Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20969
Title: การประมาณค่าพารามิเตอร์เมื่อมีผู้ไม่ตอบสัมภาษณ์จากการสำรวจตัวอย่าง
Other Titles: Estimation of parameters from a sample survey with non-response
Authors: ปรีชา อัศวเดชานุกร
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สถิติศาสตร์
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ เมื่อมีผู้ไม่ตอบสัมภาษณ์ จากการสำรวจตัวอย่างผู้วิจัยได้ใช้วิธีการประมาณค่าเฉลี่ย ยอดรวม และสัดส่วน 3 วิธีด้วยกัน คือ ประมาณจากข้อมูลที่รวบรวมมาได้ โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลที่ขาดหายไป ประมาณโดยใช้เทคนิคของแฮนเชน และเฮอร์วิซ และประมาณโดยวิธีของโปลิซ และซิมมอนล์ โดยใช้ข้อมูลตัวอย่างจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2521 รอบที่ 1 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาวิจัย โดยใช้วิธีและข้อมูลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อาจสรุปได้ว่าการประมาณโดยใช้เทคนิคของแฮนเซน และเฮอร์วิซ น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าตัวอย่างย่อยที่เลือกมานั้น มีจำนวนมากพอสมควรและพนักงานสำรวจ สามารถสัมภาษณ์ได้ครบทุกหน่วยการประมาณโดยวิธีของโปลิซ และซิมมอนล์ จะใช้ได้ดีถ้าผู้ตอบสัมภาษณ์ บอกจำนวนวันที่สามารถให้สัมภาษณ์ได้ย้อนหลังไป 5 วัน ในช่วงเวลาที่ผู้ทำการสำรวจกำหนดไว้ตามความเป็นจริง และยังใช้ได้ผลดีถึงแม้จำนวนหน่วยตัวอย่างที่ทำการสำรวจนั้นมีจำนวนไม่มากนักส่วนวิธีประมาณค่าต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลที่ขาดหายไปจะใช้ได้ดีกรณีที่มีผู้ไม่ตอบสัมภาษณ์เป็นจำนวนไม่มากนัก ข้อมูลในเรื่องที่ต้องการประมาณมีการกระจายไม่มากและในกรณีที่ผู้วิจัยต้องการความสะดวกรวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
Other Abstract: In estimating parameters where non-response involve in a sample survey, researchers usually use one of the following three methods to estimate mean, total and proportion. The first method is to estimate from the collected data only with no account of the missing data. The second one is Hansen and Hurwitz method and the last one is Politz and Simmons method. Those are based on sample data of the first period in 1978 of Economical and Social Survey in north eastern part of Thailand, reported by the National Statistical Office. To conclude this study, with the above methods and data, estimation by Hansen and Hurwitz method is probably the best if farely large sample and every enumeration unit is interviewed. Politz and Simmons method can be used in case of respondent giving available date of interviewing on five previous days at the same period as that interview takes place. Method of estimating based on what ever the collected data is, can be use when number of non-response is small, variation in estimating data is small, and most of all it is practical, fast and save.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20969
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_As_front.pdf423.92 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_As_ch1.pdf264.86 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_As_ch2.pdf317.04 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_As_ch3.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_As_ch4.pdf261.92 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_As_back.pdf445.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.