Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21046
Title: การวางแผนกำลังรีแอคทีฟที่คำนึงถึงผลตอบแทน
Other Titles: Value-based reactive power planning
Authors: สมภพ กนกบรรณกร
Advisors: กุลยศ อุดมวงศ์เสรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kulyos.A@Chula.ac.th, kulyos.a@eng.chula.ac.th
Subjects: กำลังรีแอคทีฟ (วิศวกรรมไฟฟ้า)
ระบบไฟฟ้ากำลัง -- ความเชื่อถือได้
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟเป็นส่วนสำคัญที่ระบบไฟฟ้าไม่สามารถขาดได้ และเนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การที่ระบบไฟฟ้าไม่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าทั้งกำลังจริงและกำลังรีแอคทีฟไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้า อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้อย่างมากได้ ดังนั้นการวางแผนในระบบไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องคำนึงถึง กำลังรีแอคทีฟและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ด้วยการชดเชยกำลังรีแอคทีฟในระบบไฟฟ้านั้นมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ช่วยรักษาระดับแรงดัน ช่วยปรับปรุงตัวประกอบกำลัง ช่วยลดกำลังไฟฟ้าสูญเสีย และในบางกรณีสามารถช่วยเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการสำหรับแก้ปัญหาการวางแผนกำลังรีแอคทีฟ ที่คำนึงถึงผลตอบแทนในระบบไฟฟ้า โดยมีจุดประสงค์เพื่อชะลอการก่อสร้างสายส่งลดกำลังไฟฟ้าสูญเสียของระบบ และเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบ วิธีการที่นำเสนอได้ทดสอบกับระบบที่ดัดแปลงจากระบบจริงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และระบบที่ดัดแปลงจากระบบจริงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพอใจ
Other Abstract: Reactive power is one of many important quantities in a power system. As electricity demand generally increases, the unavailability of supply, both real and reactive power, to customers can lead to serious customers’ damage. Thus, power system planning must take reactive power as well as reliability into consideration. Reactive power compensation results in a number of improving issues, i.e. voltage regulation, power factor, power losses and, in some case, enhancing system reliability. This thesis presents a developed method for solving a value-based reactive power planning problem of power system, with an objective to delay construction of new transmission/sub-transmission systems, to reduce system power loss and to enhance system reliability. The proposed method has been tested with a modified system from the Provincial Electricity Authority (PEA) and a modified system from the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). Satisfactory results have been obtained.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21046
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.649
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.649
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompop_ka.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.