Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21078
Title: แผนแบบการสำรวจอย่างมีชั้นภูมิแบบสองทาง
Other Titles: Two-way stratified sampling design
Authors: ผกามาศ สิงห์สง่า
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไมีมีข้อมูล
Subjects: การสุ่มตัวอย่าง
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาแผนแบบการสำรวจอย่างมีชั้นภูมิ 3 แผนแบบ คือ แผนแบบการสำรวจอย่างมีชั้นภูมิแบบทางเดียวโดยสุ่มตัวอย่างมาชั้นภูมิและหนึ่งหน่วย แผนแบบการสำรวจอย่างมีชั้นภูมิแบบสองทางโดยใช้ตัวอย่างจำนวนน้อย และแผนแบบสำรวจอย่างมีชั้นภูมิแบบสองทางแบบมีระบบ โดยให้ความน่าจะเป็นของการเลือกหน่วยตัวอย่างเป็นปฏิภาคกับขนาดของหน่วยตัวอย่างที่ต้องการสำรวจ และศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างแผนแบบในทางทฤษฏีและปฏิบัติว่าแผนแบบใดจะให้ค่าประมาณที่มีความเชื่อถือได้มากกว่ากัน โดยใช้ข้อมูลจำนวนครัวเรือนส่วนบุคคล ของกองสำรวจประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ จากการวิเคราะห์ปรากฏว่า การใช้แบบการสำรวจอย่างมีชั้นภูมิแบบสองทางแบบมีระบบ โดยให้ความน่าจะเป็นของการเลือกหน่วยตัวอย่างเป็นปฏิบัติภาคกับขนาดของหน่วยตัวอย่างที่ต้องการสำรวจให้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับค่าจริงมากที่สุด และมีความแปรปรวนของค่าประมาณน้อยที่สุด เนื่องจากการวิจัยนี้สามารถเลือกใช้ค่าที่วัดขนาดให้เท่ากับลักษณะที่ต้องการศึกษาหรือ M_ijk=Y_ijk ได้ แผนแบบการสำรวจอย่างมีชั้นภูมิแบบสองทางโดยใช้ตัวอย่างจำนวนน้อยให้ค่าประมาณใกล้เคียงค่าจริง และมีความแปรปรวนของค่าประมาณรองลงมา ส่วนแผนแบบการสำรวจอย่างมีชั้นภูมิแบบทางเดียวโดยสุ่มตัวอย่างมาชั้นภูมิละหนึ่งหน่วยให้ค่าประมาณที่มีความแปรปรวนมากที่สุดในจำนวน 3 แผนแบบที่กล่าวมา
Other Abstract: This thesis presents a study on efficiency comparison of three types of stratified sampling, both theoretical and practical, namely : One-way stratification with one unit per stratum, Two-way stratification with small sample and Two-way stratification with systematic pps-sampling. Data on 1970 Population and Housing Census was used in demonstration of this relative efficiency. Since there was a possibility that this study could take the measure of size of sample equivalent to size of characteristic under study which is M_ijk=Y_ijk the result of analysis shows that Two-way stratification with systematic pps-sampling yields the most efficient effect i.e., highest precision and smallest variance. The latter two designs are Two-way stratification with small sample and One-way stratification with one unit per stratum yield respective results.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21078
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pagamas_Si_front.pdf288.54 kBAdobe PDFView/Open
Pagamas_Si_ch1.pdf270.84 kBAdobe PDFView/Open
Pagamas_Si_ch2.pdf653.06 kBAdobe PDFView/Open
Pagamas_Si_ch3.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Pagamas_Si_ch4.pdf291.49 kBAdobe PDFView/Open
Pagamas_Si_back.pdf220.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.