrevocable. Others can be revolving, transferable or back to back credits, etc. In either way, most of them are governed by the Uniform Customs and Practice for Documentary Credits (1962 Revision), The International Chamber of Commerce, Brochure No. 222. Prior to opening letter of credit, a bank must examine an application carefully for different rates of charges and commissions to be levied cally or abroad. In order to facilitate daily work, each bank should collect terms and conditions of each correspondent bank and adjust them whenever changes occur. A line of credit as well as conditions set upon import financing varies from client to client, but all govern the same rates of interest given by Thai Bankers Association if the drawings are in US dollars or pound sterling. For other currencies, each commercial bank is free to quote their own rates at their own discretion. Generally, the rates of interest on import financing are considerably lower than those of bank overdraft rate. This is an important factor which leads to advantages and disadvantages to a bank. In financing import transactions, some banks usually make use of foreign money markets to refinance themselves; either on an acceptance basis or on an advance account basis; but the former is more popular since the financing bank can refund their money by selling their bankers acceptances to the discount house. The financing banks made money from differential rates of interest between the rate, charged to the letter of credit issuing bank and interest paid to the discount house. Likewise, banks issuing Letter of Credit trade on the margin between interest rate charged to their customers and that paid to the financing bank. In interpretation of Bank of Thailand concerning a legal aspect of risk assets, this particular refinancing transaction on import has been excluded from risk assets and therefore leaves more room for the bank to expand their credit without having to use their own funds. Some refinancings are unprofitable though they appear to be gained from interest rates; in evaluation, the important causes are as follows: 1. The amounts of some letters of credit are not big enough to cover bank's refinancing cost. 2. The amount of each shipment under letters of credit allowing partial payments is too small to cover bank's refinancing cost. 3. The refinancing period is too short, and calculation of interest is based on different days of a year. Under the aforesaid circumstances, the issuing banks are sometimes charged with minimum commission together with fixed charges which will eventually make the effective rate higher than that of the prevailing rate of interest charged to the buyers. During the economic and Currency crises, the interest rate flutuates uncontrollably and beyond the rate that any local commercial bank can charge to their customers. (Bank of Thailand sets a present maximum lending rate at 15% for all local banks to follow.) Under this situation, if the banks still get the transaction refinanced, they will lose, but the alternative solution is to have the bills retired prior to maturity. Yet this puts the banks in disadvantageous position, for they will not regain the whole amount of acceptance commission. The following presentation is the mathematical method for calculation of a minimum amount, based on the concept of Break Even Point Analysis. This would help determine the amount to be refinanced more profitably. I (Interest) = interest rate collected from importers T (Time) = financing or refinancing period F (Fixed cost) = reimbursement commission or minimum acceptance com. in case of refinancing from the bank the credit is passed to. SF (Semifixed cost) = acceptance com. in case of reimbursement credit. D (Discount) = discount rate that refinancing bank collects from the opening bank. These factors can be formulated into 3 different types. The first formular. In case of refinancing from the negotiating bank. A x I x T = F + (A x D x T) The second formular. In case of refinancing from the third country bank. It incurs a reimbursement commission which is one of a financing cost. This cost is a fixed cost, but acceptance commission in this case is a semifixed cost. Another factor is on the year basis. (For clients use 365 days/year but for correspondent use 360 days/year) A x I x T_1 = F + SF + (A x D xT_2) or A x I x T_1 = F + (A x Acc.rate x T_2) + ( A x D xT_2) The third formular. It is more or less the same as the second but more practical approaches are considered and numbers of day in T_1 is more than that of T_2 From the above three mentioned formulars, a bank can make tables that will provide minimum amounts under a certain numbers of day and rates of interest which at least the bank will be on breakeven. The tables provided in this thesis are called "CAP TABLE", covering periods ranging from 30-360 days. If the future rate of interest is closely predictable, the bank will get the most advantageous use of them. In actual practice, refinancing takes place after a letter of credit has been opened for weeks or months. To get the most use of these tables one must have had an experience on refinancing for years. Limitations 1. The tables can not be used when overseas interest rate is higher than that can be collected from the importer. 2. The importer pays the bill differently from the opening term. In the future, the volume of letters of credit will surely be increased ; therefore, the amount to be financed by any bank will keep up to that as well as the financing period may exceed that of the present 180 days. By keeping up with future changes and adjusting the tables accordingly bank can be assured of handling letters of credit and financing transactions more efficiently and profitably. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชีต้นทุน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20949 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pranee_Ch_front.pdf | 440.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Ch_ch1.pdf | 366.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Ch_ch2.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Ch_ch3.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Ch_ch4.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Ch_ch5.pdf | 529.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Ch_ch6.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Ch_ch7.pdf | 397.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Ch_back.pdf | 984.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.