Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรอนงค์ อร่ามวิทย์-
dc.contributor.advisorทวีชัย พาทัน-
dc.contributor.authorจิตติมา โภคาประกรณ์, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-22T03:18:43Z-
dc.date.available2006-08-22T03:18:43Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745314099-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2099-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของระบบการรับยาต้านไวรัสเอดส์ต่อเนื่องโดยเภสัชกรต่อผู้ป่วยในด้านความถึงพอใจ ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังโดยไม่มีกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาได้รับการส่งต่อจากแพทย์และให้อยู่ในความดูแลของเภสัชกรเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยระบบรับยาต่อเนื่องประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องโรค การปฏิบัติตัว วิธีการใช้ยา การค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการประเมินโรคติดเชื้อฉวยโอกาส สั่งใช้ยาเดิมที่ผู้ป่วยเคยได้รับและยารักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่ได้กำหนดไว้ การติดตามผลการรักษา และการส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ในกรณีที่ไม่สามารถให้การดูแลได้ตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด ตัวแปรหลักที่ทำการศึกษา คือ คะแนนความพึงพอใจ คะแนน ความรู้ และความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ตัวแปรรองที่ทำการศึกษา คือ น้ำหนักตัว โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ระดับเซลล์ซีดีโฟร์ จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และความพึงพอใจของแพทย์ต่อระบบรับยาต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจนสิ้นสุดการศึกษามีจำนวน 55 ราย อายุเฉลี่ย 36.18+-7.55 ปี หลังจากเข้าสู่ระบบรับยาต่อเนื่องพบว่าผู้ป่วยมีคะแนนพึงพอใจ คะแนนความรู้ และร้อยละเฉลี่ยความร่วมมือในการใช้ยามากกว่าก่อนเข้าสู่ระบบรับยาต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อระบบรับยาต่อเนื่องน่าจะเป็นเพราะลดระยะเวลาในการรอ และความสะดวกรวดเร็วในการมารับยา ในด้านประสิทธิผล พบว่าผู้ป่วยที่มารับยาต่อเนื่องนี้มีผลลัพธ์ทางคลินิกไม่ต่ำกว่าก่อนที่จะเข้าระบบรับยา โดยเมื่อสิ้นสุดการศึกษาแพทย์ทุกท่านมีความพึงพอใจต่อระบบรับยาต้านไวรัสเอดส์อย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าควรจะมีระบบรับยาต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคอื่นๆ โดยเภสัชกรต่อไปในอนาคต ดังนั้นระบบรับยาต่อเนื่องโดยเภสัชกรสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งไว้รองรับบริการผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคตen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to determine the effects of antiretroviral refilling system that operated by pharmacists according to patient's satisfaction, knowledge in AIDS and adherence. The study design is a before and after experiment without a control group. Eligible patients were selected by internists and process into the refilling system which under pharmacists supervision for a period of three months. The refilling processes are consist of education in the disease, medication couselling, working up for drug related problems, prescribing a laboratory order to evaluate opportunistic infections and monitoring for clinical outcomes. Pharmacists refill the same antiretroviral medication if the patients did not experience problems that determined in the protocol and also prescribe medication for opportunistic infections. If patients have problems that pharmacists cannot manage which determined in a protocol, they will be refered to the internist. Primary outcomes were patient's satisfaction, knowledgeand adherence. Secondary outcomes were body weight, number of patients who have opportunistic infection, CD4 cell count, number of patients admitted in the hospital owing to worsening of the disease and satisfaction of internists to this system. Fifty-five patients completed the study had the mean age of 36.18+-7.55 years. After the completion of the study, score of satisfaction, knowledge and the percentage of adherence were significantly increased (p<0.05). Most patients were satisfied with the refilling system owing to a shortened waiting time and the convenience in receiving medications. The secondary outcomes showed that patients who were taken care by pharmacists did not experiences a worsening of their clinical status. After the completion of this study, all internists were satisfied with this system. It can conclude that this refilling system can be applied for serving other infectious patients including HIV infected.en
dc.format.extent2861780 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรคเอดส์en
dc.subjectการใช้ยาen
dc.subjectเภสัชกรen
dc.subjectการบริบาลทางเภสัชกรรมen
dc.titleระบบรับยาต้านไวรัสเอดส์อย่างต่อเนื่องโดยเภสัชกรในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลเสนาen
dc.title.alternativeAntiretroviral refilling system by pharmacist in HIV infected patients at Sena Hospitalen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorannablee@hotmail.com-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jittima.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.