Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21020
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ | - |
dc.contributor.author | วรรณงาม โอบชนธีร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-21 | - |
dc.date.available | 2012-07-21 | - |
dc.date.issued | 2526 | - |
dc.identifier.isbn | 9745619671 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21020 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและสำรวจความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจตามตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร ได้แก่ เพศ สถานภาพ ศาสนา ภูมิภาค สภาพความเป็นเมือง และอาชีพหลักของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมปีที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และผู้ปกครอง จาก 5 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,834 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง และมาตรวัดความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี ถูก และควรอย่างมากคือ การประกอบอาชีพอิสระ การบริจาคทรัพย์ การอำนวยความสะดวกแก่สาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน การไม่เอาทรัพย์ และการประกอบอาชีพรับจ้าง พฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมไม่ดี ผิด และไม่ควรอย่างมากคือ การไม่รักษาสาธารณะสมบัติ การลักฉ้อทรัพย์ และมิจฉาชีพที่ผิดกฎหมาย ส่วนพฤติกรรมที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าดี ถูก ควร หรือไม่ดี ผิด ไม่ควร คือ มิจฉาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย การกู้ยืมเงินจากผู้อื่น 2. ตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร สัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีสถานภาพที่เป็นตัวแปรที่สัมพันธ์มากที่สุด รองลงมาได้แก่ อาชีพหลักของครอบครัว เพศ สภาพความเป็นเมือง และภูมิภาค ตามลำดับ ส่วนตัวแปรศาสนาสัมพันธ์น้อยที่สุด ดังมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมปีที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครู และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01 ขึ้นไป) จำนวน 15 พฤติกรรม โดยนักเรียนชั้น ป. 6 แสดงความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำสุด 2.2 ประชากรที่มีอาชีพหลักของครอบครัวเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง เอกชน ผู้ใช้แรงงาน และธุรกิจการค้า มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P < .05 ขึ้นไป) จำนวน 12 พฤติกรรม โดยบุคคลจากอาชีพผู้ใช้แรงงานแสดงแนวโน้มว่ามีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำสุด 2.3 เพศหญิงและเพศชาย มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05 ขึ้นไป) จำนวน 11 พฤติกรรม โดยที่เพศหญิงแสดงว่ามีแนวโน้มว่ามีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจสูงกว่าเพศชาย 2.4 ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตใจกลางมหานคร ชานมหานคร อำเภอเมือง และอำเภอชนบท มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05 ขึ้นไป) จำนวน 9 พฤติกรรม โดยประชากรในอำเภอชนบทแสดงแนวโน้มว่ามีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำสุด 2.5 ประชากรที่มีถิ่นที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05 ขึ้นไป) จำนวน 6 พฤติกรรม โดยประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแสดงแนวโน้มว่ามีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำสุด2.6 ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม มีความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .05) จำนวน 1 พฤติกรรม 3. นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ให้ความปรารถนาต่อผลการกระทำทั้ง 7 ลักษณะในระดับที่แตกต่างกันเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ความสำเร็จในชีวิตและการงาน ความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การเป็นผลดีต่อสังคม ความสุขสบายใจ การเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของผู้อื่น ความรู้สึกมีค่าภาคภูมิใจในตนเอง และความมั่งมีทรัพย์สินเงินทอง | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study and survey moral cognition concerning economic behaviors of pupils, teachers and parents, and to compare moral cognition among different groups according to six independent variables : sex, status, religion, region, area of residence and family occupation. The sample group was selected by multi-stage sampling and included 2,834 pupils in Prathomsuksa 6, Mathayom 3, Mathayomsuksa 5, teachers and parents from the five regions of Thailand i.e. the North, Centre, Northeast, South regions and the Bangkok Metropolis. Data were analyzed by using the one-way analysis of variance and Scheffe's method for pair wise comparisons. The major findings were as follow : 1. The economic behaviors that pupils, teachers and parents rated as "very good and proper" from the point of view of moral cognition were : independent occupation, donating goods, providing public conveniences, equal distribution of wealth, abstaining from taking the goods of others and being hired as employee. The economic behaviors that subjects rated as "very bad and improper" from the point of view of moral cognition were : not preserving public property, stealing and cheating and a dishonest illegal livelihood. The economic behaviors for which no decision of good or bad, right or wrong were given included : a dishonest but not illegal livelihood and borrowing money from others. 2. All six independent variables were significantly related to moral cognition concerning economic behaviors. Status showed the highest level of relationship. The other variables had decreasing levels of relationship according to the following order : family occupa¬tion, sex, area of residence and region. Religion vas the least related to moral cognition. 2.1 There was a significant difference in moral cogni¬tion on 15 out of 16 economic behaviors among pupils from Prathom¬suksa 6, Mathayom 3, Mathayomcuksa 5, teachers and parents (p < .01 and beyond). Prathomsuksa 6 pupils tended to show the lowest level of moral cognition concerning economic behaviors. 2.2 There was a significant difference in moral cognition on 12 economic behaviors among subjects from various family occupa¬tions : civil service, employees, business and workers (p < .05 and beyond). Workers tended to show the lowest level of moral cognition concerning economic behaviors. 2.3 There was a significant difference in moral cognition on 11 economic behaviors between male and female (p < .05 and beyond). The female showed a tendency for higher moral cognition concerning economic behaviors than the male. 2.4 There was a significant difference in moral cogni¬tion on 9 economic behaviors among subjects from the inner Bangkok, the outer Bangkok, the Amphoe Muang and the rural areas (p < .05 and beyond). People from the rural areas tended to show the lowest level of moral cognition concerning economic behaviors. 2.5 There was a significant difference in moral cognition on 6 economic behaviors among subjects from the various regions : the North, Centre, Northeast, South and the Bangkok Metropolis. (p < .05 and beyond). The tendency towards the lowest level of moral cognition concerning economic behaviors was found in the people from the Northeast region of Thailand. 2.6 There was a significant difference in moral cognition on one economic behavior among the Buddhists, Christians and the Muslims (p < .05). 3. Pupils, teachers and parents perceived the sevent types of consequences of one's own behaviors as desirable in the following order : success in life and work, security for life and property, doing good for society, happiness, esteem and praise by others and self-esteem and wealth. | - |
dc.format.extent | 455088 bytes | - |
dc.format.extent | 1317874 bytes | - |
dc.format.extent | 657188 bytes | - |
dc.format.extent | 1139841 bytes | - |
dc.format.extent | 636853 bytes | - |
dc.format.extent | 318248 bytes | - |
dc.format.extent | 684205 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศีลธรรมจรรยา | en |
dc.title | ความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง | en |
dc.title.alternative | Moral cognition concerning economic behaviors of pupils, teachers and parents | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Puntip.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wan-ngam_Ob_front.pdf | 444.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wan-ngam_Ob_ch1.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wan-ngam_Ob_ch2.pdf | 641.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wan-ngam_Ob_ch3.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wan-ngam_Ob_ch4.pdf | 621.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wan-ngam_Ob_ch5.pdf | 310.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wan-ngam_Ob_back.pdf | 668.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.