Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21003
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ | - |
dc.contributor.author | ปัญญา ธีระวิทยเลิศ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ภาคตะวันออก | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-18T14:40:36Z | - |
dc.date.available | 2012-07-18T14:40:36Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745633585 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21003 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบลักษณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ประเภทที่ผ่านการคัดเลือกกับประเภทโควตาของภาคตะวันออก คือ ภูมิหลังทางครอบครัว อัตราการมารายงานตัว อัตราการออกกลางคันการปรับตัว การเข้าร่วมกิจกรรม ทัศนคติต่อการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างประชากรคือ นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน รุ่นปีการศึกษา 2523 – 2526 ที่เรียนหลักสูตร 4 ปี จาก 4 คณะคือ คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเป้าหมายรับ จำนวนที่มารายงานตัว จำนวนที่ออกกลางคันและผลการเรียน จากแผนทะเบียนมหาวิทยาลัย ส่วนข้อมูลที่เกี่ยวกับภูมิหลังทางครอบครัว การปรับตัว การเข้าร่วมกิจกรรม และทัศนคติต่อการเรียนการสอนนั้นได้จากการสุ่มตัวอย่าง นิสิตจำนวน 533 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และคำนวณหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ Z-test, t-test, Hotelling T2 และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. อาชีพบิดามารดาของนิสิตทั้งสองประเภทแตกต่างกัน คือ บิดาและมารดาของนิสิตประเภทที่ผ่านการสอบคัดเลือกส่วนใหญ่มีอาชีพประกอบการค้า ในขณะที่บิดาและมารดาของนิสิตประเภทโควตาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนระดับการศึกษาของบิดาและมารดาของนิสิตทั้งสองประเภทไม่แตกต่างกันคือ ส่วนมากแล้วจบระดับประถมศึกษา 2. นิสิตประเภทโควตา คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ รุ่นปีการศึกษา 2524 คณะศึกษาศาสตร์ รุ่นปีการศึกษา 2525 คณะศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ รุ่นปีการศึกษา 2526 มีอัตราการมารายงานตัวสูงกว่านิสิตประเภทที่ผ่านการสอบคัดเลือก 3. อัตราการออกกลางคันของนิสิตทั้งสองประเภทรุ่นปีการศึกษา 2523 – 2525 โดยเฉลี่ยแล้วมีจำนวนร้อยละ 15 เมื่อทดสอบความแตกต่างพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 3 รุ่นปีการศึกษา 4. นิสิตทั้งสองประเภทมีความสามารถในการปรับตัวในสังคมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 4 ชั้นปี 5. นิสิตชั้นปีที่ 1 ประเภทที่ผ่านการคัดเลือกและประเภทโควตามีทัศนคติต่อการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในชั้นปีที่ 2,3 และ 4 พบว่าทัศนคติต่อการเรียนการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. การเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิตทั้งสองประเภทไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 4 ชั้นปี 7. นิสิตประเภทโควต้า คณะวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตประเภทที่ผ่านการสอบคัดเลือก นอกจากนี้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to compare families background, registration ratio, drop out rate, social adjustment, participation in activities, attitude in learning-teaching situation, and learning acheivement of the university entrance examination students and the quota group students of Srinakharinwirot at Bangsaen. The samples were the students studying in four-year-curriculum during the year of 1980-1983 from 4 faculties; Education, Humanity, Social Science and Science. The data of acceptance, registration, drop out numbers and grade point averages were collected from registration department of the university. 533 students were corrected as the sample to study. The data were analyzed by the model of frequency distribution, percentage, mean, standard deviation,. Z-test, t-test, Hotelling 〖T 〗^2and F-test. The findings of this research are as follow: 1. The occupation of the university entrance examination students' parents and quota group students' parents were different. Most of the university entrance examination. students' parents were business but most of the quota group students' parents were farmers. Educational level of the both university entrance exami-nation students' parents and quota students' parents are not different; most of them graduated from elementary schools. 2. The registration ratio of the quota group students were higher than the university entrance exami-nation student as follow: Education faculty and Humanity faculty in the academic year of 1981, Education faculty in the academic year of 1982, Education faculty and Social Science faculty in the academic year of 1083. 3. Drop out rates of both the university entrance examination students and quota group students are not significantly different during the academic year of 1980-1982. 4. Social adjustment of both the university entrance ,examination students and quota group students are not significantly different all grades. 5. Attitude forward learning-teaching situation between quota group freshmen and the university entrance examination freshmen were significantly difference but no significantly difference was found in sophomores, juniors and seniors. 6. Participation in activities of both the university entrance examination and the quota group students were not significantly different 7. The quota group students acheived in learning more than the university entrance examination students in sophomores and juniors of Science faculty, juniors and seniors of Education faculty and seniors of Social Science faculty. The others were not significantly different. | - |
dc.format.extent | 565515 bytes | - |
dc.format.extent | 451870 bytes | - |
dc.format.extent | 648409 bytes | - |
dc.format.extent | 446980 bytes | - |
dc.format.extent | 721114 bytes | - |
dc.format.extent | 563986 bytes | - |
dc.format.extent | 768525 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- นักศึกษา | en |
dc.subject | นักศึกษา | en |
dc.title | การเปรียบเทียบลักษณะของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ประเภทที่ผ่านการสอบคัดเลือกกับประเภทโควต้าของภาคตะวันออก | en |
dc.title.alternative | A comparison of the characteristics of students selected by the university entrance examination and the quota group of Eastern Region at Srinakharinwirot University at Bangsaen | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Punya_Th_front.pdf | 552.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punya_Th_ch1.pdf | 441.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punya_Th_ch2.pdf | 633.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punya_Th_ch3.pdf | 436.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punya_Th_ch4.pdf | 704.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punya_Th_ch5.pdf | 550.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punya_Th_back.pdf | 750.51 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.