Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21006
Title: การศึกษาคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ โดยการวิเคราะห์ศักยภาพในการเจริญเติบโตของสาหร่าย
Other Titles: The study of water quality in Bang Phra Reservoir by aigal growth potential analysis
Authors: วรนุช ถีถะแก้ว
Advisors: สมใจ ไชยราช
ศิริพร นิตยางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: คุณภาพน้ำ
อ่างเก็บน้ำบางพระ
สาหร่าย
อ่างเก็บน้ำบางพระ -- คุณภาพน้ำ
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูการของคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระด้วยวิธีทางชีวภาพคือ การใช้สาหร่ายทดลอง (algal assay) โดยวิเคราะห์ศักยภาพในการเจริญเติบโตของสาหร่ายสีเขียว Selenastrum capricornutum Printz ซึ่งตอบสนองต่อปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในน้ำในเวลาต่างๆ ในช่วงเดือนเมษายน 2525 ถึงเดือนมีนาคม 2526 ควบคู่กับการวิเคราะห์ทางเคมี การวิเคราะห์ด้วยวิธีการทั้งสองให้ผลสอดคล้องกันซึ่งสรุปได้ว่า คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ในสภาพดีพอใช้ในฤดูฝนและฤดูหนาวส่วนในฤดูร้อนคุณภาพน้ำเสื่อมลงเล็กน้อย แต่ไม่ถึงระดับวิกฤตที่จะทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้น้ำเพราะน้ำมีศักยภาพในการเจริญเติบโตของสาหร่ายค่อนข้างต่ำ สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายยังมีปริมาณไม่มากนัก จึงอาจจัดเป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในระดับต่ำถึงปานกลาง ธาตุที่เป็นปัจจัยจำกัดการเจริญเติบโตของสาหร่ายในอ่างเก็บน้ำตลอดช่วงเวลาของการวิจัยนี้คือ ฟอสฟอรัส ซึ่งถ้าได้รับเพิ่มขึ้นจากแหล่งภายนอกก็จะทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนถึงระดับที่จะทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้น้ำได้ อย่างไรก็ตามสถานภาพของสารอาหารในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งแสดงด้วยผลของการวิเคราะห์ทางชีวภาพ โดยใช้สาหร่ายทดลองยืนยันว่า การวิเคราะห์ปริมาณออโธฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำด้วยวิธีทางเคมีให้ค่าที่สูงเกินกว่าที่จะแสดงภาวะการเจริญเติบโตของสาหร่ายตามธรรมชาติ
Other Abstract: Analysis of algal growth potential to evaluate the water quality in Bang Phra Reservoir was carried out during April 1982 to March 1983. The analysis was accomplished by the technique of algal assay using the tested green alga Selenastrum capricornutum Printz in conjunction with chemical analysis. Both methods provide corres¬ponding results indicating the relatively low growth potential of algae which reflects the good quality of water during winter and rainy season. In summer the water quality was somewhat deteriorated but created little or no problem on water use. The reservoir can be classified as oligotrophic to mesotrophic according to its nutrient status. Phosphorus was found to limit algal growth during the period of this investigation. However, the nutrient status of the reservoir defined by the results of algal assay indicates that the concentra¬tion of soluble orthophosphorus obtained by chemical analysis is pro¬bably too high to reflect the natural growth of algae.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21006
ISBN: 9745627534
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Voranuch_Te_front.pdf310.01 kBAdobe PDFView/Open
Voranuch_Te_ch1.pdf284.97 kBAdobe PDFView/Open
Voranuch_Te_ch2.pdf333.99 kBAdobe PDFView/Open
Voranuch_Te_ch3.pdf321.02 kBAdobe PDFView/Open
Voranuch_Te_ch4.pdf698.15 kBAdobe PDFView/Open
Voranuch_Te_ch5.pdf223.52 kBAdobe PDFView/Open
Voranuch_Te_back.pdf728.97 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.