Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20973
Title: | การวิเคราะห์เชิงสถิติเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจำนวนบุตรเกิดรอด : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่นและชัยภูมิ |
Other Titles: | A statistical analysis on factors affecting number of live born children : a case study of Maha Sarakham Khon Kaen and Chaiyaphum |
Authors: | ปรีชา ศรีสมานไมตรี |
Advisors: | สรชัย พิศาลบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การเกิด -- สถิติ ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิเคราะห์เชิงสถิติเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกรทบต่อจำนวนบุตรเกิดรอด เพื่อศึกษาอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนศึกษากลุ่มตัวแปรที่สามารถอธิบายจำนวนบุตรเกิดรอดพร้อมทั้งหาวิธีการในการสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อจำนวนบุตรเกิดรอด ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากโครงการพัฒนาชุมชนแบบผสมผสานของสมาคมพัฒนาประชากร และชุมชน พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นข้อมูลครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และชัยภูมิ จำนวน 4,468 ครัวเรือน และวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอย การวิเคราะห์เส้นทาง และการวิเคราะห์ Principal Component การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเฉพาะข้อมูลของสตรีวัยเจริญพันธ์ อายุ 15-45 ปี ที่สมรสแล้วเท่านั้น ผลจากการวิเคราะห์ Principal Component ได้กลุ่มตัวแปรที่สามรถอธิบายจำนวนบุตรเกิดรอด 4 ตัวแปรคือ ระยะเวลาสมรส อายุของภรรยา จำนวนครั้งในการตั้งครรภ์ และจำนวนบุตรที่ต้องการเพิ่ม และผลจากการวิเคราะห์ความถดถอย และการวิเคราะห์เส้นทาง ปรากฏว่าปัจจัยที่มีผลทางตรงที่ได้จากการวิเคราะห์สองวิธี ซึ่งเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือจำนวนครั้งในการตั้งครรภ์ ระยะเวลาสมรส จำนวนบุตรที่ต้องการเพิ่ม จำนวนบุตรในอุดมคติและการคุมกำเนิด สำหรับการวิเคราะห์เส้นทางนั้นสามารถบอกปัจจัยที่มีผลทางอ้อมได้ด้วยซึ่งเรียนลำดับจากมากไปน้อย คือ การศึกษาของภรรยา อายุแรกสมรส และการศึกษาสามี จากการเปรียบเทียบค่าประมาณที่ได้จากวิธีการวิเคราะห์ความถดถอย โดยใช้ค่าเฉลี่ยของผลต่างกำลังสองระหว่างค่าประมาณกับค่าจริงของจำนวนบุตรเกิดรอด ได้ว่าวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยเหมาะสมกับการพิจารณาผลกระทบทางตรงที่มีผลต่อจำนวนบุตรเกิดรอดและวิธีการวิเคราะห์เส้นทางยังมีประโยชน์ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบทางอ้อมต่อจำนวนบุตรเกิดรอด ซึ่งสามารถอธิบายลักษณะของประชากรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | A statistical analysis on factors affecting number of live born children concerns the facts both direct and indirect which affect the number of live born children. This study attempts to construct a model to explain the factors affecting the number of live born children. It is based on 1982 data from the Integration of Rural Development Programme which was collected in Mahasarakham, Khonkaen and Chaiyaphum from 4,468 households by the Population and Community Development Society. It was confined to the group of fertile married women aged 15-45 years. The data was analysed by Regression analysis, Path analysis and Principal Component analysis. The Principal Component analysis indicated that there are 4 important variables in determining the number of live born Children: 1. The period of marriage of a couple. 2. The wife's age. 3. The number of pregnancies. 4. The number of additional children a family would like to have. From the Regression analysis and Path analysis, the direct factors found to influence the number of live born children are. 1. The number of pregnancies. 2. The period of marriage of a couple. 3. The rate of increase in child births in family. 4. The notional ideal number of children for each family. 5. The use of constraception. Path analysis also indicates a number of indirect factors affecting the number of live born children. In order of importance, these are : 1. The wife's education. 2. The age at which marriage occur. 3. The hasband's education. The comparision of approximate values from Regression analysis using the average of square of the different between approximate value and real value of number of live born children can be able to explain the direct factors influencing the number of live born children with a highdegree of probability. The indirect factors influencing the number of live born children, however, can be indicated only by using Path analysis. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | สถิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถิติ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20973 |
ISBN: | 9745631701 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preecha_Sr_front.pdf | 361.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Sr_ch1.pdf | 354.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Sr_ch2.pdf | 330.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Sr_ch3.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Sr_ch4.pdf | 285.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_Sr_back.pdf | 246.89 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.