Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2108
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวินิจ วินิจวัจนะ-
dc.contributor.advisorเฉลิมชาติ วรรณพฤกษ์-
dc.contributor.authorณัฐติพร สรรพกิจกำจร, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-22T05:13:08Z-
dc.date.available2006-08-22T05:13:08Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745319279-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2108-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractยาซิมวาสทาทินเป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติของไขมันในเลือดอย่างแพร่หลาย แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลของการให้ยานี้ในเวลาที่แตกต่างกันของผู้ป่วยสูงอายุไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผล ความปลอดภัยและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยนอกสูงอายุที่ใช้ยาซิมวาสทาทินขนาด 10 มิลลิกรัมในเวลาเช้ากับเวลาเย็น การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกแบบ randomized, open-label, parallel design ได้ดำเนินการที่คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยแบ่งผู้ป่วยแบบสุ่มออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 20 คน คือ กลุ่มที่ 1 ใช้ยาในเวลาเช้า (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ใช้ยาในเวลาเย็น กลุ่มที่ 3 ใช้ยาในเวลาเช้า และกลุ่มที่ 4 ใช้ยาในเวลาเย็น (กลุ่มควบคุม) โดยเก็บข้อมูลที่สัปดาห์ที่ 0 และ 12 ในระหว่างเดือนกันยายน 2547-มีนาคม 2548 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้งหมด 80 ราย เป็นเพศหญิง 43 ราย และเพศชาย 37 ราย อายุเฉลี่ย 73.7 +- 7.0 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96.2) ใช้ยาซิมวาสทาทินเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจระดับปฐมภูมิ เมื่อเริ่มต้นการศึกษาที่สัปดาห์ที่ 0 ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย โรคร่วมและยาอื่นที่ผู้ป่วยใช้ ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ระดับเป้าหมาย LDL-C และระดับไขมันในเลือด (LDL-C และระดับไขมันในเลือด (LDL-C, TC, HCL-C และ TG) ของผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาซิมวาสทาทินที่ให้ในเวลาที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มที่สัปดาห์ที่ 12 พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในแง่ของระดับไขมันในเลือดและควบคุมระดับ LDL-C ให้ได้ตามเป้าหมาย แต่ภายในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันเฉลี่ย (% mean change) ระหว่างสัปดาห์ที่ 0 และ 12 เพียงเล็กน้อย คือ ระดับ LDL-C, TC, HDL-C และ TG มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง -6.5% ถึง +3.8%, -4.9% ถึง -0.4% ถึง +5.3% และ -4.5% ถึง +15.6% ตามลำดับ ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางคลินิก ในด้านความปลอดภัยและความร่วมมือในการใช้ยาระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่สัปดาห์ที่ 12 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์และจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยลืมรับประทานยาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) ดังนั้นในผู้ป่วยนอกสูงอายุ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า การให้ยาซิมวาสทาทินขนาด 10 มิลลิกรัมในเวลาเช้าหรือเวลาเย็นมีประสิทธิผล ความปลอดภัยและความร่วมมือในการใช้ยาไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาซิมวาสทาทินในผู้ป่วยกลุ่มอื่นหรือขนาดยาอื่นเพื่อเป็นแนวทางในการให้ยาซิมวาสทาทินที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยต่อไปen
dc.description.abstractalternativeSimvastatin is widely used in patients with dyslipidemia. No study was carried out to determine the effects of the drug taken by Thai geriatric patients in the morning and the evening. This research was aimed to compare the efficacy, safety and drug compliance of geriatric outpatients who took 10-mg simvastatin between morning and evening doses. A randomized, open-label, parallel clinical trial was conducted at the Geriatric Clinic, Phramongkutklao Hospital. The geriatric outpatients were chosen based on eligible criteria and randomly allocated to four groups: Groups 1 (control group) and 3 taking simvastatin in the morning, and Groups 4 (control group) and 2 receiving the drug in the evening. All data were collected at weeks 0 and 12 during September 2004 March 2005. The results showed that a total of 80 patients were 43 females and 37 males with the age of 73.7+-7.0 years. Most patients (96.2%) used 10-mg simvastatin for primary prevention of coronary heart disease. At week 0, patient's characteristics, comorbid diseases, concurrent medications, risk factors of coronary heart disease, targeted LDL-C levels, and blood lipid profiles (i.e., LDL-C, TC, HDL-C, and TG) were not statistically different among the four patients groups (p>0.05). When comparing the efficacy of simvastatin taken different time at week 12, no statistical difference was found in terms of blood lipid profiles and targeted LDL-C levels. Within each group, the percentages of mean lipid change between weeks 0 and 12 were slightly reported. The mean levels of LDL-C, TC, HDL-C, and TG were changed from -6.5% to +3.8%, -4.9% to -0.4%, -0.4% to +5.3%, and -4.5% to +15.6%, respectively, which were not clinically important. Regarding the drug safety and compliance of the four groups at week 12, the number of patients with adverse events and the number of times that patients forgot to take simvastatin were not statistically significant (p>0.05). As guidelines for geriatric patients at Phramongkutklao Hospital, morning and evening dosing of 10-mg simvastatin would be equally effective, safe, and improve patients drug compliance. Further studies are required to determine the effects of simvastatin with several doses or in different groups of patients in order to utilize the drug properly..en
dc.format.extent1599723 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectซิมวาสเตติน--การใช้รักษาen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.subjectโคเลสเตอรอลen
dc.titleการเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาซิมวาสทาทิน 10 มิลลิกรัม ที่ให้ในเวลาเช้ากับเวลาเย็นในผู้ป่วยนอกสูงอายุen
dc.title.alternativeComparison of efficacy and safety between morning and evening dosing of 10-MG simvastatin in geriatric outpatientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWinit.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattiporn.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.