Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21018
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการด้านคุณภาพบริการพยาบาล ที่ให้แก่ผู้ประกันตนกับคุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between nursing service quality management for insured persons and nursing service quality as perceived by insured persons, government hospitals, Bangkok Metropolis
Authors: วรรณฤดี ภู่ทอง
Advisors: พนิดา ดามาพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การประกันสุขภาพ
พยาบาล -- การบริการ
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
ประกันสุขภาพ -- วิจัย
Insurance, health -- research
Nursing service, hospital -- research
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการด้านคุณภาพบริการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ประกันตนกับคุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาตัวแปรที่พยากรณ์คุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นประชากร 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลและผู้บริหารระดับกลุ่มงานการพยาบาลรวม 89 คน กลุ่มพยาบาลที่ให้บริการโดยตรงแก่ผู้ประกันตนจำนวน 399 คน และกลุ่มผู้ประกันตนจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มหลายขั้นตอน จากโรงพยาบาลรัฐ 13 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่พัฒนาจากเครื่องมือ Parasuraman, Zeithaml และBerry (1983-1990) มี 3 ชุด ประกอบด้วยแบบสอบถามจัดการด้านคุณภาพบริการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ประกันตน สำหรับผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาล และผู้บริหารในระดับกลุ่มงานพยาบาล และสำหรับพยาบาลที่ให้บริการโดยตรงแก่ผู้ประกันตนและแบบสอบถามคุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ มีความเที่ยง 0.85 0.86 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอ ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการด้านคุณภาพบริการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ประกันตน ในด้านการรับรู้ข้อผู้บริหารต่อความคาดหวังของผู้ประกันตนและด้านการสื่อสารไปสู่ผู้ประกันตน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการกำหนดมาตรฐานบริการและด้านการจัดบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2. คุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ อยู่ในระดับไม่พึงพอใจ 3. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การมุ่งเน้นการวิจัยทางการตลาด ด้านการกำหนดมาตรฐานบริการ การจัดคนให้เหมาะสมกับงาน ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ความไม่ชัดเจนในบทบาท 4.ตัวแปรที่พยากรณ์คุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือการจัดคนให้เหมาะกับงาน ความไม่ชัดเจนในบทบาท การมุ่งเน้นการวิจัยทางการตลาด และด้านการกำหนดมาตรฐานบริการ สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้ได้ร้อยละ 16.32 (R^2 = 0.1632) ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Z = 0.2076 การจัดคนให้เหมาะกับงาน – 0.1741 ความไม่ชัดเจนในบทบาท + 0.1652 การมุ่งเน้นการวิจัยทางการตลาด + 0.1552 ด้านการกำหนดมาตรฐานบริการ
Other Abstract: The purposes of this research were to study the relationships between nursing service quality management for insured persons with nursing service quality as perceived by themselves, government hospitals, Bangkok Metropolis and to search for the variables which can predict nursing service quality as perceived by insured persons. The research subjects consisted of 89 top hospital managers and middle managers in nursing departments.399 staff nurses and 400 insured persons, from 13 government hospitals were randomly selected through multistage sampling technique. The three instruments were applied from SERVQUAL developed by Parasuraman, Zeithaml and Berry (1990), consisted of nursing service quality management questionnaires for top hospital managers and middle managers in nursing departmen, staff nurses and nursing service quality questionnaires for insured persons. The reliability of the three questionnaires were 0.85 0.86 and 0.92, respectively. The data were analyzed by using Pearson product moment correlation coefficeint and Stepwise multiple regression analysis. The major findings were as follow : 1. Nursing service quality management for insured persons in the aspect of management perceptions and communication were at middle level while, in the aspect of set standard and service delivered were almost high level. 2. Nursing service quality as perceived by insured persons in all aspects were not satisfaction. 3. Marketing research orientation, the aspect of set standard and employee - job fit were positively related to nursing service quality as perceived by insured persons at significant of 0.05 level, while role ambiguity was negatively related to nursing service quality as perceived by insured persons at significant of 0.05 level. 4.Variables significantly predicted nursing service quality as perceived by insured persons al the 0.05 level were employee - job fit, role ambiguity, marketing research orientation and the aspect of set standard. These predictors accounted for 16.32 (R2 = 0.1632) of the varience. The function derived from the analysis was as follows : Z = 0.2076 EMPL- 0.1741 ROLA + 0.1652 MARO + 0.1552 SETS.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21018
ISBN: 9746365959
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannarudee_Ph_front.pdf336.35 kBAdobe PDFView/Open
Wannarudee_Ph_ch1.pdf392.56 kBAdobe PDFView/Open
Wannarudee_Ph_ch2.pdf600.1 kBAdobe PDFView/Open
Wannarudee_Ph_ch3.pdf333.73 kBAdobe PDFView/Open
Wannarudee_Ph_ch4.pdf360.77 kBAdobe PDFView/Open
Wannarudee_Ph_ch5.pdf457.47 kBAdobe PDFView/Open
Wannarudee_Ph_back.pdf634.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.