Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21061
Title: | การพัฒนาระบบการจัดการความรู้ศิลปะไทยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบของนักศึกษาศิลปะ |
Other Titles: | The development of a knowledge management system of Thai art to enhance art students' a creative thinking for desiging |
Authors: | วิสูตร โพธิ์เงิน |
Advisors: | ปทีป เมธาคุณวุฒิ สุลักษณ์ ศรีบุรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pateep.M@Chula.ac.th Sulak.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ ศิลปกรรมไทย |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ศิลปะไทยประเภทลวดลายไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ 2) วิเคราะห์ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะไทย 3) พัฒนาระบบการจัดการความรู้ศิลปะไทยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบของนักศึกษาศิลปะและ 4) ทดลองใช้ระบบการจัดการความรู้ศิลปะไทยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบของนักศึกษาศิลปะ วัตถุประสงค์สองข้อแรกเป็นการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย และความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะไทย สำหรับระบบการจัดการความรู้ศิลปะไทย เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาศิลปะ ส่วนระบบจัดการความรู้ศิลปะไทยที่พผู้วิจัยพัฒนา ได้ทดลองกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาศิลปะไทยเบื้องต้น 2 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคต้น ปีการศึกษา 2553 จำนวน 30 คน ผลวิจัยพบว่า 1. ลักษณะสำคัญในศิลปะไทยแบ่งเป็ น 3 สมัย ดังนี้ (1) สมัยสุโขทัย จะมีรูปแบบลายเอกลักษณ์ไม่ชัดเจน แต่งานพุทธศิลป์ มีความสวยงามและรุ่งเรือง (2) ศิลปะในสมัยอยุธยา ในช่วงแรกของสมัยอิทธิพลศิลปะของขอมมีอิทธิพลสูง ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางมีการคลี่คลายเป็นรูปแบบเฉพาะตัว และรุ่งเรืองที่สุดในตอนปลายสมัยอยุธยา และ (3) สมัยรัตนโกสินทร์ช่วงแรกจะมีรูปแบบศิลปะเหมือนสมัยอยุธยา ต่อมาได้มีการพัฒนาและรับอิทธิพลศิลปะต่างชาติเข้ามาผสมผสานในการสร้างผลงาน 2. การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามองค์ประกอบหลักคือ ความคิดอเนกนัย และความคิดเอกนัย นำไปสู่ลักษณะผลงานความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย (1) ผลงานเริ่มใหม่ (Innovation product) (2) ผลงาน ดัดแปลง (Modification product) (3) ผลงานที่สังเคราะห์ (Synthesis product) และ (4) ผลงานที่มีความงาม (Aesthetic product) 3. ผลการพัฒนาระบบการจัดการความรู้โดยมีสาระองค์ความรู้ศิลปะไทยเป็นหลัก และกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาระบบการจัดการความรู้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามการออกแบบระบบการจัดการความรู้ ศิลปะ ประกอบด้วยโครงสร้าง 2 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบการจัดการความรู้หน้าหลัก (Portal) 2) ระบบสารานุกรมเสรี และระบบการจัดการภาพ เพื่อมาจัดการความรู้ศิลปะไทย โดยการประยุกต์เข้ากับการทำงานของระบบการจัดการทางสารสนทศที่แบบเปิด (Open source) คือ (1) มูดเดิ้ล (Moodle) ซึ่งเป็นโปรแกรมระบบการจัดการเรียนรู้ (Learning management system) (2) วิกีพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ (Wikipedia) และเวิร์ดเพรส (Word Press) 4. การทดลองใช้ระบบการจัดการความรู้ศิลปะไทยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบของนักศึกษา ศิลปะ ได้พบว่า ความคิดสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาในด้านความคิดริเริ่ม เป็นผลงานที่สร้างโดยมีต้นแบบ มีการดัดแปลงมาเป็นผลงานใหม่ในรูปแบบใหม่ ด้านความคล่องแคล่ว แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ผลงานมีความแตกต่างจากผลงานต้นแบบอยู่มาก ยังหลงเหลือเค้าต้นแบบเดิมเล็กน้อย ภายใต้เงื่อนไขเวลาที่กำหนด และผลงานมีการใช้เทคนิคทางวัสดุ หรือทางการออกแบบในการทำงานเทคนิค 3 เทคนิค ด้านความคิดยืดหยุ่น ผลงานมีการดัดแปลงประยุกต์จากต้นแบบเปลี่ยนรูปแบบตัวผลงาน ยังคงเหลือเค้าของต้นแบบเดิม และด้านความคิดละเอียดลออ คือ มีรายละเอียดมาก มีความประณีตสวยงาม |
Other Abstract: | The research objectives are 1) to study, analyze, and synthesize data pertinent to Thai art patterns in Sukhothai, Ayuthaya and Ratanakosin eras; 2) to analyze the enhancement of creative ideas related to Thai arts; 3) to develop knowledge management system of Thai Art to enhance art students’ creative ideas in designing and 4) to make a trial of the knowledge management system of Thai Art to enhance art students’ creative ideas in designing. The first two objectives are the documentary research pertinent to Thai arts and creative ideas in creating Thai arts. This is to be used with Thai art knowledge management system for fostering art students’ creative ideas in designing. The trial of the knowledge management system developed by the researcher is done with 30 Srinakharinwirot University undergraduates who have enrolled in Fundamental Thai Arts 2, Faculty of Fine Arts (FOFA) in first semester of academic year 2010. The research finding reveals that 1. Thai arts can be divided into 3 periods, namely, (1) the identity Thai arts in Sukhothai are still vague; however, the Buddhist arts in this era is magnificent and prosperous. (2) For Ayutthaya period, Kmer art influence can strongly be felt in at the beginning of this era. Then, in the mid of this era, such influence reduces and evolves into the unique characteristics. At the end of Ayutthaya period, the arts become most prosperous; and (3) In Ratanakosin era, the art patterns at the beginning are similar to those of Ayutthaya period. Then, the development of arts continues by mingling foreign arts in the production of art works. 2. The creation of creative ideas consists of main elements: divergent thinking and logic thinking. They lead to creative art works, namely, (1) Innovation Product, (2) Modification Product and (3) Synthesis Product and Aesthetic Product. 3. The knowledge management system development is principally based on the Thai arts knowledge alongside with activities that foster creative ideas. Two systems structure based of computer program has been used in the system development are: (1) knowledge management system portal and (2) free encyclopedia system and image management system. These are to manage Thai art knowledge by implementing open-source information technology management system which includes (1) Moodle - a learning management system and (2) Wikipedia and Word Press. 4. After the trial of Thai art knowledge management system for promoting art students’ creative ideas in designing, following results have been revealed. Students’ creative ideas in light of the initiatives, the creation of art works are based on the model by modifying it into the new form. For the deftness: it is divided into 2 parts. Art works with great difference from the original pieces having least resemblance within specific timeframe and art works requiring material and designing techniques. For the flexibility, art works are modified or applied from the original ones. Some similarities still remain. For the elaboration, arts works are elaborative, delicate, and beautiful. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21061 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.394 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.394 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wisud_po.pdf | 5.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.